Football Sponsored
Categories: ฟีฟา

สดุดีและระลึกถึง! 12 นักเตะที่สโมสรรีไทร์เบอร์เสื้อให้

Football Sponsored
Football Sponsored
  1. Clive Brunskill/ฟุตบอล

    #1 แมนเชสเตอร์ ซิตี้ – หมายเลข 23 และ ลียง หมายเลข 17 | มาร์ค-วิเวียน โฟเอ้

    มิดฟิลด์ชาวแคเมอรูน ผ่านการค้าแข้งกับทั้งล็องส์, เวสต์แฮม, ลียง และยืมตัวกับแมนฯ ซิตี้

    ซึ่งขณะที่กำลังเล่นให้เรือใบสีฟ้านี้เอง เขาต้องไปรับใช้ชาติในศึกคอนเฟเดเรชันส์ คัพ 2003 และก็เกิดเรื่องน่าเศร้าขึ้นในเกมรอบรองชนะเลิศ ระหว่างทีมชาติแคเมอรูนกับโคลอมเบีย เมื่อเจ้าตัวล้มหมดสติเนื่องจากหัวใจวายเฉียบพลัน และนำตัวส่งโรงพยาบาลโดยด่วน หลังทีมแพทย์ช่วยกันยื้อชีวิตประมาณ 45 นาที แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ ทำให้กองกลางร่างใหญ่จากโลกนี้ไปในวัย 28 ปี

    และเพื่อเป็นการอุทิศแด่นักเตะรายนี้ แมนฯ ซิตี้ จึงตัดสินใจรีไทร์หมายเลข 23 จนถึงปัจจุบัน ในขณะที่ลียงก็ยกเลิกหมายเลข 17 ก่อนที่ในปี 2008 จะนำกลับมาใช้อีกครั้ง โดยฌอง มาคูน รุ่นน้องร่วมชาติ เพื่อเป็นการระลึกถึง

  2. West Ham Bobby Moore Honour

    #2 เวสต์แฮม – หมายเลข 6 | บ็อบบี้ มัวร์

    กองหลังและกัปตันทีมผู้พาทีมชาติอังกฤษคว้าแชมป์ฟุตบอลโลก 1966 ได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในนักเตะที่ดีที่สุดเท่าที่เวสต์แฮมและทัพสิงโตคำรามเคยมีมา

    เขาถูกตรวจพบว่าเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากตั้งแต่ปี 1964 แต่หลังจากทำการผ่าตัด เขาก็กลับมาใช้ชีวิตเป็นปกติ ก่อนที่ในปี 1991 เขาปวดท้องหนักจนต้องเข้ารับการผ่าตัดอีกครั้ง ก่อนที่มะเร็งร้ายจะลุกลามไปยังบริเวณลำไส้และตับ จนคร่าชีวิตเขาไปในวัย 51 ปี ณวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 1993

    เพื่อเป็นการระลึกถึงนักเตะรายนี้ เอฟเอจึงสร้างรูปปั้นของเขาไว้ที่หน้าสนามเวมบลีย์ ในขณะที่สโมสรขุนค้อนเองก็ตัดสินใจรีไทร์เสื้อหมายเลข 6 ในปี 2008 เนื่องในโอกาสครบรอบ 15 ปี การจากไปของกองหลังผู้ยิ่งใหญ่

  3. Getty

    #3 เวสต์แฮม – หมายเลข 38 | ดีแลน ทอมไบด์ส

    ทอมไบด์สย้ายเข้าสู่อะคาเดมีขุนค้อนตอนอายุ 15 ปี และได้รับความคาดหมายว่าจะเป็นดาวยิงความหวังใหม่ของสโมสรและทีมชาติออสเตรเลียในอนาคต

    ทว่าเขาถูกตรวจพบว่าเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากในปี 2011 ซึ่งขณะนั้นเขาเพิ่งมีอายุ 17 ปี และหลังจากรักษาอาการในระยะหนึ่ง เขาก็กลับมาฝึกซ้อมและได้ประเดิมสนามกับทีมชุดใหญ่ในเกมลีกคัพ นัดเจอวีแกนเมื่อปี 2012 แต่ในเดือนธันวาคมปีเดียวกันนั้น เขาต้องกลับไปทำคีโมอีกครั้ง เมื่อมะเร็งลุกลามไปบริเวณตับ

    เจ้าตัวคืนสนามอีกครั้งในเกมเอเอฟซี U23 เมื่อเดือนมกราคม 2014 ก่อนที่จะต้องกลับอังกฤษโดยด่วน เพราะอาการจะทรุดหนักลง และเขาก็ไม่สามารถต่อสู่กับโรคร้ายได้อีกต่อไป จนเสียชีวิตในวันที่ 18 เมษายน 2014 ด้วยวัยเพียง 20 ปี เท่านั้น

    เวสต์แฮมจึงจัดติดใจยกเลิกหมายเลข 38 เพื่ออุทิศแด่ดาวรุ่งอนาคตไกลที่ต้องมาจากไปก่อนวัยอันควร และในเกมเทสติโมเนียล แมตช์ ของมาร์ค โนเบิลในปี 2016 เทย์เลอร์ ทอมไบด์ส น้องชายของเขาได้รับเกียรติให้ลงสนามพร้อมสวมเสื้อเบอร์ 38 เพื่อเป็นเกียรติแด่พี่ชายผู้ล่วงลับด้วย

  4. #4 เบอร์มิงแฮม – หมายเลข 22 | จู๊ด เบลลิงแฮม

    กองกลางอนาคตไกล คือนักเตะคนล่าสุดที่ได้รับเกียรติให้รีไทร์หมายเลขเสื้อ โดยเขาพึ่งขึ้นสู่ทีมชุดใหญ่ของเบอร์มิงแฮมได้ในฤดูกาล 2019/20 แต่โชว์ฟอร์มได้อย่างยอดเยี่ยมเกินอายุ ทำให้ดอร์ทมุนด์ดึงตัวไปเสริมทัพในฤดูกาลหน้าเรียบร้อยแล้ว

    ซึ่งเหตุผลที่สโมสรตัดสินใจรีไทร์หมายเลข 22 นั้นเพื่อจดจำว่าเขาเติบโตมาจากอะคาเดมี และเพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้กับดาวรุ่งคนอื่น ๆ ด้วย

    ด้วยวัยเพียง 17 ปี และลงเล่นไปทั้งสิ้น 44 นัด ทำได้ 4 ประตู 3 แอสซิสต์ ทำให้แฟนบอลบางส่วนของทีมลูกโลกไม่พอใจที่สโมสรทำเช่นนี้ เนื่องจากมองว่าการยกเลิกเบอร์เสื้อ ควรทำกับนักเตะที่ค้าแข้งมาอย่างยาวนานและสร้างชื่อเสียงให้ทีมมากกว่า

  5. #5 เอสปันญอล – หมายเลข 21 | ดาเนียล ฆาร์เก้

    กองหลังรายนี้เติบโตขึ้นมาจากอะคาเดมีของเอสปันญอล โดยใน 2 ฤดูกาลแรกที่ขึ้นสู่ทีมชุดใหญ่ เขาสวมเสื้อหมายเลข 32 ก่อนที่จะเปลี่ยนมาใส่หมายเลข 21 ในฤดูกาล 2004/05 และก็กลายเป็นตัวหลักของทีมนับแต่นั้น

    เขาลงเล่นไปทั้งสิ้น 202 นัด ทำได้ 9 ประตู ก่อนจากโลกนี้ไปด้วยวัยเพียง 26 ปี ในวันที่ 8 สิงหาคม 2009 เนื่องจากหัวใจวายเฉียบพลันระหว่างร่วมทีมไปเก็บตัวช่วงปรีซีซัน

    ด้วยเหตุนี้ ทำให้เจ้านกแก้วตัดสินใจรีไทร์เบอร์ 21 รวมถึงเปลี่ยนชื่อสนามซ้อมและรังเหย้าทีมชุดเบ เป็น “ซิวตัต เอสปอร์ติบา ดานี ฆาร์เก้” เพื่อเป็นเกียรติแก่เจ้าตัว

    จนกระทั่งฤดูกาล 2016/17 สโมสรได้เผยว่าจะนำหมายเลขนี้กลับมาใช้อีกครั้ง เพื่อเป็นการระลึกถึงกองหลังผู้ล่วงลับ แต่มีข้อแม้ว่าต้องเป็นนักเตะโฮมโกรนที่มาจากอะคาเดมีเท่านั้น และผู้ที่ได้รับโอกาสนี้ก็คือ มาร์ค โรก้า มิดฟิลด์ดาวโรจน์ ที่ใส่มาตั้งแต่ฤดูกาล 2017/18 จนถึงปัจจุบัน

  6. #6 เรอัล เบติส – หมายเลข 26 | มิกิ โรเก้

    แนวรับดาวโรจน์ เคยถูกราฟา เบนิเตซ ดึงตัวมาร่วมทีมลิเวอร์พูล เมื่อปี 2005 ซึ่งขณะนั้นเขามีอายุเพียง 17 ปี  ทว่าไม่สามารถแจ้งเกิดกับทีมชุดใหญ่ได้ จึงต้องกลับมาค้าแข้งในบ้านเกิดกับเบติสในปี 2009

    แต่เรื่องร้ายก็มาเยือน เมื่อเจ้าตัวถูกตรวจพบว่าเป็นมะเร็งกระดูกเชิงกรานในเดือนมีนาคม 2011 จนต้องหยุดเล่นฟุตบอลเพื่อเข้ารับการรักษาโดยด่วน และหลังจากต่อสู่กับโรคร้ายมานานนับปี เขาก็จากโลกนี้ไปในวันที่ 24 มิถุนายน 2012 ด้วยวัยเพียง 23 ปี

    ทัพเบติโกส จึงตัดสินใจรีไทร์เสื้อหมายเลข 26 เพื่ออุทิศให้แก่กองหลังชาวกาตาลันรายนี้ที่ต้องมาเสียชีวิตก่อนวัยอันควร

  7. #7 เอซี มิลาน – หมายเลข 6 | ฟรังโก้ บาเรซี

    กองหลังผู้เป็นหนึ่งในขุนพลอิตาลีชุดคว้าแชมป์ฟุตบอลโลก 1982 คือวันแมนคลับของรอสโซเนลี ที่ลงเล่นให้ทีมมาตั้งแต่ปี 1977-1997 และลงสนามมากเป็นอันดับ 2 รองจากมัลดินี ที่จำนวน 719 นัด

    เขาสวมปลอกแขนกัปตันและพาทีมซิวแชมป์เซเรีย อา 6 สมัย, แชมเปี้ยนส์ลีก 3 สมัย, ซูเปร์โคปปา อิตาเลียนา 4 สมัย และ ยูฟา ซูเปอร์ คัพ 2 สมัย

    และเพื่อเป็นเกียรติแก่เจ้าตัว ปีศาจแดงดำจึงยกเลิกหมายเลข 6 ในปี 1997 และคนที่ได้รับหน้าที่กัปตันทีมต่อจากเขาก็คือเปาโล มัลดินี ผู้ที่จะกลายเป็นตำนานคนต่อไปนั่นเอง

  8. #8 เอซี มิลาน – หมายเลข 3 | เปาโล มัลดินี

    แนวรับระดับตำนาน ผู้เปรียบเหมือนสัญลักษณ์ของปีศาจแดงดำ เป็นวันแมนคลับอีกคนหนึ่งที่ค้าแข้งมาอย่างยาวนานตั้งแต่ปี 1984-2009 และลงเล่นไปถึง 902 นัด

    เขาพาทีมกวาดแชมป์เซเรีย อา 7 สมัย, แชมเปี้ยนส์ลีก 5 สมัย, ซูเปร์โคปปา อิตาเลียนา 5 สมัย, ยูฟา ซูเปอร์ คัพ 4 สมัย โคปปา อิตาเลีย และฟีฟา คลับ เวิร์ล คัพ อีกอย่างละ 1 สมัย รวมถึงรางวัลส่วนตัวอีกนับไม่ถ้วน

    หลังจากเขาแขวนสตั๊ดในปี 2009 เอซี มิลานจึงประกาศรีไทร์หมายเลข 3 เพื่อเป็นเกียรติแก่กองหลังคนสำคัญของทีม และผู้ที่จะสามารถสวมเสื้อหมายเลขนี้ได้อีกครั้งต้องเป็นคริสเตียน หรือดาเนียล ลูกชายทั้ง 2 คนของเขาเท่านั้น

  9. #9 อินเตอร์ มิลาน – หมายเลข 4 | ฮาเวียร์ ซาเน็ตติ

    แบ็คขวาและกัปตันตลอดกาลของอินเตอร์ มิลาน อยู่กับสโมสรมายาวนานเกือบ 2 ทศวรรษ ตั้งแต่ปี 1995-2014 และลงเล่นไปมากถึง 858 นัด

    เขาพาทีมคว้าแชมป์เซเรีย อา 5 สมัย, โคปปา อิตาเลีย และ ซูเปร์โคปปา อิตาเลียนา 4 สมัย, แชมเปี้ยนส์ลีก, ยูฟา ซูเปอร์ คัพ และฟีฟา คลับ เวิร์ล คัพ อีกอย่างละ 1 สมัย รวมถึงรางวัลส่วนตัวอีกมากมาย พร้อมทั้งมีชื่อในหอเกียรติยศของสโมสรด้วย

    หลังเขาแขวนสตั๊ดในปี 2014 งูใหญ่จึงรีไทร์หมายเลข 4 เพื่อเป็นเกียรติแก่กัปตันคนสำคัญ และมอบตำแหน่งรองประธานสโมสรให้แก่เจ้าตัวด้วย

  10. CARLO HERMANN,CARLO HERMANN/AFP/ฟุตบอล

    #10 นาโปลี – หมายเลข 10 | ดิเอโก้ มาราโดนา

    ดาวยิงผู้ยิ่งใหญ่ตลอดกาลของอาร์เจนตินา ย้ายจากบาร์เซโลนามาร่วมทีมนาโปลี ระหว่างปี 1984-1991

    เขาสถาปนาตัวเองขึ้นเป็นกองหน้าระดับท็อปของโลก และฝากสถิติรวมไว้ที่ 115 ประตู จากการลงสนาม 259 นัด พร้อมพาทีมคว้าแชมป์เซเรีย อา 2 สมัย, โคปปา อิตาเลีย, ซูเปร์โคปปา อิตาเลียนา และยูฟา ซูเปอร์ คัพ อย่างละ 1 สมัย

    หลังเขาย้ายออกจากทีม ก็มีนักเตะอีกหลายรายรับช่วงต่อเสื้อหมายเลข 10 พร้อมแบกความหวังและความกดดันไว้อย่างสูง จนกระทั่งในปี 2000 อัซซูราก็ได้ประกาศรีไทร์เสื้อหมายเลขดังกล่าว เพื่อเป็นเกียรติแก่ “เสือเตี้ย”

  11. Getty

    #11 ปาร์มา – หมายเลข 6 | อเลสซานโดร ลูคาเรลลี

    กองหลังชาวอิตาลี ย้ายจากเจนัว มาร่วมทัพปาร์มาในปี 2008 และกลายเป็นกำลังหลักพร้อมสวมปลอกแขนกัปตันทีม

    เขากลายเป็นที่รักของแฟนจัลโลบลูอย่างมาก หลังจากสโมสรถูกฟ้องล้มละลายและต้องหล่นไปเล่นในเซเรีย ดี เมื่อปี 2015 แต่เขาไม่ทิ้งทีมไปไหน พร้อมทั้งอยู่ช่วยจนได้เลื่อนชั้นกลับสู่เซเรีย อา ในปี 2018 และเขาก็แขวนสตั๊ดทันทีในวัย 40 ปี

    ด้วยเหตุนี้ ปาร์มา จึงตัดสินใจรีไทร์เสื้อหมายเลข 6 ที่เจ้าตัวใส่มานานนับ 10 ปี และจัดพิธีอำลาให้อย่างยิ่งใหญ่   

  12. #12 เบรสชา – หมายเลข 10 | โรแบร์โต้ บาจโจ้

    แนวรุกฉายา ‘เปียทองคำ’ ย้ายมาเล่นให้เบรสชา น้องใหม่แห่งเซเรีย อา ในปี 2000 ซึ่งขณะนั้นเป็นช่วงปลายอาชีพค้าแข้งของเขาด้วย

    ตลอด 40 ปี ก่อนที่ดาวเตะอิตาเลียนย้ายมาร่วมทีม สโมสรแห่งนี้มักจะขึ้นมาลีกสูงสุดได้เพียงปีเดียว แล้วตกชั้นไปเล่นเซเรีย บี อยู่เสมอ แต่ 4 ปี ที่เขาไล่ล่าตาข่ายให้กับเบียงคัสซูรี ทีมไม่ตกชั้นเลย แถมยังทำผลงานดีจบอันดับที่ 8, 13, 9 และ 11 ของตาราง ตามลำดับ 

    ด่วยผลงานระดับสุดยอดเช่นนี้ ทำให้เบรสชาตัดสินใจรีไทร์หมายเลข 10 เพื่อเป็นเกียรติแก่ดาวยิงคนสำคัญผู้ไว้ลายเพชรฆาตจนถึงวันแขวนสตั๊ด

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.