Football Sponsored
Categories: ฟีฟา

ย้อนรอยการทำลายล้างของตอลิบานครั้งก่อน – โพสต์ทูเดย์

Football Sponsored
Football Sponsored

วันที่ 17 ส.ค. 2564 เวลา 16:30 น.

อีกสิ่งหนึ่งที่ชาวอัฟกันห่วงคือศิลปะและโบราณวัตถุของประเทศภายใต้การปกครองของตอลิบาน

ภายหลังจากที่กลุ่มตอลิบานเข้าควบคุมอัฟกานิสถานได้สำเร็จก็เกิดความกังวลจากชาวอัฟกันว่าการเข้ามาของกลุ่มตอลิบานครั้งนี้จะเหมือนครั้งก่อนหรือไม่

นอกจากความกังวลเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนรวมถึงการคุ้มครองสวัสดิภาพของเด็กและสตรีแล้ว ยังเกิดความกังวลต่อศิลปะ โบราณวัตถุ และวัตถุทางศาสนาทั่วประเทศด้วย

“เรามีความกังวลอย่างมากต่อความปลอดภัยของพนักงานและผลงานของพวกเรา” โมฮัมหมัด ฟาฮิม ราฮิมี ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอัฟกานิสถานซึ่งจัดแสดงโบราณวัตถุกว่า 80,000 ชิ้นกล่าว

ย้อนกลับไปในปี 1996 เมื่อกลุ่มติดอาวุธตอลิบานเข้ายึดครองอัฟกานิสถานได้มีการบังคับใช้กฎหมายอิสลามสุดโต่งทั่วประเทศ รวมถึงพยายามลบเลือนอารยธรรมอื่นที่ขัดต่อศาสนาอิสลามให้หมดสิ้น รวมถึงการทำลาย “พระพุทธรูปแห่งบามียาน” ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่สะเทือนใจชาวพุทธทั่วโลก

พระพุทธรูปแห่งบามียานเป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ อายุราว 1,500 ปี ซึ่งเป็นการแกะสลักเป็นพระพุทธรูปหินทรายที่แกะสลักอยู่ในหุบเขาเมืองบามียาน (Bamiyan) ทางตอนกลางของอัฟกานิสถาน

พระพุทธรูป 2 องค์ ได้แก่ องค์ตะวันตก (สูง 55 เมตร) สร้างขึ้นราวค.ศ. 618 และองค์ตะวันออก (สูง 38 เมตร) สร้างขึ้นราวค.ศ. 570 เมื่อครั้งที่อัฟกานิสถานเป็นที่ตั้งของชุมชนชาวพุทธขนาดใหญ่บนเส้นทางสายไหม

แต่แล้วเมื่อปี 1998 ตอลิบานเข้ายึดครองนครมะซาริชารีฟ (Mazar-i-Sharif) นครที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของอัฟกานิสถาน เมืองบามียานก็อยู่ภายใต้ปกครองของตอลิบานนับแต่นั้น

ตอลิบานประกาศเจตจำนงว่าจะทำลายพระพุทธรูปเหล่านั้นในปี 2001 โดยอ้างว่าการกราบไหว้บูชารูปเคารพนั้นขัดต่อหลักศาสนาอิสลาม ท่ามกลางกระแสต่อต้านจากทั่วโลกที่ไม่เห็นด้วยและประณามการกระทำดังกล่าวรวมไปถึงรัฐสมาชิกอิสลามด้วยกันเอง

ยูเนสโกยังได้ส่งจดหมายมายังรัฐบาลตอลิบานจำนวน 36 ฉบับเพื่อต่อต้านการระเบิดทำลายพระพุทธรูป ขณะที่หลายประเทศอย่างเช่นอินเดียและญี่ปุ่นเสนอทางออกว่าให้นำพระพุทธรูปมาประดิษฐานไว้ที่ประเทศของตน ก็ไม่สามารถเปลี่ยนใจตอลิบานได้เลย

ท้ายที่สุดพระพุทธรูปแห่งบามียานถูกทำลายทิ้งในวันที่ 2 มีนาคม 2001 ด้วยอาวุธต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการกระหน่ำยิงด้วยปืนหรือการใช้ระเบิดจนพระพุทธรูปพังทลายไปจนหมด

ในวันที่ 6 มีนาคม 2001 เดอะไทมส์ อ้างคำพูดของมุลเลาะห์ โอมาร์ นำกลุ่มตอลิบานว่า “มุสลิมทั้งหลายควรภูมิใจกับการทำลายรูปเคารพเพราะนี่คือการสรรเสริญอัลลอฮ์”

อีก 2 ปีถัดมายูเนสโกได้ขึ้นทะเบียนพระพุทธรูปแห่งบามียานเป็นมรดกโลกทางวัฒธรรม และภายหลังได้มีความพยายามที่จะฟื้นฟูซ่อมแซมพระพุทธรูปดังกล่าว แต่อย่างไรก็ตามไม่สามารถลบล้างบาดแผลที่เกิดขึ้นในจิตใจใครหลายคนไปได้

นอกจากนี้ภายใต้การปกครองของตอลิบานตั้งแต่ปี 1996 ถึง 2001 การแสดงงานศิลปะรวมถึงดนตรีถือเป็นสิ่งต้องห้าม โดยในปี 2001 กลุ่มตอลิบานได้ทำลายงานศิลปะในพิพิธภัณฑ์กรุงคาบูลไปนับไม่ถ้วน

มีรายงานว่าในระยะเวลาเพียงแค่ปีเดียวพวกเขาทำลายงานศิลปะโบราณไปอย่างน้อย 2,750 ชิ้น

ส่งผลให้ในปี 2003 ถึง 2006 อัฟกานิสถานต้องใช้เงินประมาณ 350,000 เหรียญสหรัฐเพื่อปรับปรุงซ่อมแซมอาคารพิพิธภัณฑ์ที่พังเสียหาย

ซาห์รา คาริมี ผู้กำกับภาพยนตร์ชื่อดังและประธานขององค์กรภาพยนตร์อัฟกันเขียนจดหมายเปิดผนึกไปยังองค์กรสื่อระดับโลกเมื่อวันที่ 13 ส.ค. ส่วนหนึ่งของข้อความระบุว่า “หากกลุ่มตอลิบานเข้ายึดครองอัฟกานิสถานได้สำเร็จ พวกเขาจะแบนงานศิลปะทั้งหมด…พวกเขาทรมานและสังหารหนึ่งในนักแสดงตลกที่รักของเรา…ฉันและผู้สร้างภาพยนตร์คนอื่นๆ อาจเป็นเป้าหมายต่อไปของพวกเขา”

To All the #Film_Communities in The World and Who Loves Film and Cinema!I write to you with a broken heart and a deep hope that you can join me in protecting my beautiful people, especially filmmakers from the Taliban. #Share it please, don’t be #silent. pic.twitter.com/4FjW6deKUi

— Sahraa Karimi/ ???? ????? (@sahraakarimi) August 13, 2021

นอกจากนี้เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมากลุ่มติดอาวุธตอลิบานได้สังหารอับดุลลาห์ อาเตฟี กวีและนักประวัติศาสตร์ชาวอัฟกันในจังหวัดอูรุซกันทางใต้ของอัฟกานิสถานด้วย

Photo by WAKIL KOHSAR / AFP

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.