Football Sponsored
Categories: ฟีฟา

‘ซิลลิค ฟาร์มา’ เผยวัคซีน ‘โมเดอร์นา’ ถูกจองเต็มจนถึงสิ้นปีแล้ว – ผู้จัดการออนไลน์

Football Sponsored
Football Sponsored

เผยแพร่:   ปรับปรุง: โดย: ผู้จัดการออนไลน์


บริษัท ซิลลิค ฟาร์มา (Zuellig Pharma) ผู้จัดหาและกระจายวัคซีนโมเดอร์นาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, ฮ่องกง, มาเก๊า และไต้หวัน ระบุวานนี้ (29 มิ.ย.) ว่ายอดสั่งจองวัคซีนซึ่งใช้เทคโนโลยี mRNA  “เต็ม” ไปจนถึงสิ้นปี 2021 แล้ว

จอห์น แกรม (John Graham) ประธานคณะเจ้าหน้าที่บริหาร ซิลลิค ฟาร์มา ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ที่สิงคโปร์ ยืนยันกับผู้สื่อข่าวรอยเตอร์ว่า “ธุรกรรมส่วนใหญ่ที่ทำในวันนี้ จะต้องรอได้รับวัคซีนในปี 2022”

แม้จะยอมรับว่าพอมีวัคซีนเหลือให้จองบ้างนิดหน่อย “แต่ผู้ซื้อควรทำความเข้าใจไว้ก่อนว่า ถ้าคุณเริ่มเจรจาวันนี้ คุณจะต้องรอถึงปี 2022 กว่าจะได้รับวัคซีน”

รัฐบาลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่างแย่งกันจัดหาวัคซีนให้แก่ประชาชนของตัวเอง หลังโควิด-19 ยังคงระบาดรุนแรงทั้งในอินโดนีเซีย, มาเลเซีย และ ฟิลิปปินส์ ขณะที่ไทย, เวียดนาม, กัมพูชา และสิงคโปร์ ซึ่งเคยคุมสถานการณ์ได้ดีก่อนหน้านี้ก็พบการระบาดแบบคลัสเตอร์ซึ่งทำให้ยอดผู้ติดเชื้อรายวันพุ่งสูงขึ้น

หลายประเทศในอาเซียนยังมีผู้ที่ฉีดวัคซีนแล้วอย่างน้อย 1 โดสไม่ถึง 10% ของจำนวนประชากร ซึ่งยิ่งเพิ่มความเสี่ยงหากเกิดการระบาดของเชื้อโควิดกลายพันธุ์ที่สามารถติดต่อกันได้ง่ายกว่าเดิม

สิงคโปร์, ฟิลิปปินส์, ไทย และไต้หวัน เป็นหนึ่งในหลายๆ ประเทศที่อยู่ระหว่างเจรจาสั่งซื้อ, ได้ทำสัญญาสั่งซื้อแล้ว หรือได้รับมอบวัคซีนโมเดอร์นาแล้วบางส่วน

แกรม เผยด้วยว่า บางประเทศเริ่มสั่งซื้อวัคซีนสำหรับฉีดกระตุ้นภูมิคุ้มกันในช่วงปี 2022-2023 แล้ว และการแสวงหาวัคซีนนั้น “มีการแข่งขันที่สูงมาก”

ล่าสุด รัฐบาลเกาหลีใต้ประกาศวานนี้ (29) ว่าเตรียมที่จะสั่งซื้อวัคซีน mRNA เพิ่มเติมสำหรับฉีดกระตุ้นให้แก่พลเมืองภายในปีหน้า

ที่มา: channelnewsasia

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.