Football Sponsored
Categories: ฟีฟา

‘เกาหลีใต้’เจรจาผลิตวัคซีน mRNA ‘1 พันล้านโดส’ – กรุงเทพธุรกิจ

Football Sponsored
Football Sponsored

เจ้าหน้าที่อาวุโสในรัฐบาลเผย เกาหลีใต้กำลังเจรจากับผู้ผลิตวัคซีน mRNA หลายราย รวมถึงไฟเซอร์และโมเดอร์นา เพื่อผลิตในประเทศได้ทันที 1 พันล้านโดส

ลี คังโฮ ผู้อำนวยการคณะกรรมการศูนย์กลางวัคซีนโลก กระทรวงสาธารณสุขเกาหลีใต้ ให้สัมภาษณ์พิเศษสำนักข่าวรอยเตอร์

“เราคุยเรื่องผลิตวัคซีน mRNAกับบริษัทยารายใหญ่บ่อยครั้ง ผู้ผลิตวัคซีน mRNA มีอยู่ไม่กี่เจ้า ไฟเซอร์ โมเดอร์นา เคียวแวค และไบออนเทค ดังนั้นการผลิตให้พอกับความต้องการของโลกจึงมีจำกัด เกาหลีใต้ก็เลยอยากเข้าไปช่วยด้วยโรงงานและทรัพยากรมนุษย์อันมีทักษะที่เรามี”

ขณะนี้ยังไม่ทราบแน่ชัดว่า การเจรจาคืบหน้าไปถึงไหน บรรลุข้อตกลงหรือไม่ เมื่อใด ไบออนเทคไม่ให้ความเห็นกับรอยเตอร์ ส่วนโมเดอร์นากับเคียวแวคไม่ตอบคำถาม

ด้านโฆษกไฟเซอร์กล่าวว่า บริษัทกำลังพยายามเพิ่มซัพพลายเชนวัคซีนป้องกันโควิด-19 “แต่ตอนนี้ยังไม่มีเรื่องพิเศษให้ประกาศ”

ลีไม่ได้เผยชื่อ ผู้ผลิตวัคซีนเกาหลีใต้ที่มีศักยภาพผลิตวัคซีน mRNA ทันที แต่แหล่งข่าวรายหนึ่งในรัฐบาลโซลเผยว่า มีหลายรายรวมถึงฮันมิ ฟาร์มาซูติคอลส์ และคูราทิส

ฮันมิยืนยันว่า บริษัทมีศักยภาพมากสำหรับผลิตยาเบาหวานของซาโนฟี ซึ่งนำมาใช้ผลิตวัคซีนโควิด-19 ได้ เนื่องจากโครงการซาโนฟีชะงักงัน

ส่วนคูราทิสซึ่งผลิตวัคซีนป้องกันวัณโรค กล่าวว่า โรงงานใหม่ที่สร้างเมื่อปีก่อนตอนนี้สามารถผลิตวัคซีน mRNA ได้

แผนการนี้ถ้าบรรลุข้อตกลงกันได้จะช่วยบรรเทาอุปทานวัคซีนโควิดโลกตึงตัว โดยเฉพาะในเอเชียที่ฉีดวัคซีนได้ช้ากว่าอเมริกาเหนือและยุโรป และทำให้ความฝันของเกาหลีใต้ที่จะเป็นศูนย์กลางผลิตวัคซีนรายใหญ่ใกล้ความจริงมากขึ้น

ที่ผ่านมาเกาหลีใต้ทำข้อตกลงผลิตวัคซีนให้สามบริษัท ได้แก่ แอสตร้าเซนเนก้า/มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด โนวาแวกซ์ และวัคซีนรัสเซีย ทั้งยังทำข้อตกลงผลิตขวดวัคซีนและแพ็กเกจให้กับโมเดอร์นา

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.