Football Sponsored
Categories: ฟีฟา

รอดโทษแบน! ฟีฟาปรับเรือใบละเมิดกฎเซ็นเด็ก – Goal.com

Football Sponsored
Football Sponsored

แมนฯ ซิตี้ไม่โดนลงโทษห้ามซื้อนักเตะเหมือนทีมอื่นที่ทำผิดแบบเดียวกัน แต่ถูกทางฟีฟาสั่งปรับเงินแทน

สหพันธ์ฟุตบอลนานาติ  (FIFA) ลงโทษปรับเงินสโมสร แมนเชสเตอร์ ซิตี้ เป็นจำนวน 315,000 ปอนด์ จากกรณีทำผิดกฎเซ็นสัญญากับนักเตะต่างชาติที่อายุต่ำกว่า 18 ปี 

ก่อนหน้านี้ ทีมเรือใบสีฟ้าส่อแววโดนแบนห้ามซื้อนักเตะเป็นเวลา 1 ฤดูกาล หลังถูกฟีฟาสอบสวนกรณีทำผิดกฏการเซ็นนักเตะเยาวชนนอกอังกฤษ

แต่ล่าสุดทางอดีตแชมป์พรีเมียร์ลีกก็รอดพ้นจากการถูกแบนแล้ว เนื่องจากฟีฟาประกาศบทลงโทษออกมาว่าจะใช้การปรับเงินแทน

Editor Picks

  • ทุกสิ่งที่คุณต้องรู้ : ยูโร 2020 แข่งเมื่อไหร่? จบเมื่อไหร่? เจ้าภาพกี่ชาติ?
  • โปรแกรมถ่ายทอดสดฟุตบอล – ดูบอลสดคืนนี้ (พรีเมียร์ลีก, ไทยลีก, ลาลีกา, บุนเดสลีกา, แชมเปี้ยนส์ลีก, ฯลฯ)
  • TTL Transfers : เกาะติดตลาดซื้อขายนักเตะ โตโยต้า ไทยลีก 2021-22
  • IN NUMBERS : คริสเตียโน โรนัลโด้ ยิงได้กี่ประตูในชีวิตค้าแข้ง?

“คณะกรรมการตรวจสอบวินัยของฟีฟาได้มีบทลงโทษต่อสโมสรแมนเชสเตอร์ ซิตี้ จากการเซ็นสัญญาและลงทะเบียนนักเตะต่างชาติที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี”  แถลงการณ์ของฟีฟาระบุ

“แมนเชสเตอร์ ซิตี้ ถูกตรวจพบว่าได้ละเมิดกฎระเบียบข้อที่ 19 ของฟีฟาเกี่ยวกับเรื่องสถานภาพและการซื้อขายนักเตะ”

“แมนเชสเตอร์ ซิตี้ยอมรับความผิดครั้งนี้ ทำให้คณะกรรมการตรวจสอบวินัยตัดสินลงโทษโดยการปรับเงินจำนวน 370,000 ฟรังก์ (ประมาณ 315,000 ปอนด์)”

“การปกป้องผู้เยาว์เป็นสิ่งที่ฟีฟาให้ความสำคัญ โดยเฉพาะเรื่องการเซ็นสัญญานักเตะ และการบังคับใช้กฎอย่างมีประสิทธิภาพนั้นเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง ซึ่งได้รับการยืนยันโดยศาลอนุญาโตตุลาการกีฬาในหลาย ๆ โอกาส”

ทั้งนี้ การลงโทษของฟีฟาสร้างความประหลาดใจให้กับหลายฝ่าย เพราะก่อนหน้านี้ทีมที่เคยทำผิดกฎกรณีเดียวกันอย่างบาร์เซโลนา, เรอัล มาดริด, แอตเลติโก มาดริด และเชลซี ต่างก็ถูกแบนห้ามซื้อนักเตะเป็นเวลา 2 รอบตลาด

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.