Football Sponsored
Categories: ฟีฟา

อย่าขวางการลงทุน! ปธ.เปแอสเชจี้ยูฟ่าเปลี่ยนกฎการเงิน – Goal.com

Football Sponsored
Football Sponsored

นายใหญ่ทัพเปแอสเช ชี้ว่ากการเงินของทางยูฟ่าขัดขวางการลงทุนในกีฬาฟุตบอล พร้อมแนะให้เปลี่ยนแปลงกฎดังกล่าวเพื่อผลประโยชน์โดยรวม

นาสเซอร์ อัล-เคไลฟี ประธานสโมสร ปารีส แซงต์-แชร์กแมง พูดถึงกฎ ไฟแนนเชียล แฟร์ เพลย์ (FFP)  ของ สหพันธ์ลูกหนังยุโรป หรือ ยูฟ่า ว่าเป็นกฎที่ขัดขวางการลงทุนในโลกฟุตบอล

วิกฤตไวรัสโควิด-19 ที่แพร่ระบาดอย่างหนักส่งผลต่อเศรษฐกิจทั่วทั้งโลกไม่เว้นแม้แต่ในโลกของกีฬาฟุตบอล ที่เหล่าสโมสรทั้งหลายสูญเสียรายได้มากมายจากการไม่มีแฟนบอลเข้ามาชมเกมในสนาม

ซึ่งกฎ FFP ของยูฟ่าถูกร่างขึ้นมาเพื่อตรวจสอบและป้องกันใม่ให้สโมสรทุ่มเงินจนเกินตัวซึ่งอาจก่อให้เกิดภาวพล้มละลาย โดยก่อนหน้านี้ทั้ง เปแอสเช และ แมนเชสเตอร์ ซิตี้ เคยโดนสอบสวนมาแล้วทั้งนั้น ทำให้ ประธานสโมสรของปารีส ชี้ว่าถึงเวลาที่กฎนี้จะถูกเปลี่ยนแปลงเนื่องจากสถานการณ์ในตอนนี้ทุกทีมล้วนต้องการเงินลงทุนที่มากขึ้น

Editor Picks

  • โปรแกรมถ่ายทอดสดฟุตบอล – ดูบอลสดคืนนี้ (พรีเมียร์ลีก, ไทยลีก, ลาลีกา, บุนเดสลีกา, แชมเปี้ยนส์ลีก, ฯลฯ)
  • TTL Transfers : เกาะติดตลาดซื้อขายนักเตะ โตโยต้า ไทยลีก 2021-22
  • จ้าวยุโรป! ทำเนียบแชมป์ ยูโรเปี้ยนคัพ/ UCL ตั้งแต่ฤดูกาล 1956-2021
  • จ้าวลูกหนังผู้ดี! ทำเนียบแชมป์ลีกสูงสุดอังกฤษ (1888-2021)

“ทุกคนรู้ดีว่าสโมสรทั้งหลายต่างสูญเสียเงินไปมาก” อัล-เคไลฟี เผย

“บอกตามตรง ด้วยวิกฤตเช่นนี้ กฎการเงินมันช่วงป้องกันอะไรไม่ได้เลย ฟุตบอลทั่วโลกสูญเสียเงินไปราว 8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ”

“กฎ FFP ไม่ควรป้องกันการลงทุน เราอยากให้คนอื่นทุ่มเงินลงกับกีฬาฟุตบอลหหรือกีฬาอื่นล่ะ ผมอยากให้พวกเขาลงทุนในกีฬาของเรา”

“เราต้องเปลี่ยนแปลงกฎ FFP และยูฟ่าต้องแก้ไขเรื่องนั้น”

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.