Football Sponsored
Categories: ฟีฟา

นักเตะผู้คว้ารางวัลแข้งแห่งปี PFA รอบ 10 ปีหลังสุด ตอนนี้อยู่ไหน? – Goal.com

Football Sponsored
Football Sponsored
  1. #1 2010/11 และ 2012/2013 | แกเร็ธ เบล (สเปอร์ส)

    ดาวเตะซูเปอร์สตาร์ของไก่เดือยทอง โชว์ฟอร์มได้อย่างโดดเด่น นับตั้งแต่ขยับจากแบ็กซ้ายขึ้นมาเล่นในแนวรุก ก่อนย้ายซบเรอัล มาดริด ด้วยค่าตัวเป็นสถิติโลก 

    ปัจจุบันในวัย 31 ปี เจ้าตัวมีอาการบาดเจ็บรบกวนต่อเนื่อง จนต้องย้ายกลับมาเล่นให้สเปอร์สเมื่อฤดูกาลก่อนด้วยสัญญายืมตัว และคืนฟอร์มเก่งได้อีกครั้ง ด้วยผลงาน 11 ประตู 2 แอสซิสต์ จากการลงเล่น 20 นัด 

  2. #2 2011/12 | โรบิน ฟาน เพอร์ซี (อาร์เซนอล)

    ฟาน เพอร์ซี ยิงไปถึง 30 ประตู จากการลงสนามครบ 38 นัดให้อาร์เซนอล พร้อมพ่วงรางวัลรองเท้าทองคำไปครอง ก่อนย้ายซบแมนฯ ยูไนเต็ด ในฤดูกาลถัดมา

    ปัจจุบันในวัย 37 ปี เจ้าตัวทำงานเป็นผู้ช่วยโค้ชทีมเฟเยนูร์ด 

  3. #3 2013/14 | หลุยส์ ซัวเรซ (ลิเวอร์พูล)

    กองหน้าชาวอุรุกวัย คือจอมล่าตาข่ายคนใหม่ของหงส์แดง หลังเฟร์นันโด ตอร์เรส อำลาทีมไป โดยในฤดูกาล 2013/14 เขากดไปถึง 31 ประตู จากการลงสนาม 33 นัด ซิวรางวัลรองเท้าทองคำของทั้งพรีเมียร์ลีก และทวีปยุโรป 

    ปัจจุบันในวัย 34 ปี เจ้าตัวก็ยังไม่ทิ้งลายดาวยิง เพราะเพิ่งพาแอตฯ มาดริด คว้าแชมป์ลาลีกา ได้ในฤดูกาลล่าสุด

  4. #4 2014/15 | เอเด็น อาซาร์ (เชลซี)

    อาซาร์ คือนักเตะที่สิงห์บลูจะขาดไม่ได้ ด้วยผลงานสุดเด่น ลงเล่นครบทุกนัด ซัด 14 ประตู 10 แอสซิสต์ พาต้นสังกัดผงาดคว้าดับเบิลแชมป์ ทั้งพรีเมียร์ลีก และลีกคัพ

    ปัจจุบันในวัย 30 ปี เจ้าตัวไม่ได้ลงสนามให้เรอัล มาดริดมากนัก เนื่องจากอาการบาดเจ็บที่ตามรบกวนอยู่บ่อยครั้ง

  5. Getty

    #5 2015/16 | ริยาด มาห์เรซ (เลสเตอร์)

    ปีกจอมลากเลื้อย ผู้พาจิ้งจอกสยามหักปากกาเซียนคว้าแชมป์พรีเมียร์ลีก ด้วยผลงานส่วนตัวระดับสุดยอด 17 ประตู 10 แอสซิสต์ จากการลงเล่น 37 นัด

    ปัจจุบันในวัย 30 ปี เจ้าตัวย้ายมาสานต่อความยิ่งใหญ่กับแมนฯ ซิตี้ และฤดูกาลล่าสุด ก็ยึดสัมปทานทางกราบขวาได้อย่างเหนียวแน่น

  6. #6 2016/17 | เอ็นโกโล ก็องเต้ (เชลซี)

    ในฤดูกาลที่เลสเตอร์คว้าแชมป์พรีเมียร์ลีก นอกจากมาห์เรซแล้ว ก็องเต้ก็เป็นอีกคนที่เล่นได้อย่างโดดเด่น ทำให้ถูกเชลซีดึงตัวมาร่วมทัพ และเขาก็ไม่ทำให้แฟนสิงโตคำรามผิดหวัง ด้วยการพาทีมผงาดคว้าแชมป์ลีกสูงสุดไปครองในฤดูกาลแรกที่ย้ายมา

    ปัจจุบันในวัย 30 ปี เจ้าตัวก็ยังเป็นนักเตะคนสำคัญของสิงห์บลูไม่เปลี่ยนแปลง และเพิ่งคุมเกมแดนกลางแบบอยู่หมัด พาต้นสังกัดคว้าถ้วยยูฟา แชมเปี้ยนส์ลีกอีกด้วย 

  7. #7 2017/18 | โมฮัมเหม็ด ซาลาห์ (ลิเวอร์พูล)

    ดาวเตะชาวอียิปต์รายนี้ เข้ามาเติมเต็มแนวรุกของหงส์แดงได้อย่างลงตัว จนสามประสาน ซาลาห์-ฟีร์มิโน-มาเน กลายเป็นแนวรุกระดับท็อปของทวีปยุโรป พ่วงสถิติส่วนตัว ยิงกระจาย 32 ประตู จาก 36 นัด ซิวรองเท้าทองคำไปครอง

    ปัจจุบันในวัย 28 ปี เจ้าตัวก็ยังเป็นซูเปอร์สตาร์ของลิเวอร์พูล และผลงานในฤดูกาลล่าสุดก็ยังคงร้อนแรง 22 ประตู จากการลงสนาม 37 นัด 

  8. #8 2018/19 | เฟอร์จิล ฟาน ไดค์ (ลิเวอร์พูล)

    ปราการหลังค่าตัวแพง ที่แสดงให้ทุกคนเห็นแล้วว่า ผลงานในสนามของเขาคุ้มค่าแค่ไหน เพียงแค่ฤดูกาลแรกก็พาพลพรรคเรด แมชชีน ชูถ้วยยูฟาแชมเปี้ยนส์ลีกได้อย่างยิ่งใหญ่ แถมยังมีชื่อลุ้นเข้าชิงบัลลงดอร์ ด้วยการมีคะแนนเป็นอันดับ 2 รองจากลิโอเนล เมสซี

    ปัจจุบันในวัย 29 ปี เจ้าตัวยังคงสวมเสื้อลิเวอร์พูล แต่โชคร้ายได้รับบาดเจ็บหนักตั้งแต่เดือน ต.ค. และไม่ได้ลงเล่นอีกเลยจนจบฤดูกาล

  9. #9 2019/20 | เควิน เดอ บรอยน์ (แมนฯ ซิตี้)

    จอมทัพตัวเก่งของแมนฯ ซิตี้ ถูกยกย่องว่าเป็นจอมถวายพานระดับท็อปของโลก และผลงานของเขาก็เป็นเครื่องยืนยัน 20 แอสซิสต์ จากการลงสนาม 35 นัด ทาบสถิติแอสซิสต์สูงสุดตลอดกาลของพรีเมียร์ลีกที่ทำไว้โดย เธียร์รี อองรี

    ปัจจุบันในวัย 29 เจ้าตัวก็ยังเป็นนักเตะคนสำคัญของเรือใบสีฟ้า และผงาดคว้าแข้งแห่งปี PFA เป็นปีที่สองติดต่อกัน ทำให้กลายเป็นนักเตะคนที่ 3 ในประวัติศาสตร์ที่ได้รางวัลนี้ 2 สมัยติดต่อกัน ต่อจาก เธียร์รี อองรี และ คริสเตียโน โรนัลโด้

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.