Football Sponsored
Categories: ฟีฟา

ฟีฟาเตรียมทบทวนกฎแฟร์เพลย์หลังจบบอลโลก – Goal.com

Football Sponsored
Football Sponsored

องค์กรลูกหนังโลกจะทบทวนการใช้กฎแฟร์เพลย์หลังจบเวิลด์คัพ แต่เบื้องต้นรู้สึกว่าไม่มีความจำเป็นที่ต้องเปลี่ยนแปลงอะไร

คอลิน สมิธ ผอ.ฝ่ายจัดการแข่งขันของสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ เผย พวกเขาจะทำการทบทวนกฎแฟร์เพลย์หลังจบฟุตบอลโลก 2018 หลังเซเนกัลมีอันต้องกระเด็นตกรอบจากกฎข้อนี้

กฎข้อนี้ถูกนำมาใช้เป็นครั้งแรกเพื่อหาทีมผ่านเข้ารอบน็อคเอาท์ ในกรณีที่สองทีมในกลุ่มมีคะแนนเท่ากัน, ผลบวกประตูได้เสียเท่ากัน, ยิงประตูได้เท่ากัน และสถิติเฮดทูเฮดเท่ากัน 

ปรากฎว่ามันถูกนำมาใช้จริงทันทีในฟุตบอลโลกที่รัสเซีย เมื่อญี่ปุ่นกับเซเนกัลมี 4 คะแนนเท่ากัน, ผลบวกประตูได้เสีย +0 เท่ากัน, ยิงได้ 4 ประตูเท่ากัน และสถิติเฮดทูเฮดเท่ากันทุกอย่างจากการเสมอกัน 2-2 ดังนั้นจึงต้องใช้กฎแฟร์เพลย์หาทีมเข้ารอบ

Editor Picks

  • โปรแกรมถ่ายทอดสดฟุตบอล – ดูบอลสดคืนนี้ (พรีเมียร์ลีก, ไทยลีก, ลาลีกา, บุนเดสลีกา, แชมเปี้ยนส์ลีก, ฯลฯ)
  • แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ถ่ายช่องไหน? วิธีดูแมนฯ ยูฯ พบบียาร์เรอัล
  • จ้าวลูกหนังผู้ดี! ทำเนียบแชมป์ลีกสูงสุดอังกฤษ (1888-2021)
  • ดาวซัลโวพรีเมียร์ลีก 2020-21

และเป็นขุนพลซามูไรที่ได้เฮผ่านเข้ารอบ 16 ทีม เพราะพวกเขาสะสมใบเหลือง 4 ใบ ส่วนเซเนกัลสะสมใบเหลือง 6 ใบ ท่ามกลางเสียงวิจารณ์ประปรายที่ไม่เห็นด้วยกับวิธีนี้


ข่าวอื่นๆ |  ติดตามข่าว ฟุตบอลโลกเพิ่มเติมที่นี่
OPTA – สถิติผู้เล่น | สถิติทีม

เปิดโผรายชื่อนักเตะ 32 ชาติลุยฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย
ลูกฟุตบอลเวิลด์คัพ : จากแทงโก้สู่จาบูลานี
World Cup 2018 Stadiums: ส่อง 12 สนามฟุตบอลโลกที่รัสเซีย
STAY TUNED WORLD CUP : ตารางถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก 2018


ล่าสุดตัวแทนของฟีฟาชี้แจงว่าจะมีการทบทวนกฎแฟร์เพลย์หลังจบบอลโลก แต่เบื้องต้นรู้สึกพอใจและไม่คิดว่ามีความจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด

“เราจะประเมินกฎข้อนี้หลังจบทัวร์นาเมนต์ แต่ตอนนี้เราไม่เห็นถึงความจำเป็นที่ต้องเปลี่ยนแปลงอะไร” สมิธ กล่าว

“กฎนี้มันดีกว่าการจับสลากเพื่อตัดสินทีมเข้ารอบ ก่อนมาถึงตรงนี้ทีมที่ผ่านเข้ารอบจะตัดสินด้วยประตูและผลการแข่งขันที่ชัดเจนอยู่แล้ว”

“กฎแฟร์เพลย์คือเกณฑ์ที่ถูกเพิ่มเข้ามาและมันก็ชัดเจนมาก ๆ”

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.