Football Sponsored
Categories: ฟีฟา

‘อังกฤษ’เดินหน้าปลดล็อกมาตรการสกัดไวรัส ขณะ’อินเดีย’ยังน่าเป็นห่วง ด้านพันธมิตร’ไฟเซอร์’สร้างรง.วัคซีนในสิงคโปร์ – ผู้จัดการออนไลน์

Football Sponsored
Football Sponsored

เผยแพร่:   ปรับปรุง: โดย: ผู้จัดการออนไลน์


อังกฤษเตรียมผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์อีกขั้น เช่นเดียวกับอีกหลายชาติในยุโรป ตรงข้ามกับอินเดียที่สถานการณ์โควิดยังน่าเป็นห่วง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับประเทศเพื่อนบ้าน อย่างไรก็ตาม มีข่าวดีจากไบโอเอ็นเทค ซึ่งเป็นพันธมิตรผลิตวัคซีนของไฟเซอร์ ที่ประกาศแผนสร้างโรงงานในสิงคโปร์เพื่อเพิ่มกำลังผลิตวัคซีนโควิด

โครงการเร่งรัดฉีดวัคซีนทำให้ประเทศร่ำรวยหลายแห่งเริ่มดำเนินขั้นตอนต่างๆ เพื่อฟื้นคืนสู่สถานการณ์ปกติ หลังจากไวรัสโคโรนาทำให้มีผู้สังเวยชีวิตไปแล้วเกือบ 3.3 ล้านคนทั่วโลก

นายกรัฐมนตรีบอริส จอห์นสันของอังกฤษ ถูกคาดหมายว่า จะประกาศมาตรการเพิ่มเติมชุดใหม่ในวันจันทร์ (10 พ.ค.) ซึ่งมีแนวโน้มครอบคลุมการอนุญาตให้ประชาชนนั่งดื่มกินในร้านอาหารและผับ และการเปิดโรงภาพยนตร์ โดยจะมีผลตั้งแต่วันที่ 17 ที่จะถึง

ความเคลื่อนไหวนี้มีขึ้นหลังจากสเปนยกเลิกสถานการณ์ฉุกเฉินที่บังคับใช้มาตั้งแต่เดือนตุลาคมปีที่แล้ว และอนุญาตให้ประชาชนเดินทางข้ามภูมิภาค ส่วนเยอรมนียกเลิกข้อจำกัดหลายอย่างสำหรับผู้ที่ฉีดวัคซีนครบโดสแล้วนับจากวันอาทิตย์ที่ผ่านมา (9)

ทว่า ในอีกหลายประเทศ ไวรัสโคโรนายังคงสร้างปัญหาหนักและตอกย้ำความไม่เท่าเทียมในการเข้าถึงวัคซีนทั่วโลก

กระทรวงสาธารณสุขอินเดียรายงานเมื่อวันจันทร์ว่า พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 366,161 คน และผู้เสียชีวิต 3,754 คนในช่วง 24 ชั่วโมงก่อนหน้า ทำให้ยอดผู้ติดเชื้อสะสมเพิ่มเป็น 22.66 ล้านคน และผู้เสียชีวิต 246,116 คน

ไวรัสกลายพันธุ์เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้สถานการณ์การระบาดในอินเดียรุนแรงมากขึ้น ซ้ำร้ายไวรัสสายพันธุ์ใหม่ที่ระบาดง่ายและเร็วขึ้นยังแพร่เชื้อไปถึงประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เนปาล กระทั่งจีนต้องสั่งกำหนด “เส้นแบ่งเขต” บนยอดเขาเอเวอเรสต์ที่เป็นพรมแดนระหว่างสองชาติ เพื่อป้องกันไม่ให้ไวรัสสายพันธุ์อินเดียแพร่เชื้อจากนักปีนเขาในเนปาลเข้าสู่จีน โดยมีรายงานว่า ช่วงไม่กี่สัปดาห์มานี้พบผู้ป่วยหลายสิบคนจากแคมป์บนเอเวอเรสต์

วิกฤตไวรัสทำให้นายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดิของอินเดีย ถูกกดดันหนักขึ้นให้ประกาศล็อกดาวน์ทั่วประเทศ

นอกจากเสียงเรียกร้องภายในประเทศอย่างสมาคมแพทย์อินเดียที่ต้องการให้รัฐบาลสั่งล็อกดาวน์อย่างสมบูรณ์ มีการวางแผนเตรียมการ และประกาศล่วงหน้าแล้ว เมื่อวันอาทิตย์ นายแพทย์แอนโทนี ฟาวซี ที่ปรึกษาใหญ่ด้านไวรัสโคโรนาของทำเนียบขาว ยังแนะนำเช่นเดียวกันว่า อินเดียต้องล็อกดาวน์ทั่วประเทศเพื่อสกัดห่วงโซ่การระบาด

สำหรับอเมริกานั้นยังคงเป็นประเทศที่มีผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตจากโควิด-19 มากที่สุดในโลก นอกจากนั้น งานศึกษาของมหาวิทยาลัยวอชิงตันที่เผยแพร่เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ยังประเมินว่า ตัวเลขจริงของผู้เสียชีวิตในอเมริกาอาจไม่ใช่ตัวเลขอย่างเป็นทางการที่ 581,000 คน แต่สูงถึงกว่า 900,000 คน

อย่างไรก็ตาม นับจากเดือนมกราคม จำนวนเคสใหม่เริ่มลดลง ขณะที่มีชาวอเมริกันได้รับการฉีดวัคซีนครบโดสแล้วกว่า 114 ล้านคน

ขณะเดียวกัน เมื่อวันจันทร์ อูกูร์ ซาฮิน ประธานบริหารไบโอเอ็นเทคของเยอรมนีซึ่งเป็นพันธมิตรผู้พัฒนาวัคซีนโควิดร่วมกับไฟเซอร์ ได้ประกาศสร้างสำนักงานใหญ่ภูมิภาคและโรงงานผลิตประจำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในสิงคโปร์ ซึ่งจะเดินเครื่องผลิตวัคซีนโควิดชนิดเอ็มอาร์เอ็นเอปีละหลายร้อยล้านโดส

โรงงานดังกล่าวจะเริ่มต้นก่อสร้างภายในปีนี้และอาจเปิดดำเนินการได้ภายในปี 2023

วัคซีนของไบโอเอ็นเทคและไฟเซอร์เป็นวัคซีนโควิดตัวแรกที่ได้รับอนุมัติให้ใช้เป็นกรณีฉุกเฉินในหมู่ประเทศตะวันตกเมื่อปลายปีที่แล้ว และขณะนี้ได้จัดส่งไปยังกว่า 90 ประเทศทั่วโลก รวมทั้งมีแผนเพิ่มกำลังผลิตเป็น 3,000 ล้านโดสภายในปลายปีนี้ จากที่เคยคาดไว้ที่ 2,500 ล้านโดส และจะเพิ่มเป็นกว่า 3,000 ล้านโดสในปี 2022

นอกจากนั้น เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตทั่วโลก ไบโอเอ็นเทคและไฟเซอร์ยังเตรียมให้ใบอนุญาตและร่วมเป็นพันธมิตรในการผลิตวัคซีนโควิดกับบริษัทยาอื่นๆ เช่น เมิร์ก, โนวาร์ทิส และซาโนฟี

(ที่มา: เอเอฟพี, รอยเตอร์, เอพี)

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.