Football Sponsored
Categories: ฟีฟา

หน่วยข่าวกรองสหรัฐฯ หวั่นสิทธิสตรีอัฟกานิสถานจะถดถอยหลังถอนทัพ – ประชาไท

Football Sponsored
Football Sponsored

สภาข่าวกรองแห่งชาติสหรัฐฯ ประเมินหลังสหรัฐฯ-ชาติตะวันตกอื่นถอนทัพจากอัฟกานิสถาน อาจทำให้ความก้าวหน้าในเรื่องสิทธิสตรีในอัฟกานิสถานถดถอยลง ถึงแม้ว่ากลุ่มติดอาวุธตอลีบันจะไม่ได้ยึดอำนาจอย่างเต็มที่ก็ตาม


ภาพโดย Guy Lawson, USAID

รายงานจากสภาข่าวกรองแห่งชาติสหรัฐฯ ระบุว่า ความก้าวหน้าในเรื่องสิทธิสตรีในอัฟกานิสถานที่ดำเนินต่อเนื่องมาเป็นเวลาราว 20 ปีที่ผ่านมา “น่าจะเป็นเพราะการกดดันจากภายนอกประเทศมากกว่าการสนับสนุนจากภายในประเทศเอง แสดงให้เห็นว่าสิทธิสตรีในอัฟกานิสถานอาจจะอยู่ในภาวะเสี่ยงหลังจากที่มีการถอนกองทัพสัมพันธมิตรรัฐบาลตะวันตก โดยที่ไม่เกี่ยวกับว่ากลุ่มตอลีบันจะเข้ามาทำให้ถดถอยลงหรือไม่”

วุฒิสมาชิก ฌอน ชาฮีน เรียกร้องให้มีการเปิดเผยรายงาน 2 หน้าของหน่วยข่าวกรองสหรัฐฯ ต่อสาธารณะซึ่งมีเนื้อหาการประเมินสถานการณ์ในเรื่องสิทธิสตรีในอัฟกานิสถาน ในรายงานระบุว่า “ถึงแม้การล่มสลายของตอลีบันจะทำให้นโยบายบางอย่างหมดไป (เช่นการจำกัดสิทธิสตรี) แต่ก็ยังมีอยู่จำนวนมากที่ยังมีการปฏิบัติใช้อยู่แม้กระทั่งในพื้นที่ๆ มีรัฐบาลควบคุมอยู่”

เมื่อไม่นานนี้กองกำลังของสหรัฐฯ และนาโต้ได้ประกาศถอนทัพออกจากอัฟกานิสถานหลังจากที่มีการวางกำลังทัพในพื้นที่ประเทศนี้มาเป็นเวลาเกือบ 20 ปี การถอนทัพดังกล่าวจะเกิดขึ้นภายในวันที่ 11 ก.ย. นี้ตามกำหนดการของไบเดน

อย่างไรก็ตามที่กลุ่มนักการเมืองจากทั้งสองฝ่าย นักกิจกรรม และผู้หญิงที่อยู่ในทีมเจรจาหารือกับรัฐบาลอัฟกานิสถานแสดงความกังวลว่าความก้าวหน้าในเรื่องสิทธิสตรีในอัฟกานิสถานอาจจะได้รับผลกระทบทางลบโดยเฉพาะการถอนทัพโดยไม่มีการวางรากฐานทางการเมืองเอาไว้ให้ ถึงแม้ว่ารัฐบาล โจ ไบเดน จะให้สัญญาว่าจะยังคงมีกลุ่มสายงานการทูตของสหรัฐฯ คงอยู่ในพื้นที่ประเทศอัฟกานิสถานก็ตาม

รายงานระบุว่านับตั้งแต่ที่ “สิ้นสุดการปกครองของกลุ่มตอลีบัน” อัฟกานิสถานก็เริ่มมีความก้าวหน้าในด้านสิทธิสตรีที่ยังกระท่อนกระแท่นเมื่อดูจากเป้าหมายการไปสู่การยอมรับตามมาตรฐานสากล ซึ่งในเรื่องนี้สะท้อนเกี่ยวกับเรื่องบรรทัดฐานและความขัดแย้งเชิงวัฒนธรรมในอัฟกานิสถานเอง 

ในรายงานเปรียบเทียบว่าพื้นที่ในเมืองใหญ่และในย่านของชนกลุ่มน้อยชาติพันธุ์ในอัฟกานิสถานมีความรุนแรงต่อผู้หญิงน้อยกว่าและผู้หญิงก็มีเสรีภาพมากกว่าเทียบกับช่วงก่อนที่ตอลีบันจะเข้ามามีอำนาจ แต่สำหรับในชนบทซึ่งคิดเป็นร้อยละ 70 ของอัฟกานิสถานมีความก้าวหน้าในเรื่องนี้น้อยกว่า

เมื่อมองในระดับประเทศแล้ว อัฟกานิสถานยังคงมีปัญหาเรื่องการแต่งงานกับเด็ก การใช้หินขว้างใส่เพื่อรุมประชาทัณฑ์ผู้ถูกกล่าวหาเรื่องมีเพศสัมพันธ์นอกการแต่งงาน รวมถึงมีปัญหาที่ครอบครัวมักจะสังหารผู้ที่เผชิญการข่มขืนเพื่อรักษาเกียรติยศของครอบครัวไว้

นอกจากนี้หน่วยงานข่าวกรองสหรัฐฯ ยังประเมินไว้อีกว่ารัฐบาลอัฟกานิสถานจะต้องพยายามทำให้สิ่งต่างๆ อยู่ใต้การควบคุมเมื่อพวกเขาขาดการสนับสนุนจากกองกำลังนานาชาติ

รัฐบาลไบเดนเคยกล่าวเตือนกลุ่มตอลีบันไว้ว่ากลุ่มตอลีบันจะไม่ได้รับการยอมรับจากนานาชาติถ้ากลุ่มติดอาวุธของพวกเขาทำการยึดอำนาจด้วยกำลังหรือทำการจำกัดสิทธิมนุษยชนและสิทธิสตรี

โทนี บลิงเคน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ กล่าวให้สัมภาษณ์ในเรื่องนี้ไว้เมื่อเดือน เม.ย. ที่ผ่านมาว่า ตอลีบันจะต้องไม่ทำตัวล้าหลังถ้าหากพวกเขาอยากได้รับการยอมรับจากนานาชาติ “ถ้าหากประเทศใดก็ตามที่ทำตัวล้าหลังในเรื่องนั้น (ความเท่าเทียมทางเพศ) ทำตัวพยายามกดขี่พวกเขา (ผู้หญิง) จะไม่ได้รับการยอมรับจากนานาชาติ และจะไม่ได้รับสถานะจากนานาชาติ และถ้าจะพูดจริงๆ แล้ว พวกเราจะมีปฏิบัติการเพื่อให้แน่ใจว่าพวกเราได้ทำอย่างถึงที่สุดแล้วในการยับยังไม่ให้พวกเขาทำเช่นนั้น”

อย่างไรก็ตามในรายงานของหน่วยข่าวกรองสหรัฐฯ ระบุว่า ความต้องการความช่วยเหลือจากต่างประเทศและความต้องการความชอบธรรมอาจจะทำให้พวกตอลีบันค่อยๆ ปรับเปลี่ยนวิธีการของพวกเขาในภายหลังจากมีการยึดอำนาจแล้ว แต่เป็นได้ว่าในช่วงแรกๆ ที่พวกเขายึดอำนาจพวกเขาจะเน้นเรื่องการขยายอำนาจการควบคุมภายใต้ข้อกำหนดของตัวเองตามใจชอบ

ในรายงานระบุอีกว่าถ้าหากตอลีบันกลับมาเป็นกลุ่มที่มีอำนาจนำในอัฟกานิสถาน แนวทางเรื่องสิทธิสตรีของกลุ่มติดอาวุธกลุ่มนี้ก็ยังคงเหมือนเดิม แต่สิ่งที่จะเป็นตัวแปรในเรื่องการคานอำนาจกับตอลีบันคือชนกลุ่มน้อยชาติพันธุ์ในอัฟกานิสถานที่จะยังคงรักษาสิทธิสตรีที่มีอยู่ในรูปแบบต่างๆ ของชุมชนตัวเองไว้ได้มากน้อยแค่ไหน และมีพัฒนาการด้านเทคโนโลยีมากขึ้นแค่ไหนนับตั้งแต่ที่ตอลีบันเคยมีอำนาจก่อนหน้านี้

ทั้งนี้ในสัปดาห์ที่แล้ว คณะกรรมการด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของวุฒิสภาสหรัฐฯ ได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่สิทธิสตรีในอัฟกานิสถานจะถดถอย โดยหารือเรื่องนี้กับ ซัลเมย์ คาลิลซาด ผู้แทนพิเศษสหรัฐฯ ด้านการปรองดองอัฟกานิสถาน

ชาฮีน ผู้แทนจากพรรคเดโมแครตที่เป็นผู้หญิงคนเดียวในคณะกรรมการวุฒิสภากล่าวว่าพวกเขาไม่อยากให้มีการละเลยเรื่องสิทธิสตรีและสิทธิชนกลุ่มน้อยที่เกิดความก้าวหน้ามากขึ้นในช่วงประมาณ 20 ปีที่ผ่านมา พวกเขาอยากให้มีการรักษาสิทธิเหล่านี้เอาไว้ แต่ก็กังวลว่ากำหนดเส้นตายการถอนทัพออกจากอัฟกานิสถานจะทำให้ความความเสี่ยงในเรื่องนี้

ขณะที่คาลิลซาดบอกว่าเรื่องนี้ก็สำคัญสำหรับเขาเช่นกัน โดยที่เขาเคยมีบทบาทเล็กๆ น้อยๆ ในการส่งเสริมให้มีการรับร่างบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญอัฟกานิสถานประมาณ 20 ปีที่แล้วที่มีการส่งเสริมให้ผู้หญิงมีส่วนร่วมทางการเมืองและสิทธิสตรีโดยการให้มีผู้หญิงในทีมเจรจาของอัฟกานิสถานและในการเจรจาสันติภาพในอนาคตด้วย

ผู้หญิง 3 คนที่เป็นสมาชิกของทีมเจรจาอัฟกานิสถานคือ ฮาบิบา ซาราบี, ฟาวเซีย คูฟี และชาริฟา ซูร์มาตี เคยแสดงความคิดเห็นผ่านบทความในซีเอ็นเอ็นระบุว่าถ้าหากกลุ่มตอลีบันไม่เชื่อในเรื่องการที่สหรัฐฯ มีพันธกิจอย่างจริงจังในการทำให้อัฟกานิสถานมีประชาธิปไตยและมีเสถียรภาพ ก็อาจจะทำให้เกิดปัญหาในการเจรจาสันติภาพในอนาคตได้

หญิงทั้ง 3 ระบุว่า ในขณะที่พวกตอลีบันดูถูกผู้หญิงว่าเป็นแค่เบี้ยที่ชาติตะวันตกเอามาใช้ขับเคลื่อนเรื่องวาระสิทธิมนุษยชน แต่ตอลีบันก็คิดผิด เพราะกลุ่มติดอาวุธเหล่านี้และกลุ่มที่สนับสนุนพวกเขายังคงเป็นภัยคุกคามผู้หญิงอยู่อย่างจริงจัง ทำให้พวกเขามีแต่ต้องเดินหน้าสู้ต่อไปเพื่อการทำให้ผู้หญิงมีส่วนร่วมมากขึ้นจนนำไปสู่สันติภาพที่ยั่งยืนได้

“พวกเราไม่ได้โดดเดี่ยว ผู้หญิงจากทุกภาคชั้นของสังคม(อัฟกานิสถาน) ไม่ต้องการกลับไปสู่ยุคสมัยที่สิทธิขั้นพื้นฐานถูกมองว่าไร้ค่าอีกต่อไปแล้ว” หญิงสมาชิกทีมเจรจาอัฟกานิสถาน 3 คนกล่าวในบทความ

เรียบเรียงจาก

US intelligence report warns Afghan women’s rights at risk after troop withdrawal, CNN, 04-05-2021

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.