Football Sponsored
Categories: ฟีฟา

วัคซีนป้องกันโควิด : อาทร จันทวิมล – หนังสือพิมพ์แนวหน้า

Football Sponsored
Football Sponsored

วันอังคาร ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2564, 13.56 น.

การระบาดของโรคโควิด-19 ที่เกิดจากเชื้อไวรัสตัวเล็กจิ๋วจนมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น  ที่มีอานุภาพร้ายแรงจนทำให้คนทั่วโลกเสียชีวิตไปแล้วกว่า 3 ล้านคน  โดยไม่สามารถใช้ยาปฏิชีวนะ แอนตี้ไบโอติก ที่เคยใช้ฆ่าเชื้อสารพัดโรคได้ผลมาแล้ว  แต่อาจป้องกันการระบาดของโรคได้ด้วยอาวุธวิเศษที่ชื่อว่า “วัคซีน” ทำให้เป็นที่น่าสนใจว่าวัคซีนมีประวัติความเป็นมาอย่างไร และป้องกันโรคโควิดได้อย่างไร?

โรคโควิด-19 เกิดจากเชื้อไวรัสโคโรน่า SARS-CoV-2 ที่อยู่ในน้ำลาย น้ำมูกและสารคัดหลั่งของผู้ป่วย  ที่จะกระเด็นเป็นละอองฝอยผ่านการไอ จาม สัมผัส เข้าทางจมูก ปาก หรือตาของอีกคนหนึ่ง ผู้ติดเชื้อร้อยละ 80 จะไม่แสดงอาการ  ไม่มีไข้   แต่อาจมีตาแดงและมีผื่นขึ้นตามร่างกาย บางคนจะมีไข้สูง เจ็บคอ เจ็บหน้าอก ไอถี่มีเสมหะ  น้ำมูกไหล  ปวดเมื่อย  อ่อนเพลีย  จมูกปากไม่ได้กลิ่นไม่รับรส  หายใจเร็วตื้น หอบ เหนื่อยง่าย   มีการอักเสบของระบบทางเดินหายใจส่วนบน    เชื้อไวรัสจะเข้าไปแบ่งตัวเพิ่มจำนวนและเจริญเติบโตในทางเดินหายใจ เช่น ลำคอ เยื่อบุหลอดลมและปอดของผู้รับเชื้อ   ทำลายเซลล์ในหลอดลมและถุงลมในปอด ทำให้เกิดการติดเชื้อ ปอดอักเสบ  ปอดบวม  เซลล์ในถุงลมตายกลายเป็นพังผืด การหายใจล้มเหลว ผู้ป่วยราวร้อยละ 10 เสียชีวิตภายใน 2-3 สัปดาห์หลังการรับเชื้อ           

โดยปกติเมื่อเชื้อโรค ซึ่งคล้ายกับข้าศึกบุกเข้าสู่ร่างกาย ร่างกายจะมีวิธีต่อสู้หลายแบบ หนึ่งในนั้น คือ เม็ดเลือดขาวจะกลืนกินเชื้อโรคเข้าไปและทิ้งเศษซากเชื้อบางส่วนไว้เรียกว่า แอนติเจน (Antigent) ร่างกายจะรับรู้ว่าแอนติเจนคือสิ่งแปลกปลอมและจะสร้างภูมิคุ้มกันหรือแอนติบอดี (Antibody) คล้ายทหารมาจัดการกับสิ่งแปลกปลอมนั้น  และจะมีเม็ดเลือดขาวอีกชนิดหนึ่งที่คอยจดจำลักษณะหน้าตาของเชื้อโรคและวิธีต่อสู้ไว้   หากในอนาคตร่างกายได้รับเชื้อโรคทำนองเดียวกันอีกจะสามารถจดจำลักษณะและวิธีจัดการต่อสู้   แต่ถ้าสู้ไม่ได้ร่างกายก็จะป่วยมีไข้จนอาจเสียชีวิต    

วัคซีน (Vaccine) คือ สารชนิดหนึ่งที่มนุษย์ผลิตขึ้นสำหรับป้องกันโรคติดเชื้อแต่ละชนิด  ที่เมื่อฉีดหรือกินเข้าไปในร่างกาย  จะกระตุ้นให้ร่างกายสร้างหรือเสริมภูมิคุ้มกัน (antibody) ต่อเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรค  เพื่อต่อสู้ป้องกันการติดเชื้อโรคชนิดนั้นในอนาคตทำให้เชื้อไวรัสที่เข้าสู่ร่างกายอ่อนฤทธิ์  ลดความรุนแรง ลดพิษ  หยุดการแบ่งตัวหรือตายไป    วัคซีนไม่ใช่ยาปฏิชีวนะสำหรับฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เช่น ยาใส่แผล หรือยาแก้การอักเสบ และวัคซีนไม่ใช่ยาฆ่าเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคโควิด 

กว่า 3,000 ปีมาแล้ว ฟาโรห์ รามเสส  ของอียิปต์  ได้สวรรคตด้วยโรคไข้ทรพิษหรือฝีดาษ   ช่วงพ.ศ. 1256-1284 (ค.ศ. 713 – 741) สมัยราชวงศ์ถัง  ซึ่งตรงกับยุคทวารวดีก่อนตั้งกรุงสุโขทัย  ได้เกิดไข้ทรพิษระบาดที่เมืองจีน  ผู้ป่วยจะมีไข้สูง มีผื่นขึ้นตามตัว และอาจเสียชีวิด หมอจีนได้นำสะเก็ดแผลของผู้ป่วยไข้ทรพิษมาเผาไฟทำให้ชุ่ม  แล้วพ่นเข้าไปในเยื่อบุจมูกของเด็กที่ไม่ป่วย  สามารถป้องกันการติดไข้ทรพิษได้ 

ต่อมาในสมัยราชวงศ์ซ่ง พ.ศ. 1566 – 1606 มีบันทึกของแพทย์หลวง จูซุนเซี่ย (Zhu Chunxia) ว่า หมอเทวดาแถบภูเขาเอ่อร์เหมย ได้ใช้วิธีปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ  หลังจากที่มีผู้ป่วยเสียชีวิตไปเป็นจำนวนมาก   วิธีปลูกฝีของจีนได้นำไปใช้ในญี่ปุ่น  เมื่อ พ.ศ.2195 (ค.ศ.1652) และรัสเซีย เมื่อ พ.ศ.2232 (ค.ศ.1688)

พ.ศ.2339    (ค.ศ.1796)  นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษชื่อ เอดเวิร์ด เจนเนอร์ (Edward Jenner)  ได้สังเกตว่า  คนเลี้ยงวัวที่เป็นฝีดาษที่ติดจากวัว (cowpox) แล้วจะไม่เป็นซ้ำอีก  เขาจึงนำสะเก็ดแผลฝีดาษวัวมาเขี่ยใส่แผลของเด็กชายคนหนึ่ง  แล้วสามารถป้องกันเด็กชายคนนั้นจากไข้ทรพิษได้ วัคซีนในระยะเริ่มแรกนั้นใช้เชื้อโรคที่ตายหรือทำให้เชื้ออ่อนฤทธิ์เสียก่อน    วิธีการดังกล่าวได้พัฒนาต่อมาในการปลูกฝี (inoculation) ป้องกันไข้ทรพิษที่ได้ผลจนทำให้ไม่พบผู้ป่วยไข้ทรพิษทั่วโลกในปัจจุบัน   แต่ยังมีการเก็บเชื้อไข้ทรพิษรุ่นก่อนไว้ที่ศูนย์ป้องกันควบคุมโรคในสหรัฐอเมริกาและรัสเซียเผื่อเอาไว้ใช้ทำสงครามเชื้อโรคในอนาคต

ในสมัยรัชกาลที่ 3 มีการระบาดของไข้ทรพิษหรือฝีดาษอย่างหนัก ทำให้ หมอบรัดเลย์ ชาวอเมริกันเริ่มการปลูกฝีบำบัดโรคฝีดาษเป็นครั้งแรกในไทยในวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ.2379 โดยใช้เชื้อหนองฝีที่นำเข้ามาจากอเมริกา และได้เขียนตำราชื่อ “ตำราปลูกฝีให้กันโรคธระพิศม์ไม่ให้ขึ้นได้”

ในปัจจุบัน มีการพัฒนาวัคซีนป้องกันโควิดในประเทศต่างๆ กว่า 300 แบบ  โดยบริษัท  แอสตร้า เซนเนก้า-ออกซฟอร์ด(อังกฤษ-สวีเดน) ไฟเซอร์ (สหรัฐอเมริกา)  สปุตนิค(รัสเซีย) ซิโนฟาม ซิโนแวค (จีน) จอห์นสัน (สหรัฐอเมริกา)โมเดิร์นน่า (สหรัฐอเมริกา)  และ ใบยาโฟโต้ฟาร์ม (ไทย)

วัคซีนมีส่วนผสมหลายอย่าง คือ แอนติเจน (Antigent) สารกันเสีย (Preservatives) สารคงสภาพ (Stabilizers) สารลดแรงตึงผิว (Surfactants) สารตกค้าง (Residuals) สารเจือจาง (Diluents) และ สารเสริม (Adjuvants)  โดยส่วนใหญ่ไม่มีผลิตภัณฑ์จากสัตว์อยู่เลย

1.แอนติเจน Antigent  คือ ส่วนของไวรัสที่นำมาใช้สร้างวัคซีน   โดยอาจจะเป็นตัวเชื้อไวรัสทั้งตัวที่ถูกทำให้อ่อนแรงหรือทำให้หมดฤทธิ์แล้ว หรือชิ้นส่วนบางส่วนของไวรัส เช่น โปรตีน น้ำตาล  หรือ RNA ที่ยังมีความสามารถในการกระตุ้นร่างกายให้สร้างภูมิกัน (Immunity)  ฝึกร่างกายให้เรียนรู้ถึงวิธีต่อสู้กับศัตรูโดยไม่เจ็บป่วย   โดยสร้างทหารที่มีชื่อเรียกว่า  แอนตี้บอดี้ (Antibody) หรือ ทีเซลล์ (T Cell) ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะจดจำลักษณะของแอนติเจนหรือศัตรูที่เคยเข้ามาแต่กาลก่อน  แล้วเตรียมการสู้ไว้หากเข้ามาอีกในคราวหน้าแต่ถ้าร่างกายสร้างทหารไม่ทัน หรือทหารสู้ข้าศึกไม่ได้ ร่างกายก็จะเจ็บป่วยหรือเสียชีวิต   

วัคซีนบางตัวอาจประกอบด้วย สารพันธุกรรม (genetic material) ของเชื้อโรคที่เป็นดีเอ็นเอ (DNA) หรืออาร์เอ็นเอ (RNA) แล้วแต่ชนิดของเชื้อโรคนั้น หรืออาจใช้ไวรัสชนิดอื่นที่ไม่เป็นอันตรายเป็นตัวนำชิ้นส่วนของไวรัสเป้าหมายเข้าไปในร่างกายก็ได้

2.สารกันเสียกันบูด(Preservatives)  ใช้ป้องกันไม่ให้วัคซีนปนเปื้อนเมื่อเปิดขวดใช้แล้วและป้องกันไม่ให้ขึ้นรา  วัคซีนบางชนิดไม่มีสารนี้เพราะบรรจุในหลอดฉีดยาที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง สารกันเสียที่นิยมใช้คือ 2- ฟีนอกซีเอทานอล (2-phenoxethanol) ฟีนอล (Phenol) และ Thimerosal

3.สารคงสภาพ (Stabilizer)    ทำให้วัคซีนคงตัว ป้องกันไม่ให้ส่วนประกอบเกิดปฏิกิริยาเคมี หรือแยกตัวออกจากกัน ไม่ให้ติดกับขวด หรือหลอดฉีดยา  และไม่ให้เสื่อมสภาพ ระหว่างการขนส่ง  โดยอาจใช้น้ำตาลแลคโตส (Lactose)  ซูโครส(Sucrose) ซอร์บิตอล (Sorbitol))  หรือ  กรดอะมิโน เช่น  ไกลซีน (Glycine) โมโนโซเดียมกลูตาเมท (MonoSodium Glutamate) กรดซิตริก  (Citric Acid) นอกจากนี้ยังมี เจลาติน (Gelatin) และโปรตีน เช่น อัลบูมิน (Albumin)

4.สารลดแรงตึงผิว (Surfactant) ทำให้ส่วนผสมทั้งหมดในวัคซีนผสมเข้าด้วยกันได้ดีในรูปของเหลว ป้องกันการตกตะกอนและจับตัวเป็นก้อน เช่น ซอรบิตอล (Sorbital) หรือกรดโอเลอิก (Oleic acid)

5.สารตกค้าง (Residuals)  คือ สารต่างๆจำนวนเล็กน้อยที่ใช้ในระหว่างการผลิตที่ไม่ใช่สารออกฤทธิ์ในวัคซีน  สารตกค้างนี้จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับกระบวนการผลิตที่ใช้ เช่น โปรตีนจากไข่ ยีสต์  ฟอร์มาลดีไฮด์ หรือสารปฏิชีวนะ

6.สารเจือจาง (Diluent)   คือ ของเหลวที่ใช้ทำละลายและเจือจางวัคซีนให้มีความเข้มข้นที่พอเหมาะ สารเจือจางที่ใช้กันมากที่สุดคือน้ำที่ปราศจากเชื้อ

7. สารเสริมแอดจูแวนต์(Adjuvant) ช่วยกระตุ้น ให้เกิดภูมิคุ้มกันในร่างกายมากยิ่งขึ้น ซึ่งมีประโยชน์สำหรับผู้สูงอายุซึ่งตอบสนองวัคซีนไม่ดีนัก  ช่วยให้วัคซีนอยู่ในบริเวณที่ฉีดนานขึ้นเล็กน้อยเพื่อกระตุ้นเซลล์ภูมิคุ้มกันสารเสริมอาจเป็นเกลืออลูมิเนียม (เช่นอลูมิเนียมฟอสเฟตอลูมิเนียมไฮดรอกไซด์)

วัคซีนป้องกันโควิดมีหลายชนิด  มีวิธีผลิตแตกต่างกัน  

1.วัคซีนเชื้อตาย ( inactivated vaccine) เช่น ซิโนแวค (Sinovac) โคโรน่าแวค (CoronaVac) และซิโนฟาม (Sinopham) ของจีน  โคแวกซิน (Covacxin) ของอินเดีย เหมาะสำหรับผู้มีอายุ 18 ถึง 59 ปี  ใช้เทคโนโลยีโบราณดั้งเดิมกว่าร้อยปีมาแล้ว ในการผลิตวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ พิษสุนัขบ้า โปลิโอ และโรคอื่นๆผลิตขึ้นโดยเลี้ยงเชื้อไวรัสให้มีปริมาณมาก ทำให้ตายด้วยสารเคมี แสงยูวี และความร้อน แล้วนำมาฉีดเข้าร่างกาย เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทานโควิดขึ้นมาโดยไวรัสเชื้อตายที่คล้ายกับซากศพของข้าศึกจะถูกกลืนเข้าไปในเซลล์  แล้วระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายจะสร้างเซลล์ภูมิคุ้มกันขึ้นมาต่อสู้กับร่างของเชื้อตายในวัคซีนโดยหลั่งแอนติบอดี้ที่ทำหน้าที่คล้ายทหาร คอยขัดขวางป้องกันไม่ให้ไวรัสเข้าสู่เซลล์ร่างกาย   

นอกจากนี้  ระบบภูมิคุ้มกันของคนเรายังมีเซลล์หน่วยความจำ ซึ่งจะจดจำเก็บข้อมูลและวิธีต่อสู้กับไวรัสข้าศึกที่เคยเข้ามารบกวน ไว้ได้เป็นเวลาหลายปี ทำให้คนที่เคยเป็นโรคแล้วอาจไม่เป็นซ้ำอีกนอกจากเชื้อไวรัสจะกลายพันธุ์เปลี่ยนรูปแปลงร่างไปจนร่างกายจำไม่ได้

ปัญหาของวัคซีนชนิดเชื้อตายนี้คือ ถ้าจะผลิตจำนวนมาก จะทำได้ช้า ต้นทุนสูง และต้องใช้ระดับความปลอดภัยสูงในการเพาะเลี้ยงเชื้อเพิ่มจำนวน ใช้เงินลงทุนสูงในการสร้างห้องปฏิบัติการ ไม่ให้เชื้อไวรัสที่เพาะเลี้ยงหลุดรอดออกไปนอกโรงงาน แล้วทำอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต

ตัวอย่างวัคซีนในกลุ่มนี้ ได้แก่ วัคซีนตับอักเสบ วัคซีนอหิวาตกโรคชนิดฉีด วัคซีนพิษสุนัขบ้า วัคซีนไข้สมองอักเสบเจอีชนิดเชื้อตาย วัคซีนโปลิโอชนิดฉีด วัคซีนไข้หวัดใหญ่ วัคซีนไทฟอยด์ชนิดฉีด

กระบวนการผลิตวัคซีนโควิดแบบเชื้อตาย  มี 6 ขั้นตอน คือ  เพาะขยายพันธุ์ (cultivation) ทำให้หมดฤทธิ์(inactivation)ทำให้บริสุทธิ์(purification) ผสมตามสูตร(formulation) บรรจุขวด(filling)และ บรรจุหีบห่อ (packaging)  วัคซีนโควิด-19 ชนิดเชื้อตายใช้เวลาผลิตนานราว48 วัน ตั้งแต่การเพาะเลี้ยงเซลล์จนถึงการนำใส่หีบห่อ

1.การเพาะขยายเพิ่มจำนวนเชื้อไวรัส (Cultivation) โดยนำเชื้อไวรัสโควิดที่ได้มาจากผู้ป่วยมาคัดเลือกจนได้สายพันธุ์ที่เหมาะสม (เช่น ซีแซด CZ  หรือ CN2 ) ฉีดลงในภาชนะอับอากาศที่เรียกว่าถังปฏิกรณ์ชีวภาพสุญญากาศ (Airtight Bioreactor)  ซึ่งภายในมีสารเพาะเลี้ยงเรียกว่า วีโร่เซลล์ (Vero cell) ที่สกัดมาจากเซลล์ไตของลิงเขียวแอฟริกัน (African Green Monkey Kidney cells) เชื้อไวรัสโคโรน่าที่อยู่ภายในวีโร่เซลล์ดังกล่าวจะเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็ว 

2.การทำให้เชื้อโควิดตายหมดฤทธิ์  (inactivation) เชื้อไวรัสโควิดที่ขยายพันธ์แล้วจำนวนมาก จะถูกส่งผ่านท่ออับอากาศไปยังถังปฏิกรณ์ชีวภาพ (Bioreactor) อีกถังหนึ่ง เข้าสู่กระบวนการยับยั้งการทำงานของไวรัส โดยแช่ในสาร เบตา-โพรพิโอแลกโตน (Beta-propiolactone BPLProtein-alkylating Compound) ซึ่งเป็นสารอันตรายเคยใช้ในการผลิตวัคซีนโปลิโอ และเอดส์มาแล้ว  ทำมาจากฟอร์มาลดีไฮด์(Formaldehyde) และ คีทีน (Condensation Ketene)โดยใช้ aluminum  หรือ Zinc Chloride เป็นตัวเร่งปฏิกริยา (Catalytic interaction) ผลิตจากประเทศเยอรมัน จีน สหรัฐ อังกฤษ)  ส่งผลให้เชื้อไวรัสโควิดสูญเสียความสามารถก่อโรค และไม่สามารถเพิ่มจำนวน กลายสภาพเป็นไวรัสชนิดเชื้อตาย  แต่โครงสร้างต่างๆยังอยู่ครบ

3.การทำให้บริสุทธิ์  (Purification)  ไวรัสเชื้อตายจะถูกนำไปล้างกำจัดสารที่ไม่ต้องการออก  โดยวิธี  Depth Filtration และ Two Optimized Steps of Chromatography ด้วยความร้อน 100 องศาเซลเซียส กับแสง UV radiationทำให้ได้สารละลายวัคซีน (stock solution)

4.การผสมตามสูตรการผลิต (Formulation) สารละลายวัคซีนจะถูกนำไปผสมกับสารเสริมฤทธิ์ (Adjuvant) พวกสารประกอบของอลูมิเนียม (เช่น อลูมิเนียมไฮดรอกไซด์ อลูมิเนียม ฟอสเฟต) ที่จะสามารถกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้เพิ่มการสนองตอบต่อวัคซีนโดยเติมสารเจือจางในสัดส่วนที่เหมาะสม  ส่วนผสมที่ได้มีชื่อว่าผลิตภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูป (Semi-finish Product) ซึ่งจะถูกเก็บไว้ในห้องเย็นเพื่อตรวจสอบคุณภาพ

5.การบรรจุวัคซีนลงขวด (Filling) ผลิตภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูปที่ผ่านการตรวจสอบจะถูกบรรจุลงขวดแก้วบอโรซิลิเกต (Borosilicate Glass) ขนาดเล็กมียางปิดฝา (Rubber Stopper) หรือกระบอกฉีดยาสำเร็จรูป  ที่ทนความเย็นจัดได้

6.การบรรจุหีบห่อ (Packaging) ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการรับรองจะถูกติดป้ายชื่อและหมายเลขก่อนบรรจุลงกล่องพร้อมคู่มือผู้ใช้งานโดยวัคซีนต้องถูกจัดเก็บที่อุณหภูมิระหว่าง 2-8 องศาเซลเซียสโดยใช้ห้องเย็น หรือน้ำแข็งแห้ง แล้วจัดส่งไปทั่วโลก

2.วัคซีนเชื้อเป็น แต่อ่อนฤทธิ์ (live attenuated Virus Vaccine) หมายถึงวัคซีนที่ผลิตขึ้นโดยใช้เชื้อโรคมาทำให้อ่อนฤทธิ์ลง(Weaken Virus) ด้วยสารเคมี จนไม่สามารถทำให้เกิดโรคได้ แต่เพียงพอที่จะกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกายได้  นำมาฉีดเข้าไนร่างกายเพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกัน   วัคซีนในกลุ่มนี้ ได้แก่ วัคซีนโปลิโอชนิดกิน วัคซีนรวมหัด-หัดเยอรมัน-คางทูม วัคซีนอีสุกอีใส วัคซีนวัณโรค วัคซีนไทฟอยด์ชนิดรับประทาน วัคซีนไข้หวัดใหญ่ชนิดพ่นจมูก  วัคซีนโควิดชนิดนี้ยังห่างไกลกับความเป็นไปได้ในปัจจุบัน เพราะยังหาวิธีการที่เหมาะสมไม่พบ  และไม่เหมาะกับผู้ที่มีภูมิคุ้มกันไม่ดีนัก

3.วัคซีนประเภท mRNA (messenger Ribonucleic acid) ใช้กรดนิวคลีอิก (Nucleic-acid vaccine) วัคซีนอารเอ็นเอเป็นเทคโนโลยีใหม่ในการผลิตวัคซีนที่ยังไม่เคยใช้ในคนและแตกต่างกว่าวิธีที่เคยใช้กันมาก่อน โดยกำลังทดลองใช้รักษาผู้ป่วยมะเร็งบางชนิดและวัคซีนพิษสุนัขบ้า วัคซีน mRNA นี้สามารถ ผลิตจำนวนมากได้ง่ายและรวดเร็ว  และถูกนำมาฉีดให้คนทั่วโลกไปแล้วมากที่สุด  เช่น BNT162b2 ของไฟเซอร์/ไบออนเทค (Pfizer-Biontech) จากสหรัฐ/เยอรมนี และ  mRNA1273 ของโมเดิร์นน่า ( Moderna) จากสหรัฐอเมริกาวัคซีนของไฟเซอร์ต้องแช่แข็งเก็บในตู้เย็นพิเศษ-80 องศาเซลเซียส  จุดอ่อนของ RNA คือสลายตัวง่าย ต้องเก็บในอุณหภูมิต่ำมาก

วิธีทำงานของวัคซีนชนิดนี้ คือ การใช้ชิ้นส่วนสารพันธุกรรมของเชื้อโรคที่ถือคำสั่งควบคุมการสร้างโปรตีนบางอย่าง ที่เรียกว่า  เอ็มอาร์เอ็นเอ (mRNA messenger Robonucleic Acid) มาห่อหุ้มด้วยตัวนำ แล้วฉีดเข้าไปในร่างกาย เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันไวรัสโคโรนา ประหนึ่งว่ามีเชื้อจริงกระตุ้นเซลล์ในร่างกายให้สร้างโปรตีนภูมิคุ้มกันขึ้นมาเองโดยตรงไม่ต้องอาศัยพาหะ เมื่อฉีดสาร mRNA สังเคราะห์เข้าไปในเนื้อเยื่อแล้ว ร่างกายจะสร้างโปรตีนขึ้นมาทำลาย mRNA หรือข้าศึกปลอมที่ฉีดเข้าไป โดยจะจดจำและสร้างระบบภูมิคุ้มกันขึ้นมาต่อสู้กับเชื้อโรคที่เข้าไปภายหลัง

4.วัคซีนประเภทใช้เชื้อไวรัสอื่นเป็นตัวกลางหรือ ไวรัลเวคเตอร์ (Adenovirus Viral Vector) คือ วัคซีนที่ใช้เชื้อไวรัสอื่นที่ทำให้ปลอดภัย โดยทำให้เชื้ออ่อนลง ไม่ก่อให้เกิดโรคเป็นพาหะ นำมาตัดต่อใส่รหัสพันธุกรรม กระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน โดยฝากสารพันธุกรรมRNAของเชื้อโควิดที่ตัดต่อเอาเฉพาะส่วนที่จะถอดรหัสเป็นหนาม (Spike) เข้าไปในสารพันธุกรรมของไวรัสชนิดอื่น เช่น อะดีโนไวรัสของลิงชิมแปนซี (Modified chimpanzee adenovirus vector vaccine)  หรือไวรัสโรคหัด ที่อยู่ในสภาพไม่ก่อให้เกิดโรค เป็นพาหะในการนำสารพันธุกรรมเข้าสู่ร่างกายร่างกายจะจดจำหน้าตาของไวรัสไว้ แล้วสร้างภูมิคุ้มกันไม่ให้ไวรัสที่หน้าตาเหมือนกันเข้ามาอีกในภายหลังเช่น วัคซีน AZD-1222 ของ ออกซฟอร์ด-แอสตร้าเซนเนก้า(Oxford-Astrazeneca) ของอังกฤษ – สวีเดน  จอห์นสัน (Johnson&Johnson) ของสหรัฐอเมริกา สปุตนิค (SputnikV) ของรัสเซียแคนซิโน (CanSino) ของจีน  ซึ่งขณะนี้บางชนิดมีการห้ามใช้ในสวีเดนและหลายประเทศ เพราะมีปัญหาลิ่มเลือดอุดตัน  ข้อดีของวัคซีนชนิดนี้คือสามารถเก็บในตู้เย็นธรรมดา อุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเซียส  และผลิตจำนวนมากได้ในราคาไม่แพงนัก 

5.วัคซินชนิดกินทางปาก  มีการค้นคว้าวิจัยในการที่จะฝากส่วนหนึ่งของไวรัสเข้าไปในสิ่งมีชีวิตอีกอย่างหนึ่ง เช่น ยีสต์ ยาสูบ มะเขือเทศ หรือกล้วยหอม แล้วมีส่วยกระตุ้นให้เยื่อบุทางเดินหายใจและอาหารเกิดภูมิคุ้มกันไม่ให้ไวรัสเข้าไปติดเชื้อในร่างกายได้

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.