Football Sponsored

“สิงห์เจ้าท่า” จับมือเป็นพันธมิตรลูกหนังกับ เลบันเต้ จากสเปน

Football Sponsored
Football Sponsored

“มาดามแป้ง” นวลพรรณ ล่ำซำ ประธานสโมสรการท่าเรือ เอฟซี เซ็นสัญญาเป็นพันธมิตรกับสโมสร เลบันเต้ อูเด ทีมในศึกเซกุนด้า สเปน โดยเตรียมร่วมมือกันทุกด้าน รวมทั้งการยกพลไปซ้อมที่สเปน และเปิดโอกาสส่งนักเตะไปค้าแข้งด้วย

เดินหน้าพัฒนาทีมอย่างต่อเนื่องสำหรับทีม “สิงห์เจ้าท่า”​ การท่าเรือ เอฟซี สโมสรฟุตบอลเก่าแก่ของเมืองไทย ล่าสุด “มาดามแป้ง”​ นวลพรรณ ล่ำซำ ประธานสโมสร ได้เซ็นสัญญาลงนามเป็นพันธมิตรกับสโมสร เลบันเต้ อูเด ทีมในฟุตบอลเซกุนด้า สเปน โดยทา ดาเนียล ปาสตอร์ ประธานฝ่ายเทคนิค และผู้อำนวยการสโมสร เลบันเต้ อูเด ได้เดินทางมาลงนามเซ็นสัญญาด้วยตนเอง

“มาดามแป้ง” นวลพรรณ ล่ำซำ ประธานสโมสรการท่าเรือ เอฟซี กล่าวว่า ถือเป็นเกียรติที่เราได้ร่วมมือเป็นพันธมิตรกับทีมจากยุโรปโดยเฉพาะทีมจากสเปน ซึ่งถือเป็นครั้งแรกของสโมสรเรา สเปนเป็นประเทศที่โดดเด่นในเรื่องฟุตบอลอีกแห่งหนึ่งของโลก ซึ่งการเซ็นสัญญาครั้งนี้ นับเป็นก้าวสำคัญของสโมสรในการพัฒนาทีมให้แข็งแกร่งมากขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นการเปิดโอกาสให้การท่าเรือได้ส่งผู้เล่นไปฝึกฟุตบอลที่ประเทศสเปน ตลอดจนโอกาสในการไปค้าแข้งในยุโรปมากขึ้นอีกด้วย

ด้าน ดาเนียล ปาสตอร์ ประธานฝ่ายเทคนิค และผู้อำนวยการสโมสร เลบันเต้ อูเด กล่าวว่า นี่เป็นครั้งแรกของสโมสรเราที่ได้เป็นพันธมิตรกับสโมสรในอาเซียน ทำให้มองเห็นโอกาสดีหลายอย่างที่จะพัฒนาร่วมกัน ทั้งในส่วนของทีมชุดใหญ่ โดยเรายินดีเปิดโอกาสให้นักเตะจากการท่าเรือ เอฟซี ไปฝึกซ้อมที่สเปน รวมทั้ง เยาวชนในอคาเดมี่ โค้ช และร่วมกันพัฒนาระบบจัดการต่างๆ ทั้งในและนอกสนามด้วย

ทั้งนี้ เลบันเต้ อูเด เป็นสโมสรฟุตบอลในประเทศสเปน ตั้งอยู่ในเมืองบาเลนเซีย ปัจจุบันรั้งอันดับ 3 ของตารางฟุตบอลเซกุนด้า สเปน

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.