ไม่โทษตัวเอง!อดีตโค้ชเผยความจริงเหตุแมนยูขาย “ยานาไซ”
วอร์เรน จอยซ์ โค้ชสโมสรซัลฟอร์ด ซึ่งเคยทำงานให้กับ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด อดรนทนไม่ไหวที่เห็น อัดนาน ยานาไซ โทษโน้นโทษนี่ที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เขาต้องกระเด็นออกจาก “โรงละครแห่งความฝัน” ชี้นักเตะไม่ได้ขยันเหมือนสมัยที่เป็นดาวรุ่งจนได้ขึ้นมาสู่ชุดใหญ่ ระบุน่าเสียดายพรสวรรค์ที่อุตสาห์มีอยู่ในตัวแต่ดันหยุดความมุ่งมั่น จนสุดท้ายก็หมดอนาคตกับ “ผีแดง”
วอร์เรน จอยซ์ อดีตโค้ชแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด เปิดเผยความจริงถึงเหตุผลที่ อัดนาน ยานาไซ ปีกชาวเบลเยียม ต้องโดนขายทิ้ง หลังช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมามีประเด็นดราม่าที่เจ้าตัวออกมาตัดพ้อเรื่องที่ไม่ค่อยได้รับโอกาสลงสนามมากนักตอนอยู่กับทัพ “ปีศาจแดง”
ยานาไซ เปิดปากก่อนเกมที่ เรอัล โซเซียดาด พบ แมนฯ ยูไนเต็ด ในศึกยูฟ่า ยูโรปา ลีก รอบ 32 ทีมสุดท้าย นัดแรก เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา เกี่ยวกับชีวิตพ่อค้าแข้งของเขาต้องดับวูบในถิ่นโอลด์ แทร็ฟฟอร์ด เพราะ หลุยส์ ฟาน กัล กับ โชเซ่ มูรินโญ่ ที่ไม่เคยเชื่อใจตน จนสุดท้ายต้องอำลาสโมสรเพื่อไปหาโอกาสลงสนามกับทีมอื่น
อย่างไรก็ตาม จอยซ์ ซึ่งเคยมีโอกาสได้ทำหน้าทีมโค้ชทีมสำรอง “เร้ด เดวิลส์” สมัยที่ ยานาไซ ยังอยู่กับ แมนฯ ยูไนเต็ด เผยถึงเหตุผลสำคัญที่สโมสรจำเป็นต้องขายนักเตะออกไปว่า “มันเป็นเรื่องที่น่าผิดหวังจริงๆ ที่เห็นนักเตะอย่าง ยานาไซ ก้าวขึ้นไปอยู่ในระดับนั้นแล้ว และดันหยุดทำในสิ่งที่เขาเคยทำจนก้าวไปอยู่ในระดับนั้น”
“อ้างว่าไม่ได้ลงเล่นบ่อยนัก, ไม่ค่อยซ้อมหนักอย่างที่เคยทำ, เอาแต่นั่งแช่ในอ่างจากุซซี่ รวมทั้งไม่ยอมปฏบัติตามตารางการฟิตร่างกายอย่างที่พวกเขาเคยทำจนก้าวมาถึงจุดนั้น สำหรับผมแล้วนี่เป็นเรื่องที่น่าผิดหวังจริงๆ เพราะสิ่งเหล่านี้มันสามารถหลีกเลี่ยงได้” จอยซ์ ซึ่งปัจจุบันเป็นโค้ชให้กับสโมสรซัลฟอร์ด ระบุ
อีกหนึ่งช่องทางในการติดตามข่าวสาร
Add friend ที่ @Siamsport
ฟุตบอลฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง
This website uses cookies.