Football Sponsored
Categories: ฟุตบอล

“บิ๊กฮั่น” แฉ “ส.บอลไทย” ใช้งบเอื้อบุคคลบางกลุ่ม ลดเงินสนับสนุนทีมทั้งที่รายได้เพิ่มทุกปี

Football Sponsored
Football Sponsored

“บิ๊กฮั่น” แฉ “ส.บอลไทย” ใช้งบเอื้อบุคคลบางกลุ่ม ลดเงินสนับสนุนทีมทั้งที่รายได้เพิ่มทุกปี

เผยแพร่:   ปรับปรุง: โดย: ผู้จัดการออนไลน์


“บิ๊กฮั่น” มิตติ ติยะไพรัช ประธานที่ปรึกษาสโมสร “กว่างโซ้งมหาภัย” ลีโอ เชียงราย ยูไนเต็ด ออกโรงแฉสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ภายใต้การบริหารงานของ “บิ๊กอ๊อด” พล.ต.อ.ดร.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง โดยเผยว่าที่ผ่านมา ทีมชาติไทย รุ่นอายุไม่เกิน 17 ปี ใช้งบทำทีมมากถึง 102 ล้านบาท แต่สโมสรในลีกอาชีพของไทยถูกตัดงบทุกปี และปัจจุบันทีมก็ยังได้เงินสนับสนุนไม่ครบตามที่ตกลงกันไว้

มิตติ ติยะไพรัช ออกมาโพสต์ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว Miti Tiyapairat สับเละใส่สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ โดยวิจารณ์ถึงการใช้งบประมาณต่างๆ ของสมาคมฯ ที่ดูจะเอื้อประโยชน์ให้แก่บุคคลบางกลุ่ม และสโมสรฟุตบอลอาชีพถูกตัดงบเงินสนับสนุนลงไปทุกปี

“หลังจากที่ผมได้โพสท์เรื่อง ‘การทวงเงินสนับสนุน’จากที่ต้องได้รับ 20 ล้าน ไล่ลดลงมาเป็น 10 ล้าน ปัจจุบันได้จ่ายมาแค่ 5.75 ล้าน ผมจึงได้มีโอกาสเข้าไปศึกษางบการเงินของทางสมาคมฟุตบอล ซึ่งรายได้นั้นเพิ่มขึ้นทุกปีนับตั้งแต่ปี 2564 จาก 675ล้านบาท เป็น 797 ล้านบาท ในปี 2565 โดยคาดการณ์ว่าจะมีรายรับเพิ่มเป็น 974ล้านบาท ในปี 2566 ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ายินดีสำหรับสมาคมกีฬาอันดับ 1 ของประเทศ” บิ๊กฮั่น เริ่มกล่าว

“แต่ตลกร้ายคือค่าใช้จ่ายสนับสนุนพัฒนาการกีฬา หรือพูดง่ายๆ ก็คือเงินสนับสนุนที่จะเอามาให้กับสโมสร กลับลดลงทุกปีเช่นกัน จาก 370 ล้านบาท ในปี 2564 เป็น 246ล้านบาทในปี 2565 และคาดการณ์ว่าจะลดลงอีก เป็น 234ล้านบาท ในปี 2566”

“ยังไม่พอค่าบริหารสิทธิประโยชน์ที่คาดการณ์ว่าจะใช้จ่ายในปี 2566 นั้น จะถูกนำไปจ่ายให้แพลนบีอีก 77ล้านบาท ที่ผมไม่เข้าใจและค่อนข้างจะแปลกใจพอสมควรคือเรากำลังจะเอาเงินของสมาคมไปใช้กับทีมชาติชุด 17 ปีถึง 102 ล้านบาท ทั้งๆที่ทีมชุดใหญ่ชายนั้น จะใช้แค่ไม่ถึงครึ่งของทีมชาติชุด 17 ปี คือ 48ล้านบาท”

“ซึ่งตอนแถลงข่าวเปิดตัวแนวทางและวิธีการทำงานของทีมชุด 17 ปีนั้น ไม่ได้เอ่ยถึงที่มาของรายได้และค่าใช้จ่าย
ในขณะที่สโมสรกำลังวิ่งหารายได้กันแบบไม่คิดชีวิต นักกีฬาต้องยอมลดเงินเดือนและสวัสดิการต่างๆ ไม่อย่างนั้นไม่มีงานทำ”

“หลายคนถามว่าเงินเดือนของคนในสมาคมลดลงบ้างมั้ย อันนี้ผมก็หาไม่ได้ เพราะไม่ได้มีเขียนเป็นรายละเอียดในรายงาน จนปัญญา”

“พี่ๆ น้องๆ ครับ มีคนไม่กี่กลุ่มที่กำลังสนุกและรับเงินสบายๆ ง่ายๆ กับการบริหารงานของสมาคมชุดนี้ ช่องว่างระหว่างทีมเล็กๆ กับทีมใหญ่กำลังมากขึ้นๆ ในทุกปี พวกเราสโมสรสมาชิกครับ เราจะทนกับวิธีการแบบนี้ต่อไปจริงๆ เหรอครับ รักฟุตบอลไทย รักประเทศไทย” มิตติ ติยะไพรัช ทิ้งท้าย

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.