Football Sponsored
Categories: ฟุตบอล

สุดปลื้มยกย่องเชิดชูเกียรติ 32 ตำนานนักกีฬาซีเกมส์ไทย​

Football Sponsored
Football Sponsored


มูลนิธิซีเกมส์ มอบรางวัลในงานเชิดชูเกียรติตำนานนักกีฬาซีเกมส์ไทย​ ให้กับ 32 นักกีฬาระดับตำนาน จาก 19 ชนิดกีฬา ไม่ว่าจะเป็น นาวาอากาศเอก ปิยะพงษ์ ผิวอ่อน นักฟุตบอลคนดัง พร้อมด้วย 2 นักตบระดับตำนาน ปริม อินทวงศ์ และนุศรา ต้อมคำ ยังมี “วิว” เยาวภา บุรพลชัย นักเทควันโด ร่วมด้วย “เงือกอาย” ศรสวรรค์ ภู่วิจิตร และ “ฉลามณุก” รัฐพงศ์ ศิริสานนท์, ธีรัช โพธิ์พานิช ราชายิมนาสติก, พันโท สมจิตร จงจอหอ นักมวยคนดัง

มูลนิธิซีเกมส์ จัดงานเชิดชูเกียรติตำนานนักกีฬาซีเกมส์ไทย​ ที่ บริเวณลานโปรโมชั่น ชั้น 1 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลแจ้งวัฒนะโดยมีพิธีมอบรางวัล “ตำนานนักกีฬาซีเกมส์ไทย” เมื่อ วันจันทร์ที่ 22 พฤษภาคม เป็นวันสุดท้ายของการจัดงาน โดยมี พลเอกเชษฐา ฐานะจาโร ประธานมูลนิธิซีเกมส์ เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วย ดร.ศักดิ์ชาย ทัพสุวรรณ รองประธานมูลนิธิ ในฐานะประธานการคัดเลือกนักกีฬาตำนานซีเกมส์, นายวิวัฒน์  วิกรานตโนรส เลขานุการมูลนิธิซีเกมส์, นายณัฐวุฒิ เรืองเวส กรรมการมูลนิธิซีเกมส์, นายศุกรีย์ สุภาวรีกุล ประธานคณะทำงานและนายกสมาคมกีฬาเพาะกายและฟิตเนสแห่งประเทศไทย, นายสงวน โฆษะวินทะ นายกสมาคมกีฬายิงธนูแห่งประเทศไทย ผู้แทนพลเอกวิชญ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา,นายวุฒิชัย ชัยจิตย์ ผู้อำนวยการกองแข่งขันกีฬาเป็นเลิศ กกท.

การมอบรางวัล ได้ผ่านการเลือกเฟ้นจากคณะกรรมการ มีทั้งหมด 32 คน เป็นอดีตนักกีฬาทีมชาติไทย ที่เป็นฮีโร่ซีเกมส์ตลอดกาล ประกอบด้วย

ฟุตบอล พลตรี อำนาจ เฉลิมชวลิต, นาวาอากาศเอก ปิยะพงษ์ ผิวอ่อน กรีฑา สุทธิ มัณยากาศ, สุชาติ แจสุรภาพ, ร.อ.หญิง อุษณีย์ วงษาลังการ, พลตรี อาณัติ รัตนพล, พลตรีหญิง รัตน์ใจ ยืนยาว จักรยาน ปรีดา จุลละมณฑล วอลเลย์บอล ปริม อินทวงศ์, นุศรา ต้อมคำ แบดมินตัน ศาสตราจารย์เจริญ วรรธนะสิน, ประเทือง ปัตตพงศ์บาสเกตบอล บรรจง ว่องไวเลิศ, กาญจนา ประสารชัยมนตรี ยูโด หัสดินทร์ โรจนชีวะ เทเบิลเทนนิส พัชรินทร์ ลอยไสว เทนนิส สมภาร จำปีศรี, สุธาสินี ศิริกายะ ยิงปืน พลตำรวจตรี รังสิต ญาโนทัย ยิงธนู อมรรัตน์ แก้วไพฑูรย์ ยิมนาสติก ธีรัช โพธิ์พานิช ยกน้ำหนัก ชัยยะ สุขจินดา มวยสากล สืบ จุณฑะเกาศลย์, บรรเทา ศรีสุข, พันโท สมจิตร จงจอหอ ว่ายน้ำ รัชนีวรรณ บุลกุล, ศรสวรรค์ ภู่วิจิตร, รัฐพงศ์ ศิริสานนท์ บิดเลียด ประพฤติ ชัยธนะสกุล ตะกร้อ สุรัตน์ ณ เชียงใหม่ เรือใบ นาวาโท วินัย วงศ์ทิม เทควันโด เยาวภา บุรพลชัย

นายศุกรีย์ สุภาวรีกุล ประธานคณะทำงานและนายกสมาคมกีฬาเพาะกายและฟิตเนสแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า เนื่องจากนักกีฬาไทย ประสบความสำเร็จตั้งแต่กีฬาแหลมทอง มาจนถึงซีเกมส์ ที่ผ่านมานักกีฬาเหล่านี้ อาจจะอยู่ในความทรงจำ แต่ไม่มีใครยกย่องอย่างเป็นทางการ จึงเป็นที่มาที่ทำให้ทางมูลนิธิซีเกมส์ต้องการยกย่องฮีโร่ในระดับตำนานเหล่านี้ ซึ่งประสบความสำเร็จ และสร้างผลงานจนเป็นนักกีฬาระดับตำนาน ที่สร้างชื่อเสียงมาตลอดจนเป็นที่จดจำ เรามีคณะกรรมการร่วมพิจารณา จนได้ 32 นักกีฬาระดับตำนานที่จะเป็นตัวอย่างสำหรับเด็กรุ่นหลัง การมอบรางวัลครั้งนี้ ทำให้เห็นว่า สังคมไทยยังไม่ลืมนักกีฬาในระดับตำนานเหล่านี้ ทุกคนจะอยู่ในใจคนไทยเสมอ

“อยากฝากถึงนักกีฬาทีมชาติทุกชนิดกีฬาที่สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศชาติวันนี้อาจจะยังไม่ได้รับรางวัล ไม่ได้เป็น 32 คน ที่ได้รับรางวัลจากทางมูลนิธิ แต่ในอนาคตข้างหน้า ทุกคนที่ทำผลงานอย่างดีจนเป็นที่จดจำ ในเมื่อทุกคนเป็นนักกีฬาทีมชาติ มีธงไตรรงค์อยู่ที่หน้าอกอยากฝากให้ทุกคนทำหน้าที่รับใช้ชาติให้ดีที่สุด การเป็นตัวแทนทีมชาติ เป็นความภาคภูมิใจเป็นสิ่งสำคัญ อยากให้นักกีฬาเหล่านี้ ดูนักกีฬาระดับตำนานทั้ง 32 คน เป็นตัวอย่าง”

พลเอกเชษฐา ฐานะจาโร  ประธานมูลนิธิซีเกมส์ กล่าวว่า การจัดงานเชิดชูเกียรติตำนานนักกีฬาซีเกมส์ไทย เป็นครั้งแรก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเชิดชูยกย่องนักกีฬาไทย ที่มีผลงานเด่นในการแข่งขันกีฬาแหลมทอง เซียพเกมส์ หรือ ซีเกมส์ เป็นที่จดจำและยอมรับในการเป็นนักกีฬาในตำนานที่ยิ่งใหญ่ เพื่อยกย่องเชิดชูให้เป็นต้นแบบการสร้างแรงบันดาลใจแก่นักกีฬารุ่นหลังสืบไป

นายวิวัฒน์  วิกรานตโนรส เลขาธิการมูลนิธิซีเกมส์ กล่าวว่า การทำการคัดเลือกนักกีฬาครั้งนี้ สำหรับผู้มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ ใน 3 ด้าน คือ ผลงานเด่นในการแข่งขันกีฬาแหลมทอง เซียพเกมส์ หรือ ซีเกมส์ ที่นำเกียรติภูมิสู่ประเทศชาติ เป็นนักกีฬาในความทรงจำของประชาชนอย่างไม่ลืมเลือน อุทิศตนและความเป็นแบบอย่างที่ดี โดยมีนักกีฬา 32 คน จาก 19 ชนิดกีฬา ให้ได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติตำนานนักกีฬาซีเกมส์ไทย ประกอบด้วย กรีฑา 5 คน , แบดมินตัน 2 คน ,บาสเกตบอล 2 คน, จักรยาน 1 คน , มวยสากล 3 คน , วอลเลย์บอล 2 คน, ยูโด 1 คน , ฟุตบอล 2 คน ,เทนนิส 2 คน , เทเบิลเทนนิส 1 คน, ยิงปืน 1 คน , ว่ายน้ำ 2 คน , ตะกร้อ 1 คน , เทควันโด 1 คน, ยิงธนู 1 คน ,ยิมนาสติก 1 คน , บิลเลียด 1 คน ,ยกน้ำหนัก 1 คน และ เรือใบ 1 คน

สำหรับ 32 นักกีฬา มี 6 คน ที่เสียชีวิต ได้แก่ สุทธิ มัณยากาศ (กรีฑา), ปรีดา จุลละมณฑล (จักรยาน), ชัยยะ สุขจินดา (ยกน้ำหนัก), นาวาโท วินัย วงศ์ทิม (เรือใบ), อมรรัตน์ แก้วไพฑูรย์ (ยิงธนู), ประเทือง ปัตตพงศ์ (แบดมินตัน)

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.