Football Sponsored
Categories: ฟุตบอล

ส่องคนกีฬาลงเลือกตั้ง ใครตก-ใครผ่าน

Football Sponsored
Football Sponsored

ส่องคนกีฬาลงเลือกตั้ง ใครตก-ใครผ่าน

เผยแพร่:   ปรับปรุง: โดย: ผู้จัดการออนไลน์


จบลงไปเรียบร้อย(อย่างไม่เป็นทาง) สำหรับสนามเลือกตั้ง 2566 ที่เป็นชัยชนะของ “พรรคก้าวไกล” ที่กวาด ส.ส. ไปมาสุดที่ 152 ที่นั่ง อันดับ 2 คือ เพื่อไทย 141 ที่นั่ง

ครั้งนี้มีคนนอกวงการการเมืองหลายคนที่มาลงสนามเลือกตั้งเพื่อรับใช้พี่น้องประชาชน ทั้งดารา นักเเสดง รวมถึง คนในวงการกีฬา เราจะมาไล่ดูว่าคนกีฬามีกี่คนที่สอบผ่านเเละสอบตก

1. สมรักษ์ คำสิงห์ (อดีตนักมวย)

อดีตนักมวยขวัญใจชาวไทยดีกรีเหรียญทองโอลิมปิก ลงในนามพลังประชารัฐ ลงสู้ชิงตำเเหน่ง ส.ส. เขต จังหวัดขอนแก่น เขต 11

ผล : สอบตก (อันดับ 5 ได้ 245 คะเเนน ส่วนอันดับ 1 ได้ 5,845)

2. เยาวภา บุรพลชัย (อดีตนักเทควันโด)

อดีตจอมเตะสาวสวยของไทย ดีกรีเจ้าของเหรียญทองแดงโอลิมปิก 2004 ลงในนามชาติพัฒนากล้า แบบบัญชีรายชื่อ อันดับที่ 5

ผล : สอบตก (พรรคได้ส.ส.บัญชีรายชื่อ 1 คน)

3. วรวีร์ มะกูดี (อดีตนายกสมาคมฟุตบอลไทย)

เป็นอดีตผู้นำลูกหนังไทยนานถึง 8 ปียุคที่เป็นขวัญใจเเฟนๆ นำ ซิโก้ เกียรติศักดิ์ เข้ามาเป็นกุนซือ ก่อนจะเลือกตั้งเเพ้ สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ลงในนามประชาชาติ

ผล : สอบตก (พรรคได้ส.ส.บัญชีรายชื่อ 2 คน)

4. ไชยชนก ชิดชอบ (บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด)

ลูกชายคนโต เนวิน ชิดชอบ เจ้าของทีม บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ลง ส.ส. เขต ภูมิใจไทย บุรีรัมย์ เขต 2

ผล : สอบผ่าน (อันดับ 1 ได้ 46,729 คะแนน)

5. ชิตวัน ชินอนุวัฒน์ (เชียงราย ยูไนเต็ด)

อดีตผู้อำนวยการสโมสร ลีโอ เชียงราย ยูไนเต็ด ทีมในศึกฟุตบอลไทยลีก ที่ประกาศลาออกมาลงเล่นการเมือง ส.ส.ก้าวไกล เชียงราย เขต 1

ผล : สอบผ่าน (อันดับ 1 ได้ 43,153 คะแนน)

6. วรรณรัตน์ ชาญนุกูล (นครราชสีมา มาสด้า)

ประธานสโมสรฟุตบอล “สวาทแคท” ลาออกมาเล่นการเมือง ส.ส.ชาติพัฒนากล้า แบบบัญชีรายชื่อ

ผล : สอบผ่าน (ได้โควตาเป็น ส.ส. 1 จาก 1)

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.