Football Sponsored
Categories: ฟุตบอล

“ชบาแก้ว” ช็อก นำ 2-0 ก่อนพลิกพ่าย “เมียนมา” 2-4 ร่วงชิงที่ 3 กับกัมพูชา

Football Sponsored
Football Sponsored

เผยแพร่:   ปรับปรุง: โดย: ผู้จัดการออนไลน์


“ชบาแก้ว” ฟุตบอลหญิง ทีมชาติไทย ต้องเจอกับเรื่องสุดช็อก เมื่อออกนำคู่แข่งไปก่อนถึง 2-0 แต่สุดท้ายมาโดน เมียนมา ยิง 4 ประตูรวด พ่ายแพ้ไป 2-4 ตกรอบ 4 ทีมสุดท้ายฟุตบอลหญิง ซีเกมส์ ต้องไปชิงอันดับ 3 กับเจ้าภาพกัมพูชา

วันที่ 12 พฤษภาคม 2566 เวลา 19.00 น. ณ อาร์มี สเตเดียม การแข่งขันฟุตบอลหญิงซีเกมส์ รอบรองชนะเลิศ ฟุตบอลหญิงทีมชาติไทย ที่ได้แชมป์กลุ่มบี ลงสนามพบกับ เมียนมา

ชบาแก้ว ชนะมาสามนัดติดต่อกัน ในรอบแบ่งกลุ่ม จนเป็นแชมป์กลุ่มบี ส่วนเมียนมาชนะ 2 แพ้ 1 เข้ารอบมาเป็นรองแชมป์กลุ่ม

เกมนี้ นฤพล แก่นสน จัดทัพชุดใหญ่นำโดย อรพินท์ แหวนเงิน, เสาวลักษ์ เพ็งงาม และ จิราภรณ์ มงคลดี

เริ่มเกมมาแค่ 11 นาที ชบาแก้ว มาได้ประตูออกนำ 1-0 จากการกดด้วยขวาเต็มข้อของ เสาวลักษณ์ เพ็งงาม

เท่านั้นไม่พอ นาที 18 อรพินท์ แหวนเงิน ได้บอลแล้วลากตัดเข้าใน ก่อนยิงแบบชิพๆข้ามหัวประตูเมียนมาเข้าไปให้ ชบาแก้ว นำห่างเป็น 2-0

นาที 44 เมียนมามาได้ประตูตีไข่แตก จากจังหวะที่ วิน เทียนกี ตุน หลุดมาทางขวา ก่อนจ่ายเข้ากลางให้ ยู เปอร์ ไคน์ ไขว้เข้าไปให้ ทีมไล่มาเป็น 1-2 และจบครึ่งแรกไปด้วยสกอร์นี้

ครึ่งหลังนาที 48 เมียนมา มาตามตีเสมอได้สำเร็จ จากจังหวะที่ วิน เทียนกี ตุน หลุดกับดักล้ำหน้าก่อนยิงสวนตัวทิฟฟานีเข้าไป ให้สกอร์กลับมาเท่ากันที่ 2-2

นาที 53 คิน มาร์ลาร์ ตุน หลุดมาทางซ้ายก่อนจ่ายให้ ซาน ธอว์ ธอว์ ชาร์จเข้าไปให้ เมียนมา แซงนำเป็น 3-2

ทดเจ็บ เมียนมามาได้ประตูนำห่างจากจังหวะ เมย์ เธต มอน หยิ่น ตัดบอลได้ก่อนยิงเข้าไปให้ เมียนมานำห่างเป็น 4-2

ช่วงเวลาที่เหลือไม่มีประตูเพิ่มเติมจบเกม ชบาแก้ว พ่าย เมียนมาไป 2-4

โปรแกรมนัดต่อไป ฟุตบอลหญิงทีมชาติไทย จะลงแข่งขันรอบชิงอันดับ 3 พบกับกัมพูชา ในวันที่ 15 พฤษภาคม 2566 เวลา 16.00 น. ถ่ายทอดสดทาง แอพพลิเคชั่น T-Sports 7

รายชื่อ 11 ตัวจริง

กาญจนาพร แสนคุณ, พลอยชมพู สมนึก, นิภาวรรณ ปัญโญสุข (C),จิราภรณ์ มงคลดี, ปลื้มใจ สนธิสวัสดิ์, ชัชวัลย์ รอดทอง, เสาวลักษณ์ เพ็งงาม, อรพินท์ แหวนเงิน, ปาริชาต ทองรอง, ทิฟฟานี่ ดารุณี สอนเผ่า (GK), ปณิฎฐา จีรัตนะภวิบูล

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.