Football Sponsored
Categories: ฟุตบอล

ชบาแก้ว อัด กัมพูชา 3-0 ลิ่วรอบรองฯซีเกมส์ เจอเมียนมา

Football Sponsored
Football Sponsored

เผยแพร่:   ปรับปรุง: โดย: ผู้จัดการออนไลน์


วันที่ 9 พฤษภาคม 2566 เวลา 20.00 น. ณ สมาร์ต อาร์เอสเอ็น สเตเดียม การแข่งขันฟุตบอลหญิงซีเกมส์ นัดที่สามของรอบแบ่งกลุ่ม กลุ่มบี ฟุตบอลหญิงทีมชาติไทย ลงสนามพบกับ กัมพูชา

สถานการณ์สองเกมแรก ชบาแก้ว ชนะมาสองเกมรวด เช่นเดียวกับกัมพูชา และทั้งสองทีมต่างผ่านเข้ารอบรองชนะเลิศแน่นอนแล้ว

เกมนี้ นฤพล แก่นสน โรเตชั่นแทบยกชุด โดยฝากความหวังในเกมรุกที่ ภัทรนันท์ อุปชัย, ณัฐวดี ปร่ำนาค และ พลอยชมพู สมนึก

เริ่มเกมมาไทยบุกอย่างหนัก และนาทีที่ 23 ก็มาได้ประตูออกนำจนได้จากลูกเตะมุมที่เล่นสั้นก่อน ที่พิชญธิดา มะโนวัง จะเปิดให้ ปาริชาต ทองรองได้โหม่งคนเดียวโล่งๆเข้าไปให้ ชบาแก้ว นำก่อน 1-0

ทดเจ็บ ชบาแก้วมาได้ประตูเพิ่มจากจังหวะที่ ภัทรนันท์ อุปชัยหลุดมาทางขวาก่อนเปิดให้ นวลอนงค์ หมื่นศรี ได้ชาร์จบอลจ่อๆเข้าไปให้สกอร์ห่างเป็น 2-0 และจบครึ่งแรกไปด้วยสกอร์นี้

ครึ่งหลังชบาแก้ว ยังครองเกมได้เหนือกว่า และช่วงทดเจ็บก็มาได้ประตูปิดท้าย จากการยิงด้วยซ้ายของ จิราภรณ์ มงคลดี ชนะ กัมพูชา ไป 3-0 พร้อมผ่านเข้ารอบรองชนะเลิศในฐานะแชมป์กลุ่ม

โปรแกรมนัดต่อไป ฟุตบอลหญิงทีมชาติไทย จะลงแข่งขันรอบรองชนะเลิศ พบกับ เมียนมา รองแชมป์กลุ่ม เอ ที่ สมาร์ต อาร์เอสเอ็น สเตเดียม ในวันที่ 12 พฤษภาคม 2566 เวลา 16.00 น. ถ่ายทอดสดทาง แอพพลิเคชั่น T-Sports 7

รายชื่อ 11 ตัวจริง

ทิชานันท์ สดชื่น (GK), ศรุดา ก้อนฝ้าย, นวลอนงค์ หมื่นศรี, พลอยชมพู สมนึก, ธัญชนก จั่นศรี, ณัฐวดี ปร่ำนาค, ภัทรนันท์ อุปชัย, ปาริชาติ ทองรอง, พิชญธิดา มะโนวัง, ปณิฏฐา จีรัตนะภวิบูล (C), อรวรรณ คีรีสุวรรณกุล

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.