(คลิป) แฟนบราซิลวิจารณ์ยับ ฝ่ายจัดบอลชิงแชมป์แห่งรัฐทำหุ่นยักษ์ “เปเล่” ไม่เหมาะสม
แฟนฟุตบอลชาวบราซิล ออกมาวิจารณ์ไอเดียการทำหุ่นยักษ์ของ “เปเล่” ตำนานลูกหนังผู้ล่วงลับ ที่ลงมาเขี่ยบอลก่อนเริ่มเกมรอบชิงศึกชิงแชมป์แห่งรัฐ โดยชี้ว่าเป็นการเอานักเตะระดับตำนานมาทำเป็นตัวตลก ซึ่งดูไม่เหมาะสมด้วยประการทั้งปวง
ชมคลิป
ฝ่ายจัดฟุตบอลคัมปิโอนาโต แปร์นัมบูกาโน หรือฟุตบอลชิงแชมป์แห่งรัฐของประเทศบราซิล ทำหุ่นยักษ์ของ เปเล่ ดาวเตะระดับตำนานผู้ล่วงลับ ลงสนามมาเขี่ยฟุตบอลในเกมนัดเปิดสนามหวังสร้างรอยยิ้มให้แก่แฟนฟุตบอลที่เข้ามาชมเกมดังกล่าว
อย่างไรก็ตามเรื่องราวกลับไม่เป็นดั่งที่คาด เมื่อแฟนบอลชาวบราซิเลียนในโลกโซเชียลต่างออกมาวิจารณ์ไอเดียดังกล่าวถึงขั้นบอกว่า “น่าอับอาย” ไม่เหมาะสมที่จะนำเอาเจ้าของฉายา “ไข่มุกดำ” ซึ่งถือเป็นนักเตะระดับตำนานมาทำเป็นตัวตลกเช่นนี้
ขณะเดียวกันยังมีช็อตที่ทีมงานซึ่งอยู่ข้างในหุ่นมีการโผล่หน้า และยื่นมือออกมาจากบริเวณเป้ากางเกง เรียกเสียงวิจารณ์ว่าไม่เหมาะสมยิ่งกว่าเดิม
ฟุตบอลฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง
This website uses cookies.