Football Sponsored
Categories: ฟุตบอล

“เอเอฟซี” มอบรางวัลยกย่องสูงสุดให้แพทย์ไทย3ท่าน

Football Sponsored
Football Sponsored

เผยแพร่:   ปรับปรุง: โดย: ผู้จัดการออนไลน์


“เอเอฟซี” มอบรางวัลยกย่องสูงสุดให้แพทย์ไทย3ท่านนักกายภาพบำบัด ซึ่งเป็นผู้ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของทีมฟุตบอลของแต่ละประเทศ นอกเหนือจากรางวัลที่ทุกคนคุ้นเคยเช่น ทีมฟุตบอลชาย/หญิงยอดเยี่ยม ผุ้เล่นชาย/หญิงยอดเยี่ยม โค้ชชาย/หญิงยอดเยี่ยม ฯลฯ

โดยใช้ชื่อรางวัลนี้ว่า AFC Medical Award สำหรับในปี 2566 มีแพทย์ 1 ท่านที่ได้รับเกียรติ์สูงสุดในฐานะที่เป็นผู้ริเริ่มและบุกเบิกนำเอาวิชาการทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์การกีฬาที่ทันสมัยมาใช้ในวงการฟุตบอลทั้งในประเทศไทยและของเอเอฟซี และมีแพทย์ไทย 2 ท่านได้รับการพิจารณาให้รับรางวัลชั้นสูงสุด

สำหรับ AFC Medical Award เป็นรางวัลที่ทางเอเอฟซีพิจารณามอบให้แก่แพทย์และนักกายภาพบำบัดที่ทำงานในวงการฟุตบอลอย่างต่อเนื่องทั้งในประเทศไทยและให้กับเอเอฟซี ตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป โดยมี 3 ระดับด้วยกัน คือ

1.AFC Medical Award – Bronze สำหรับผู้ที่ทำงานให้วงการฟุตบอลอย่างต่อเนื่องทั้งในประเทศไทยและให้กับเอเอฟซี ฟุตบอลอย่างต่อเนื่องทั้งในประเทศไทยและให้กับเอเอฟซี 15 ปีขึ้นไป

2.AFC Medical Award – Silver สำหรับผู้ที่ทำงานให้วงการฟุตบอลฯ 20 ปีขึ้นไป

3.AFC Medical Award – Gold สำหรับผู้ที่ทำงานให้วงการฟุตบอลฯ 25 ปีขึ้นไป

สำหรับแพทย์ไทยที่ได้รับรางวัลในครั้งนี้ มี 3 รางวัล ดังต่อไปนี้

1. ศ.นพ.พิสิษฏ์ วิเศษกุล รางวัล Posthumous AFC Medical Award (ถึงแก่กรรม) ได้รับการพิจารณาเป็นรางวัลเกียรติสูงสุดจากเอเอฟซีในฐานะเป็นผู้นำและริเริ่มนำเอาความรู้และความก้าวหน้าทางการแพทย์ที่ทันสมัยมาใช้ในวงการฟุตบอลของเอเซียเป็นคนแรก โดยท่านเป็นประธานคนแรก ของ คณะกรรมการฝ่ายแพทย์ของเอเอฟซี และเป็นประธานคนแรก ของคณะกรรมการฝ่ายแพทย์ ของสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยอีกด้วย สำหรับรางวัลนี้ทางเอเอฟซีได้เชิญให้บุตรสาว คุณดวงฤดี โรจนกรเป็นผู้ไปรับแทน

2. นพ.ทรง วงษ์วานิช รางวัล AFC Medical Award – Gold เป็นแพทย์ผู้ที่ทำงานให้ทีมการท่าเรือแห่งประเทศไทย มามากกว่า 40 ปี เคยได้รับหน้าที่เป็นประธานสโมสรฟุตบอลการท่าเรือฯด้วย รวมทั้งท่านยังเปิดคลินิกดูแลชุมชนย่านคลองเตยมาโดยตลอด ในขณะนี้ในวัย89ปีท่านยังแข็งแรง ยังไปช่วยตรวจรักษาพนักงานการท่าเรืออย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน

3.ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ.ประสิทธิ์ กองเกตใหญ่ รางวัล AFC Medical Award – Gold เป็นแพทย์ผู้ที่ทำงานให้ทีมชาติไทยมามากกว่า 30 ปี ท่านเป็นอาจารย์อยู่ที่ภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ศิริาาชพยาบาล เป็นแพทย์ประจำทีมฟุตบอลชาติไทย ตั้งแต่สมัยทีมชาติชุด วิทยา เลาหกุล เฉลิมวุฒิ สง่าพล เจษฎาพร ณ พัทลุง สมชาย ชวยบุญชุม เป็นต้น และดูแลติดต่อมาอีกยาวนาน

สำหรับการมอบรางวัลเกียรติยศในครั้งนี้ ถือเป็นครั้งที่ 3 โดยมีพิธีมอบรางวัล ในการประชุมวิชาการทางด้านเวชศาสตร์การกีฬา หรือ Football

Medicine ของสหพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเซีย (เอเอฟซี) ครั้งที่ 7 ที่เมืองโดฮา ประเทศกาตาร์ เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา โดยทางเอเอฟซีเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายให้ทั้งหมด

นาวาอากาศเอก(พิเศษ) นพ.ไพศาล จันทรพิทักษ์ ประธานคณะกรรมการฝ่ายแพทย์แห่งประเทศไทยและกรรมการฝ่ายแพทย์ของเอเอฟซี ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ที่ผ่านมา มีผู้ที่ได้รับรางวัลฯจากประเทศไทย ดังนี้

– รางวัล AFC Medical Award – Gold จำนวน 4 ท่าน ได้แก่ ศ.เกียรติคุณ นพ.วารินทร์ตัณฑศุภสิริ / นาวาอากาศเอก(พิเศษ) นพ.ไพศาล จันทรพิทักษ์ / นพ.พิชญา นาควัชระ / นพ.ชนินทร์ ล่ำซำ

– AFC Medical Award – Bronze 1 ท่าน นาย ธนากร นักกายภาพบำบัด

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.