Football Sponsored
Categories: ฟุตบอล

แมนฯ ยูไนเต็ด หลุดท็อปทรี, ลิเวอร์พูล แซง แมนฯซิตี้ ฟอร์บส์ เผยลิสต์สโมสรฟุตบอลมูลค่าสูงสุดในโลก – 90min

Football Sponsored
Football Sponsored

แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด หลุดจากตำแหน่งท็อปทรีลิสต์สโมสรฟุตบอลที่มีมูลค่าสูงสุดในโลกตามการจัดอันดับของ ฟอร์บส์ โดย ลิเวอร์พูล คู่แข่งร่วมศึก ฟุตบอลพรีเมียร์ลีกอังกฤษ ทะยานแซง แมนเชสเตอร์ ซิตี้ ในลิสต์ดังกล่าว

แมนฯ ยูไนเต็ด มีมูลค่า 3.05 พันล้านปอนด์ในการจัดอันดับโดยสื่อชื่อดังร่วงจากอันดับเดิมลงมารั้งอันดับที่ 4 เมื่อถูก บาเยิร์น มิวนิค แซงขึ้นไปรั้งอันดับที่ 3

บาร์เซโลนา (3.46 พันล้านปอนด์) กลายเป็นทีมอันดับที่ 1 ในลิสต์แซงหน้า เรอัล มาดริด ขณะที่ หงส์แดง (2.98 พันล้านปอนด์) รั้งอันดับที่ 5 เหนือ เรือใบสีฟ้า (2.91 พันล้านปอนด์) โดยรายงานจาก ฟอร์บส์ ชี้ว่า เร้ดแมชีน มีมูลค่าเพิ่มขึ้น 88 เปอร์เซ็นต์นับจากเมื่อช่วง 2 ปีก่อน


สโมสรฟุตบอลที่มีมูลค่าสูงที่สุดในโลกโดยการจัดอันดับของ ฟอร์บส์

1. บาร์เซโลนา – 3.46 พันล้านปอนด์
2. เรอัล มาดริด – 3.46 พันล้านปอนด์
3. บาเยิร์น มิวนิค – 3.07 พันล้านปอนด์
4. แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด – 3.06 พันล้านปอนด์
5. ลิเวอร์พูล – 2.98 พันล้านปอนด์
6. แมนเชสเตอร์ ซิตี้ – 2.91 พันล้านปอนด์
7. เชลซี – 2.33 พันล้านปอนด์
8. อาร์เซนอล – 2.04 พันล้านปอนด์
9. ปารีส แซงต์-แชร์กแมง – 1.82 พันล้านปอนด์
10. ท็อตแนม ฮ็อตสเปอร์ – 1.67 พันล้านปอนด์

สนับสนุนบทความของแท้ไม่ก็อปปี้ต้อง 90min.com เท่านั้น! *ไม่อนุญาตให้คัดลอกบทความหรือรูปภาพไม่ว่าวิธีใดๆ หากฝ่าฝืนมีความผิดตามกฏหมายที่ระบุไว้สูงสุด

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.