สิงห์เชียงรายฯชนะดวลจุดโทษ ชลบุรี เอฟซี ผงาดแชมป์เอฟเอคัพ สมัยที่ 3
ฟุตบอล ช้าง เอฟเอ คัพ 2020 รอบชิงชนะเลิศ ที่สนาม ทรู สเตเดียม ธรรมศาสตร์ รังสิต เป็นการพบกัน ระหว่าง สิงห์เชียงราย ยูไนเต็ด กับ ชลบุรี เอฟซี โดย สิงห์เชียงราย ยูไนเต็ด ทำผลงานในรอบรองชนะเลิศ ด้วยการเอาชนะ ทรูแบงค็อก ยูไนเต็ด 2 – 1 ส่วน ชลบุรี เอฟซี ชนะ บุรี รัมย์ ยูไนเต็ด 2 -1
ฟุตบอลรายการนี้ สิงห์เชียงราย ยูไนเต็ด ทำผลงานเป็น แชมป์ 2 สมัย ในปี 2017 และ 2018 ส่วน ชลบุรี เอฟซี เป็นแชมป์ 1 สมัย ในปี 2010 และแชมป์ร่วมในปี 2016 ส่วน 90 นาที ของเกมนัดชิงชนะเลิศ เป็น ทาง ชลบุรี เอฟซี ที่ออกนำไปก่อน จาก
ฉัตรมงคล เรืองฐณโรจน์ ในนาทีที่ 30 เกมต่อเนื่องไป นาทีที่ 40 สิงห์เชียงราย ยูไนเต็ด ได้ประตูตีเสมอ จาก ศิวกรณ์ เตียตระกูล
ครึ่งหลังไม่มีประตูเพิ่มเติมจบเกม เสมอกันไป 1-1 ต้องตัดสินกันในช่วงต่อเวลาพิเศษ และก็ไม่มีประตูเพิ่มเติมต้องไปตัดสินที่การดวลจุดโทษ และในช่วงการดวลจุดโทษ เป็น สิงห์เชียงรายยูไนเต็ด ที่ทำได้ดีกว่า ชนะไปด้วยสกอร์รวม 5-4 คว้าแชมป์ ช้าง เอฟเอ คัพ 2020 และได้ในสิทธิ์การไปเล่นฟุตบอลถ้วยรายการ เอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ลีก รอบแบ่งกลุ่ม ในปี 2022
สำหรับ สิงห์ เชียงราย ยูไนเต็ด ทีมแชมป์ได้รับถ้วยช้าง เอฟเอ คัพ ไปครองเป็นเวลา 1 ฤดูกาล พร้อมรับเงิน 5 ล้านบาท ส่วน รองแชมป์ ชลบุรี เอฟซี ได้รับเงินรางวัล 1 ล้านบาท ขณะเดียวกัน”ช้าง” ผู้สนับสนุนการแข่งขัน มีรางวัลพิเศษ “Chang Sportsmanship Award” ให้กับนักฟุตบอลผู้มีน้ำใจนักกีฬาตลอดทัวร์นาเมนต์ ซึ่งได้แก่ วรชิต กนิตศรีบำเพ็ญ จากสโมสรชลบุรี เอฟซี
ฟุตบอลฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง
This website uses cookies.