Football Sponsored
Categories: ฟุตบอล

เวงเกอร์แย้มใช้เครื่องมือจับล้ำหน้าในบอลโลกกาตาร์

Football Sponsored
Football Sponsored

หัวฝ่ายพัฒนาฟุตบอลของฟีฟาผลักดันแผนใช้เทคโนโลยีตัวใหม่ที่ใช้สำหรับจับล้ำหน้าในฟุตบอลโลก 2022 ที่ประเทศกาตาร์

อาร์แซน เวงเกอร์ หัวหน้าฝ่ายพัฒนาฟุตบอลของสหพันธ์ลูกหนังนานาชาติ (ฟีฟา) เผย เทคโนโลยีจับล้ำหน้าแบบ The automated offside อาจพร้อมใช้งานในฟุตบอลโลก 2022 ที่ประเทศกาตาร์

คณะกรรมการสมาคมฟุตบอลระหว่างประเทศ (IFAB) ที่มีหน้าที่ร่างกฎในกีฬาฟุตบอล ได้เปิดเผยเมื่อเดือนก่อนว่า พวกเขาจะทบทวนกฎล้ำหน้าใหม่ และวางแผนที่จะทดสอบเทคโนโลยีจับล้ำหน้าแบบ semi-automated เพื่อนำไปใช้ในอนาคต

สำหรับเจ้าเทคโนโลยีจับล้ำหน้าแบบ semi-automated ถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อช่วยล่นระยะเวลาการทำงานของ VAR ซึ่งบางครั้งกินเวลานานจนเกินไป โดยมันจะส่งสัญญาณไปที่ VAR หากจับล้ำหน้าได้ ก่อนที่ VAR จะส่งสัญญาณไปที่ผู้กำกับเส้นอีกที

Editor Picks

  • โปรแกรมถ่ายทอดสดฟุตบอล – ดูบอลสดคืนนี้ (พรีเมียร์ลีก, ไทยลีก, ลาลีกา, บุนเดสลีกา, แชมเปี้ยนส์ลีก, ฯลฯ)
  • IN NUMBERS : คริสเตียโน โรนัลโด้ ยิงได้กี่ประตูในชีวิตค้าแข้ง?
  • แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ถ่ายช่องไหน? วิธีดูแมนฯ ยูฯ พบกรานาด้า
  • ลิเวอร์พูล ถ่ายช่องไหน? วิธีดูลิเวอร์พูล พบแอสตัน วิลลา

อย่างไรก็ดี เวงเกอร์มองว่า เทคโนโลยีจับล้ำหน้าแบบ The automated offside ประหยัดเวลาได้มากกว่า เพราะมันจะส่งสัญญาณไปที่ผู้กำกับเส้นโดยตรง เขาจึงพยายามผลักดันให้ฟีฟาเลือกใช้ระบบนี้มากกว่า semi-automated

“เทคโนโลยีจับล้ำหน้าแบบ The automated offside ผมคิดว่ามันจะพร้อมสำหรับปี 2022” เวงเกอร์ กล่าวผ่านรายการ Living Football TV

“ผมกำลังผลักดันมันอย่างเต็มที่ ซึ่งสัญญาณจากมันจะถูกส่งไปถึงผู้กำกับเส้นโดยตรง”

“โดยเฉลี่ยแล้วเราจะเสียเวลาราว ๆ 70 วินาที บางครั้งก็ 1 นาที 20 วินาที (VAR เช็คล้ำหน้า) มันสำคัญมาก เพราะเราได้เห็นการฉลองประตูหลายครั้งถูกยกเลิก หลังจากเหตุเล็ก ๆ น้อย ๆ”

ก่อนหน้านี้ ฟีฟาเคยทดลองทคโนโลยีจับล้ำหน้าระบบ semi-automated มาแล้ว ในฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลกในปี 2019 

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.