Football Sponsored
Categories: ฟุตบอล

AFF 2022 หนสุดท้าย? ย้อนฟอร์ม “ธีรศิลป์” ยิง-ไม่ยิงชาติไหนบ้าง หลังพา ไทย แชมป์สมัย 7

Football Sponsored
Football Sponsored

วันที่ 17 มกราคม 2566 หลังจากที่ ทีมชาติไทย เปิดบ้านชนะ เวียดนาม 1-0 ในศึก อาเซียน คัพ 2022 นัดชิงชนะเลิศ เกมที่ 2 ทำให้สกอร์รวม 2 นัด “ช้างศึก” อัด “ดาวทอง” รวม 3-2 คว้าแชมป์รายการนี้สมัยที่ 7 ไปครอง จากการจัดมาทั้งหมด 14 ครั้ง

ธีรศิลป์ แดงดา กองหน้าทีมชาติไทย ปิดฉากทัวร์นาเมนต์นี้ ด้วยการเป็นดาวซัลโว ร่วมกับ เหงียน เตียน ลินห์ ที่ 6 ประตู และนับเป็นหนที่ 5 ที่ทำได้ต่อจากปี 2008, 2012, 2016 และ 2020

จาก 25 ประตู ที่ทำได้ “เจ้ามุ้ย” ยิงใครบ้าง ทีมข่าวไทยรัฐสปอร์ต ขอไล่เรียงให้ดังนี้

ยิง เมียนมา 7 ประตู

ยิง มาเลเซีย และ อินโดนีเซีย 5 ประตู

ยิง ฟิลิปปินส์ 4 ประตู

ยิง กัมพูชา 2 ประตู

ยิง บรูไน และ เวียดนาม 1 ประตู

โดยชาติที่ ธีรศิลป์ ยิงไม่ได้คือ สปป.ลาว, สิงคโปร์, และ ติมอร์-เลสเต

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.