เคลียร์ฟรีทีวีก่อน!นายกส.บอลแจงเงินลิขสิทธิ์ได้หลังจบช้างเอฟเอคัพ
ประมุขบอลไทยแจงแล้ว เงินลิขสิทธิ์ถ่ายทอดยังต้องรอฟุตบอลถ้วยช้าง เอฟเอ คัพ แข่งกันจบก่อน เผยต้องคำนวณเงินสปอนเซอร์ว่ามีเท่าไหร่ และจ่ายให้ช่องฟรีทีวีไปเท่าใด ก่อนจะนำเงินไปสนับสนุนสโมสรได้ ชี้ยังตอบไม่ได้ว่าคำนวณแล้วจะเหลือเท่าไหร่ แต่ยืนยันนโยบาย ส.บอลไทย ถ้ามีเงินมีรายได้ ควรจะกลับไปสู่สโมสรแน่นอน
ตามที่สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ได้เปิดเผยว่า เงินลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดฟุตบอลไทยลีก หลังจากหมดสัญญากับ ทรูวิชั่นส์ จะมีการรวบรวมมาจ่ายให้บรรดาทีมในไทยลีก ในช่วงหลังจากศึกฟุตบอลไทยลีก ในฤดูกาล 2020/21 สิ้นสุดลง ซึ่งตอนนี้ลีกสูงสุดของเมืองไทย ได้ปิดฉากไปเป็นที่เรียบร้อยเมื่อวันที่ 28 มี.ค.64 ที่ผ่านมา จะเหลือแค่รายการฟุตบอลถ้วย “ช้าง เอฟเอ คัพ” ในรอบ 4 ทีมสุดท้าย และรอบชิงชนะเลิศแค่รายการเดียวเท่านั้น
ล่าสุด พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง นายกสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ได้ออกมาให้สัมภาษณ์ถึงเรื่องดังกล่าวกับผู้สื่อข่าวสยามกีฬาแล้วว่า “เงินที่จะเข้ามานั้นยังไม่ถึงกำหนดเวลา ส่วนเงินที่จะได้มาจากสปอนเซอร์ในปีนี้นั้น ก็ต้องรอหลังจากที่การแข่งขันฟุตบอลถ้วยช้าง เอฟเอ คัพ แข่งขันกันเสร็จสิ้นแล้ว แล้วเราก็ต้องมาคำนวณว่า เงินที่ได้จากสปอนเซอร์นั้นมีเท่าไหร่ แล้วเงินที่ได้มานั้นจะถูกนำไปใช้จ่ายในการถ่ายทอดสัญญาณในช่วงที่ผ่านมา”
“เพราะเราถ่ายทอดสัญญาณแล้วไปออกช่องฟรีทีวีเราก็มีค่าใช้จ่าย ซึ่งตรงนี้เรายังไม่สามารถคำนวณได้ว่ามันจะเหลือเท่าไหร่ และสามารถที่จะนำไปสนับสนุนสโมสรได้มากน้อยแค่ไหน ด้วยเหตุที่เป็นเรื่องที่เกิดใหม่ ไม่มีใครเคยประสบสถานการณ์ หรือเหตุการณ์เช่นนี้มาก่อน มันก็เป็นเรื่องที่ยากที่จะตอบล่วงหน้า แต่นโยบายของสมาคมชัดเจนอยู่แล้ว ถ้าเรามีเงินหรือมีรายได้ มันก็ควรจะกลับไปสู่สโมสร”
อีกหนึ่งช่องทางในการติดตามข่าวสาร
Add friend ที่ @Siamsport
ฟุตบอลฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง
This website uses cookies.