คนแรกของวงการฟุตบอล ? “ปาโต” ควงภรรยา รับวัคซีนโควิด-19 ไฟเซอร์ ที่สหรัฐฯ
อเล็กซานเดร ปาโต หัวหอกอดีตทีมชาติบราซิล กลายเป็นคนแรกๆ ในวงการฟุตบอลที่เปิดเผยว่าได้รับวัคซีนโควิด-19 แล้ว หลังย้ายไปค้าแข้งที่สหรัฐอเมริกา
วันที่ 6 เม.ย. 64 อเล็กซานเดร ปาโต อดีตกองหน้าเอซี มิลาน วัย 31 ปี โพสต์รูปลงอินสตาแกรมส่วนตัวว่า เขาและ รีเบ็คกา อบราวาเนล ภรรยา เข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ของ ไฟเซอร์ (Pfizer) เข็มแรกแล้วเมื่อวานนี้ (5 เมษายน 2564) ที่รัฐฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกา
ทั้งนี้ ปาโต เพิ่งเซ็นสัญญา 1 ปี ย้ายมาค้าแข้งกับ ออร์แลนโด ซิตี้ ทีมดังในศึกเมเจอร์ลีก ซอคเกอร์ สหรัฐฯ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา หลังบรรลุข้อตกลงในการยกเลิกสัญญากับ เซา เปาโล สโมสรชั้นนำในบ้านเกิดเมื่อเดือนสิงหาคม ปีที่แล้ว
ด้าน ปาโต เขียนข้อความถึงการรับวัคซีนครั้งนี้บนอินสตาแกรมว่า “วันนี้ผมและภรรยาได้รับวัคซีนเข็มแรกแล้ว มันยอดมากที่จะได้เห็นวันที่ดีกว่าในไม่ช้านี้ ถ้าคุณอาศัยอยู่ในรัฐฟลอริดาและมีอายุเกิน 18 ปี สามารถลงทะเบียนผ่านทางออนไลน์เพื่อเข้ารับวัคซีนโควิด-19 ได้ที่ myvaccine.fl.gov อย่าลืมใช้สิทธิ์ของคุณและผ่านวิกฤตินี้ไปด้วยกัน”
อเล็กซานเดร ปาโต โด่งดังกับ เอซี มิลาน ในปี 2007-2013 ยิงไป 63 ประตูจาก 150 นัด และติดทีมชาติบราซิล 27 ครั้ง ทำได้ 10 ประตู อีกทั้งเคยมาค้าแข้งในพรีเมียร์ลีก อังกฤษ กับ เชลซี ช่วงสั้นๆ ด้วยสัญญายืมตัวในช่วงตลาดนักเตะเดือนมกราคม ปี 2016 จนถึงจบฤดูกาลนั้น แต่ลงเล่นเพียง 2 เกม ยิง 1 ประตู
เวลานี้ ปาโต ยังไม่ได้ลงสนามให้กับ ออร์แลนโด ซิตี้ เนื่องจากศึกเมเจอร์ลีก ซอคเกอร์ สหรัฐฯ มีกำหนดเปิดฤดูกาลในวันที่ 17 เมษายน โดยนัดแรกจะดวลกับ แอตแลนตา ยูไนเต็ด
ฟุตบอลฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง
This website uses cookies.