Football Sponsored
Categories: ฟุตบอล

สื่อจัด 10 อันดับ สนามฟุตบอล ดีที่สุดใน บริเตน

Football Sponsored
Football Sponsored

โฟร์ โฟร์ ทู นิตยสารลูกหนังยักษ์ใหญ่จัดอันดับสนามฟุตบอลที่ดีที่สุดของบริเตนส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ออกมาแล้วโดยพิจารณาจากบรรยากาศของสังเวียนแข้งเป็นสำคัญ

โฟร์ โฟร์ ทู ประกาศผลการจัดอันดับสนามฟุตบอลทั้งใน อังกฤษ ,สกอตแลนด์ และ เวลส์ ออกมารวม 50 อันดับ แต่หากจะนับเฉพาะ 10 อันดับแรกที่สื่อเจ้าดังกล่าวพิจารณาในแง่บรรยากาศของเกมเป็นสำคัญ ปรากฏว่าสองทีมดังของลีกเมืองน้ำเมาจองอันดับหนึ่ง และสองด้วยกันทั้งคู่

อย่างไรก็ดี โฟร์ โฟร์ ทู ยกให้สนาม ไอบร็อกซ์ ของ เรนเจอร์ส ครองแชมป์โดยระบุว่าสังเวียนแข้งขนาดความจุผู้ชม 50,817 คนเปี่ยมไปด้วยมนต์ขลังของเสียงเชียร์ และความคึกคักทั้งในและนอกสนามเหนือกว่าสนาม เซลติก พาร์ค ของสโมสร เซลติก คู่ปรับในศึก โอลด์ เฟิร์ม ดาร์บี้ ซึ่งรองรับแฟนบอลได้มากกว่าจำนวน 60,411 ที่นั่ง

ด้าน แอนฟิลด์ ของ ลิเวอร์พูล รั้งอันดับสาม แต่เป็นสนามฟุตบอลที่ดีที่สุดของเมืองผู้ดี ขณะที่ โอลด์ แทรฟฟอร์ด ของ แมนฯ ยูไนเต็ด รั้งอันดับห้าโดยมี คราเวน คอทเทจ ของ ฟูแล่ม สร้างความฮือฮาอยู่ในอันดับสี่ ส่วน  เวมบลีย์ ซึ่งจุผู้ชมได้ 90,000 คนติดอยู่ในอันดับสิบ

สรุปท็อปเทนสนามฟุตบอลที่ดีที่สุดในบริเตนของ โฟร์ โฟร์ ทู

1.ไอบร็อกซ์ (เรนเจอร์ส)

2.เซลติก พาร์ค (เซลติก)

3.แอนฟิลด์ (ลิเวอร์พูล)

4.คราเวน คอทเทจ (ฟูแล่ม)

5.โอลด์ แทรฟฟอร์ด (แมนฯ ยูไนเต็ด)

6. วิลล่า พาร์ค (แอสตัน วิลล่า)

7. ท๊อตแน่ม ฮ็อตสเปอร์ สเตเดี้ยม (สเปอร์ส)

8.เซนต์ เจมส์พาร์ค (นิวคาสเซิ่ล)

9.ไทน์คาสเซิ่ล พาร์ค (ฮาร์ท ออฟ มิดโลเธียน)

10.เวมบลีย์ (อังกฤษ)

ที่มาของภาพ : ฟุตบอล

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.