Football Sponsored
Categories: ฟุตบอล

สูงสุด 9 ประตู “ฟุตบอลโลก” รอบชิงที่ 3 ยิงเกิน 3 ลูก 11 ครั้ง ก่อนเกมโครเอเชีย-โมร็อกโก

Football Sponsored
Football Sponsored

วันที่ 16 ธันวาคม 2565 ไทยรัฐสปอร์ต รวบรวมสถิติ ของทั้ง 21 ครั้งที่ผ่านมา ก่อนเกมฟุตบอลโลก 2022 รอบชิงอันดับ 3 ระหว่าง ทีมชาติโครเอเชีย พบกับ ทีมชาติโมร็อกโก คืนวันเสาร์ที่ 17 ธันวาคมนี้ แข่งขัน 22.00 น. ตามเวลาประเทศไทย

แม้ฟุตบอลโลก รอบชิงอันดับ 3 จะเป็นเกมที่ดูเหมือนว่าไม่มีความหมายแล้ว เนื่องจากเป็นการพบกันของ 2 ทีมผู้แพ้จากรอบรองชนะเลิศ แต่สถิติที่ผ่านมาระบุว่าเกมนัดชิงที่ 3 มีการทำประตูค่อนข้างเยอะแทบทุกครั้ง โดยมีถึง 11 สมัยที่มีสกอร์รวมกันมากกว่า 3 ประตู และมีเพียง 3 ครั้งที่ชนะกันด้วยสกอร์แค่ 1-0 ดังนี้

ฟุตบอลโลก 1934 – เยอรมนี ชนะ ออสเตรีย 3-2

ฟุตบอลโลก 1938 – บราซิล ชนะ สวีเดน 4-2

ฟุตบอลโลก 1950 – สวีเดน ชนะ สเปน 3-1

ฟุตบอลโลก 1954 – ออสเตรีย ชนะ อุรุกวัย 3-1

ฟุตบอลโลก 1958 – ฝรั่งเศส ชนะ เยอรมนีตะวันตก 6-3

ฟุตบอลโลก 1962 – ชิลี ชนะ ยูโกสลาเวีย 1-0

ฟุตบอลโลก 1966 – โปรตุเกส ชนะ สหภาพโซเวียต 2-1

ฟุตบอลโลก 1970 – เยอรมนีตะวันตก ชนะ อุรุกวัย 1-0

ฟุตบอลโลก 1974 – โปแลนด์ ชนะ บราซิล 1-0

ฟุตบอลโลก 1978 – บราซิล ชนะ อิตาลี 2-1

ฟุตบอลโลก 1982 – โปแลนด์ ชนะ ฝรั่งเศส 3-2

ฟุตบอลโลก 1986 – ฝรั่งเศส ต่อเวลาพิเศษชนะ เบลเยียม 4-2 (เสมอ 2-2 ในเวลา 90 นาที)

ฟุตบอลโลก 1990– อิตาลี ชนะ อังกฤษ 2-1

ฟุตบอลโลก 1994 – สวีเดน ชนะ บัลแกเรีย 4-0

ฟุตบอลโลก 1998 – โครเอเชีย ชนะ เนเธอร์แลนด์ 2-1

ฟุตบอลโลก 2002 – ตุรกี ชนะ เกาหลีใต้ 3-2

ฟุตบอลโลก 2006 – เยอรมนี ชนะ โปรตุเกส 3-1

ฟุตบอลโลก 2010 – อุรุกวัย ชนะ เนเธอร์แลนด์ 3-2

ฟุตบอลโลก 2014 – เนเธอร์แลนด์ ชนะ บราซิล 3-0

ฟุตบอลโลก 2018 – เบลเยียม ชนะ อังกฤษ 2-0

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.