ส.ฟุตบอล 10 ชาติยุโรป กดดัน 'กาตาร์' ชดเชยแรงงานที่เสียชีวิต
ส.ฟุตบอล 10 ชาติยุโรป กดดัน ‘กาตาร์’ ชดเชยแรงงานที่เสียชีวิต
หลังจากที่สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ(ฟีฟ่า) และกาตาร์ เจ้าภาพฟุตบอลโลก 2022 ส่งหนังสือแจ้ง 32 ชาติที่ร่วมแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งนี้ ให้เน้นไปที่การแข่งขันฟุตบอลมากกว่าการออกมาวิจารณ์กาตาร์ในประเด็นที่ถูกสังคมจับตามอง ทั้งเรื่องกฎหมายการเอาผิดกลุ่มรักร่วมเพศ การละเมิดสิทธิมนุษยชน รวมทั้งการที่มีแรงงานในการสร้างสนามแข่งขันเสียชีวิตจำนวนมากในช่วงที่ผ่านมา
ล่าสุด สมาคมและสหพันธ์ฟุตบอลในยุโรป 10 ประเทศ ได้แก่ เบลเยียม เดนมาร์ก อังกฤษ เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ โปรตุเกส สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์ เวลส์ ได้ร่วมกันออกแถลงการณ์เกี่ยวกับเรื่องนี้ ว่า ทั้ง 10 ประเทศเข้าใจและยอมรับเรื่องความหลากหลาย นั่นหมายถึงว่า สนับสนุนให้เรื่องสิทธิมนุษยชนอยู่ในทุกๆ ที่ รวมทั้งจะติดตามการจ่ายเงินชดเชยให้กับแรงงาน รวมทั้งการตั้งศูนย์แรงงานต่างด้าว ในกรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ ตามที่ฟีฟ่าและกาตาร์ได้ยืนยันไว้ เราเชื่อมั่นในพลังของฟุตบอลที่จะสร้างสิ่งดีๆ ที่จะเปลี่ยนโลกนี้ให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืนได้
ขณะที่ชีกโมฮัมเหม็ด บิน อับดุลราห์มาน อัล-ธานี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของกาตาร์ กล่าวว่า การวิจารณ์กาตาร์เป็นเรื่องการตบตาทั้งสิ้น เพราะ 10 ประเทศนี้ ไม่ได้เป็นตัวแทนของคนทั้งโลก
ฟุตบอลฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง
This website uses cookies.