Football Sponsored
Categories: ฟุตบอล

เปิดโปรแกรมพรีเมียร์ฯโค้งสุดท้าย7ทีมหัวตาราง

Football Sponsored
Football Sponsored

เปิดโปรแกรม พรีเมียร์ลีก ช่วงโค้งสุดท้ายซีซั่นของทั้ง แมนฯ ซิตี้, แมนฯ ยูไนเต็ด, เลสเตอร์, เชลซี, เวสต์แฮม, สเปอร์ส และ ลิเวอร์พูล 7 ทีมหัวแถวของตาราง

     ฟุตบอล พรีเมียร์ลีก อังกฤษ จะกลับมาเริ่มดวลแข้งกันอีกครั้งในวันเสาร์ที่ 3 เมษายนนี้ หลังช่วงปลายเดือนมีนาคม ที่ผ่านมาต้องหลีกให้กับโปรแกรมฟุตบอลโลก 2022 รอบคัดเลือก โซนยุโรป

    ในเวลานี้ แมนฯ ซิตี้ รั้งจ่าฝูงมี 71 คะแนนจาก 30 นัด ตามมาด้วย แมนฯ ยูไนเต็ด เตะ 29 นัดมี 57 คะแนน, เลสเตอร์ เตะ 29 นัด มี 56 คะแนน, เชลซี 29 นัด 51 คะแนน, เวสต์แฮม เตะ 29 นัด มี 49 คะแนน, ท็อตแน่ม ฮ็อทสเปอร์ 29 นัด 48 คะแนน และ ลิเวอร์พูล 29 นัด 46 คะแนน
    
    สำหรับโปรแกรมเฉพาะใน พรีเมียร์ลีก ช่วงโค้งสุดท้ายซีซั่นของทั้ง 7 ทีมหัวตารางมีดังนี้

        แมนฯ ซิตี้

3 เม.ย.: เลสเตอร์ (เยือน) 
10 เม.ย.: ลีดส์ (เหย้า)
21 เม.ย.: แอสตัน วิลล่า (เยือน)
1 พ.ค. : คริสตัล พาเลซ (เยือน)
8 พ.ค. : เชลซี (เหย้า)
12 พ.ค. : นิวคาสเซิ่ล (เยือน)
15 พ.ค. : ไบรท์ตัน (เยือน)
23 พ.ค. : เอฟเวอร์ตัน (เหย้า)

        แมนฯ ยูไนเต็ด

4 เม.ย.: ไบรท์ตัน (เหย้า)
11 เม.ย.: สเปอร์ส (เยือน)
18 เม.ย.: เบิร์นลี่ย์ (เหย้า)
25 เม.ย.: ลีดส์ (เยือน)
1 พ.ค. : ลิเวอร์พูล (เหย้า)
8 พ.ค. : แอสตัน วิลล่า (เยือน)
11 พ.ค. : เลสเตอร์ (เหย้า)
15 พ.ค. : ฟูแล่ม (เหย้า)
23 พ.ค. : วูล์ฟส์ (เยือน)

        เลสเตอร์

 3 เม.ย. : แมนฯ ซิตี้ (เหย้า)
 11 เม.ย. : เวสต์แฮม (เยือน)
 22 เม.ย. : เวสต์บรอมวิช (เหย้า)
 26 เม.ย. : คริสตัล พาเลซ (เหย้า)
1 พ.ค. : เซาธ์แฮมป์ตัน (เยือน)
8 พ.ค. : นิวคาสเซิ่ล (เหย้า)
11 พ.ค. : แมนฯ ยูไนเต็ด (เยือน)
15 พ.ค. : เชลซี (เยือน)
23 พ.ค. : สเปอร์ส (เหย้า)

        เชลซี

3 เม.ย. : เวสต์บรอมวิช (เหย้า)
10 เม.ย. : คริสตัล พาเลซ (เยือน)
20 เม.ย. : ไบรท์ตัน (เหย้า)
24 เม.ย. : เวสต์แฮม (เยือน)
1 พ.ค. : ฟูแล่ม (เหย้า)
8 พ.ค. : แมนฯ ซิตี้ (เยือน)
12 พ.ค. : อาร์เซน่อล (เหย้า)
15 พ.ค. : เลสเตอร์ (เหย้า)
23 พ.ค. : แอสตัน วิลล่า (เยือน)

        เวสต์แฮม

5 เม.ย. : วูล์ฟส์ (เยือน)
10 เม.ย. : เลสเตอร์ (เหย้า)
17 เม.ย. : นิวคาสเซิ่ล (เยือน)
24 เม.ย. : เชลซี (เหย้า)
1 พ.ค. : เบิร์นลี่ย์ (เยือน)
8 พ.ค. : เอฟเวอร์ตัน (เหย้า)
11 พ.ค. : ไบรท์ตัน (เยือน)
15 พ.ค. : เวสต์บรอมวิช (เยือน)
23 พ.ค. : เซาธ์แฮมป์ตัน (เหย้า)

    สเปอร์ส

4 เม.ย. : นิวคาสเซิ่ล (เยือน) 
11 เม.ย. : แมนฯ ยูไนเต็ด (เหย้า)
16 เม.ย. : เอฟเวอร์ตัน (เยือน)
21 เม.ย. : เซาธ์แฮมป์ตัน (เหย้า)
1 พ.ค. : เชฟฯ ยูไนเต็ด (เหย้า)
8 พ.ค. : ลีดส์ (เยือน)
12 พ.ค. : วูล์ฟส์ (เหย้า)
15 พ.ค. : แอสตัน วิลล่า (เหย้า)
23 พ.ค. : เลสเตอร์ (เยือน)

        ลิเวอร์พูล

3 เม.ย. : อาร์เซน่อล (เยือน)
10 เม.ย. : แอสตัน วิลล่า (เหย้า)
19 เม.ย. : ลีดส์ (เยือน)
24 เม.ย. : นิวคาสเซิ่ล (เหย้า)
1 พ.ค. : แมนฯ ยูไนเต็ด (เยือน)
8 พ.ค. : เซาธ์แฮมป์ตัน (เหย้า)
11 พ.ค. : เวสต์บรอมวิช (เยือน)
15 พ.ค. : เบิร์นลี่ย์ (เยือน)
23 พ.ค. : คริสตัล พาเลซ (เหย้า)

อีกหนึ่งช่องทางในการติดตามข่าวสาร
Add friend ที่ @Siamsport
Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.