เดากันเองว่าเป็นใคร “คอลัมนิสต์ลูกหนังไทยชื่อดัง” เผยอักษรย่อ ย. ตัวแทน “บิ๊กอ๊อด”
วันที่ 17 ต.ค. 65 ไปเดากันเองว่าเป็นใคร วรเทพ มากโภคา เจ้าของนามปากกา “บี บางปะกง” คอลัมนิสต์ลูกหนังชื่อดังของไทย ออกมาเปิดเผยชื่ออักษรย่อ ย. คือตัวแทนที่จะก้าวขึ้นมานั่งตำแหน่ง นายกสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ คนต่อไป ต่อจาก “บิ๊กอ๊อด” พล.ต.อ.ดร. สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง
เป็นที่เข้าใจกันว่า “บิ๊กอ๊อด” พล.ต.อ.ดร.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ประมุขลูกหนังไทยคนปัจจุบัน นั่งตำแหน่งดังกล่าวมาแล้ว 2 สมัย โดยที่สมัยล่าสุดนี้จะหมดวาระลงในปี พ.ศ. 2567 ซึ่งแม้ตาม ตามระเบียบฟีฟ่า ที่ออกมาเมื่อ 30 มีนาคมที่ ผ่านมา โดยมีระเบียบข้อหนึ่งที่ทำให้ตัวเขาสามารถลงชิงเก้าอี้นายก ส.บอลฯ สมัยที่ 3 ได้ แต่ทว่าดูเหมือนนี่จะเป็นสมัยสุดท้ายของเจ้าตัวแล้ว โดยมีชื่อของ พล.ต.อ. จักรทิพย์ ชัยจินดา, “เดอะตุ๊ก” ปิยะพงษ์ ผิวอ่อน, “มาดามแป้ง” นวลพรรณ ล่ำซำ อยู่ใผกระแสข่าว
ล่าสุด “บี บางปะกง” คอลัมนิสต์ลูกหนังชื่อดังของไทย ก็ออกมารายงานถึงกระแสข่าวดังกล่าวถึงตัวแทน “บิ๊กอ๊อด” พล.ต.อ.ดร. สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง โดยตัวเขาระบุเพียงสั้นๆ ว่า คนที่มีลุ้นเข้ามาลุ้นตำแหน่งดัวกล่าวโดยบอกอักษรย่อว่า “บิ๊ก ย.ยักษ์” โดยได้มีการประชุมกันมาแล้วตอนช่วง โมโตจีพี 2022 ที่ประเทศไทยโดยบุคคลรายนี้อยู่กับบอลไทยของเรามาช้านาน และช่วงหลังๆ บิ๊กท่านนี้ ถูกชูให้เป็นประธานงานใหญ่น้อยต่างๆ ของสมาคมฯ ถี่ขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
ฟุตบอลฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง
This website uses cookies.