สกอร์ 14-0 ว่าโหดแล้ว สถิติในเกมยุ่นยำมองโกล โหดกว่า
ศึกฟุตบอลโลก 2022 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย กลุ่ม เอฟ เกมที่มองโกเลีย เปิดสนามฟุกุ อาริ เมือง ชิบะ ลงเล่นกับทีมชาติ ญี่ปุ่น เบอร์หนึ่งเอเชีย เกมดังกล่าวเมื่อวันที่ 30 มี.ค.64 ที่ผ่านมา ญี่ปุ่น เป็นฝ่ายถล่มเอาชนะ มองโกเลยไปได้ถึง 14-0 ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มองโกเลียผ่านเข้าสู่รอบสองของการคัดเลือกฟุตบอลโลก โซนเอเชีย หลังจากในรอบแรกเอาชนะ บรูไนมาได้ 3-2
มองโกเลีย สร้างสถิติเข้ารอบสองคัดเลือกฟุตบอลโลกเอเชีย พร้อมกับ ประเดิมสถิติที่น่าจดจำด้วยการเก็บชัยชนะครั้งแรกเหนือ เมีย
นมา 1-0 นั่นคือ 3 แต้มที่ปักหมุดไว้ตั้งแต่วันที่ 5 ก.ย.62 หลังจากนั้นมาอีก 5 เกมพ่ายรวด ( แพ้ ทาจิกิสถาน 0-1,แพ้ ญี่ปุ่น 0-6,แพ้ คีกีซสถาน1-2,แพ้ เมียนมา 0-1,แพ้ ทาจิกิสถาน 0-3 และ แพ้ ญี่ปุ่น 0-14) ผลงานความพ่ายแพ้ล่าสุดต่อญี่ปุ่น 0-14 ทำให้มองโกเลีย ถือครองสถิติย่ำแย่แพ้ขาดรอยสุดในการคัดเลือกฟุตบอลโลก 2022 รอบคัดเลือกโซนเอเชีย เทียบเท่ากับ กัมพูชา ที่บุกพ่าย อิหร่าน 0-14
ตลอด 90 นาทีของเกมนี้ที่ว่ากันตามมาตรฐานของทีมมองโกเลีย อันดับ 190 ของโลก กับ ญี่ปุ่น อันดับ 27 ของโลก และเบอร์หนึ่ง
เอเชีย แม้ว่าผลสกอร์ที่ออกมาขาดทะลุแต่ทั้งสองทีมได้รับการชื่นชมทั้งสองทีมในมุมของการต่อสู้ มองโกเลีย ได้รับการชื่นชมว่าเป็นทีมที่มีความตั้งใจไม่เล่นนอกเกมเมื่อฟุตบอลแพ้ขาด ขณะเดียวกันญี่ปุ่น เป็นทีมที่เล่นฟุตบอลอย่างมืออาชีพ แม้ว่าคู่ต่อกรจะอ่อนชั้นกว่าโดยสื่อบราซิลได้เปิดมุมมองที่น่าสนใจของญี่ปุ่นคือเรื่องของการแข่งขันต่อสู้ของผู้เล่นในประเทศที่มีจำนวนมหาศาลในแง่ของคุณภาพทำให้ผู้เล่นทุกคนที่ได้รับโอกาสเล่นทีมชาติพยายามแสดงออกในแง่ของความสามารถทุกวินาทีที่ลงสนามเพื่อจะเป็นตัวเลือกในครั้งต่อ
สถิติที่น่าสนใจ มองโกเลีย 0-14 ญี่ปุ่น
มองโกเลีย ญี่ปุ่น
โอกาสยิงประตู 2 34
ยิงเข้ากรอบ 0 25
การครองบอล 20% 80%
การผ่านบอล 196 734
ความแม่นยำในการส่งบอล 47% 89%
ฟาล์ว 4 10
ล้ำหน้า 0 8
เตะมุม 1 12
ใบเหลือง 0 0
ใบแดง 0 0
อีกหนึ่งช่องทางในการติดตามข่าวสาร
Add friend ที่ @Siamsport
ฟุตบอลฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง
This website uses cookies.