Football Sponsored
Categories: ฟุตบอล

“กัปตันชนาธิป” สวมเบอร์ 18 ตัวเก่งเปิดเบอร์เสื้อทัพไทยบู๊คิงส์คัพ

Football Sponsored
Football Sponsored

พลพรรค “ช้างศึก” ทีมชาติไทย ชุดใหญ่ ได้เปิดเผยเบอร์เสื้อ ที่จะใช้สำหรับการแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ครั้งที่ 48 ออกมาเป็นที่เรียบร้อย โดย “กัปตันเจ” ชนาธิป สรงกระสินธ์ ยังคงใช้เบอร์ 18 ที่พาทีมผงาดเป็นแชมป์อาเซียน 2020 ตามเดิม ขณะที่ จักรพันธ์ แก้วพรม มิดฟิลด์จอมเก๋าวัย 34 ปี สวมเบอร์ 10 แทนที่ของ “มุ้ย” ธีรศิลป์ แดงดา ที่ไม่มีชื่อติดทีมในครั้งนี้

โดยหมายเลขเบอร์เสื้อของทัพ “ช้างศึก” มีดังต่อไปนี้

หมายเลข 1 กัมพล ปฐมอรรฆย์กุล

หมายเลข 2 ฉัตรมงคล เรืองฐณโรจน์

หมายเลข 3 ธีราทร บุญมาทัน

หมายเลข 4 พรรษา เหมวิบูลย์

หมายเลข 5 กฤษดา กาแมน

หมายเลข 6 สมัญญา ปุริสาย

หมายเลข 7 สุภโชค สารชาติ

หมายเลข 8 ฐิติพันธ์ พ่วงจันทร์

หมายเลข 9 ศุภชัย ใจเด็ด

หมายเลข 10 จักรพันธ์ แก้วพรม

หมายเลข 11 บดินทร์ ผาลา

หมายเลข 12 วีระเทพ ป้อมพันธุ์

หมายเลข 13 ศุภนันท์ บุรีรัตน์

หมายเลข 14 ปฐมพล เจริญรัตนาภิรมย์

หมายเลข 15 นฤบดินทร์ วีรวัฒโนดม

หมายเลข 16 พิธิวัตต์ สุขจิตธรรมกุล

หมายเลข 17 ศุภณัฏฐ์ เหมือนตา

หมายเลข 18 ชนาธิป สรงกระสินธ์ (กัปตันทีม)

หมายเลข 19 พิชา อุทรา

หมายเลข 20 กิตติพงษ์ ภูแถวเชือก

หมายเลข 21 ธีรศักดิ์ เผยพิมาย

หมายเลข 22 เฉลิมศักดิ์ อักขี

หมายเลข 23 ชาญณรงค์ พรมศรีแก้ว

สำหรับทีมชาติไทย พบ ทีมชาติมาเลเซีย จะลงเตะเป็นคู่ที่ 2  ณ สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี เวลา 20.30 น. ในวันพฤหัสบดีที่ 22 ก.ย.65 ถ่ายทอดสดทางช่องไทยรัฐทีวี HD32 และช่อง AIS Play โดยผู้ชนะจะผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ ในวันอาทิตย์ที่ 25 ก.ย.65

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.