Football Sponsored
Categories: ฟุตบอล

ดวลฟรอนทาเล-ซัปโปโร! 'บุรีรัมย์-บีจี' ร่วมระเบิดศึก J.LEAGUE ASIA CHALLENGE | Goal.com ภาษาไทย

Football Sponsored
Football Sponsored

เจลีก คอนเฟิร์มจัดฟุตบอลทัวร์นาเมนต์พิเศษในปี 2022 เชิญ ฟรอนทาเล และ ซัปโปโร โม่แข้งที่ประเทศไทย ดวล บุรีรัมย์ และ บีจี ปทุมฯ

เจลีก (J.LEAGUE) ลีกฟุตบอลอาชีพแห่งประเทศญี่ปุ่น ประกาศจัดการแข่งขันฟุตบอลรายการ 2022 J.LEAGUE ASIA CHALLENGE ในประเทศไทย เชิญ คาวาซากิ ฟรอนทาเล และ คอนซาโดเล ซัปโปโร ร่วมโม่แข้งกับ บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด และ บีจี ปทุม ยูไนเต็ด

การแข่งขันฟุตบอลรายการ 2022 J.LEAGUE ASIA CHALLENGE ในประเทศไทย เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ J.League Asia Strategy ที่ได้จัดการแข่งขันฟุตบอลในประเทศพันธมิตรของเจลีกเป็นเวลา 3 ปี นับตั้งแต่ฤดูกาล 2017

การเเข่งขันนี้จะเกิดขึ้นที่ประเทศไทยเป็นครั้งเเรกในรอบ 3 ปี โดยเป็นความร่วมมือระหว่างลีกต่างๆ ตั้งเเต่ ฤดูกาล 2012 และได้มีการดำเนินโครงการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และบุคลากรด้านฟุตบอลหลายโครงการ รวมถึงการเเข่งขัน Asia Challenge ในฤดูกาล 2017 และ 2019

ปัจจุบันมีผู้เล่นชาวไทยที่มีบทบาทกับทีมในฤดูกาล 2022 ประกอบด้วย ชนาธิป สรงกระสินธ์ ของทีม คาวาซากิ ฟรอนทาเล เเละ สุภโชค สารชาติ ของทีม ฮอกไกโด คอนซาโดเล ซัปโปโร ซึ่งนักฟุตบอลทั้งสองคน ได้การตอบรับที่ดีและได้รับกำลังใจจากเเฟนบอลเป็นอย่างมาก

ทางเจลีก จึงได้จัดการเเข่งขัน 2022 J.LEAGUE ASIA CHALLENGE ขึ้นในประเทศไทย โดยร่วมมือกับสโมสรในเจลีก และ ไทยลีก ได้แก่ ฮอกไกโด คอนซาโดเล ซัปโปโร, คาวาซากิ ฟรอนทาเล, บีจี ปทุม ยูไนเต็ด และ บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ซึ่งจะมีการจัดการเเข่งขันทั้งหมด 3 เเมทช์ ด้วยกัน ในเดือนพฤศจิกายน 2565

ทั้งนี้โปรแกรมการแข่งขันจะประกาศให้ทราบอีกครั้งในภายหลัง

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.