ฟีฟ่า ฟันโทษแบนฟุตบอล อินเดีย ระงับเจ้าภาพ เวิลด์คัพ ฟุตบอลหญิง ยู-17
สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (ฟีฟ่า) สั่งลงดาบระงับทุกกิจกรรมของ สมาคมฟุตบอลอินเดีย (เอไอเอฟเอฟ) ชั่วคราวโดยมีผลทันทีเมื่อพวกเขาถูกแทรกแซงจากองค์กรภายนอกอันเป็นการละเมิดระเบียบปฎิบัติของชาติสมาชิก ฟีฟ่า
ผลจากการถูกลงโทษดังกล่าวทำให้ อินเดีย ไม่สามาถรับหน้าเสื่อจัดการแข่งขัน ฟุตบอลโลกหญิง ยู-17 ตามกำหนดการในเดือนตุลาคมนี้ได้ นับเป็นครั้งแรกที่สมาคนฟุตบอล อินเดีย ถูกตัดสินโทษแบนนับตั้งแต่ก่อตั้งมาเป็นเวลา 85 ปี
นอกจากนี้ทีมชาติ อินเดีย จะยังส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในรายการ เอเชียนคัพ 2023 รอบสุดท้าย และคิวเตะเกมกระชับมิตร ฟีฟ่าเดย์ เดือนกันยายนนี้ดวลกับทีมชาติ เวียดนาม จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ด้วยเช่นเดียวกัน
ต้นตอเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อศาลสูงสุดของ อินเดีย ได้ใช้อำนาจถอดถอนตำแหน่งบุคลากรในตำแหน่งคณะกรรมการบริหาร สมาคมฟุตบอลอินเดีย ตามด้วยการแต่งตั้งบุคคลให้ปฎิบัติหน้าที่แทน อันเป็นสาเหตุของการกระทำผิดข้อบังคับของ ฟีฟ่า ที่ถูกแทรกแซงโดยบุคคลที่ 3
ฟุตบอลฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง
This website uses cookies.