Football Sponsored
Categories: ฟุตบอล

“เฮงซัง”ยกนิ้วแข้งเลือดใหม่เมืองทองแจ๋ว ซูฮกเดินถูกทางปั้นใช้เอง

Football Sponsored
Football Sponsored

ควันหลงจากเกมนัดที่ 18 ของไทยลีก 1 ฤดูกาล 2020 เลกสอง เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ณ สนาม ชลบุรี สเตเดี้ยม ที่ ชลบุรี เอฟซี แพ้คาบ้านให้ เอสซีจี เมืองทองฯ 1-2 เป็นการแพ้ไปกลับในฤดูกาลนี้ให้กับพลพรรค “กิเลนผยอง” ของ “ฉลามชล” ด้วยหลังเลกแรก เมื่อ 1 มี.ค. 2563 บุกแพ้มาก่อน 0-1

    “โค้ชเฮง” วิทยา เลาหกุล อดีตทีมชาติไทยชื่อดังที่เคยไปค้าแข้งในลีกญี่ปุ่น ทั้งกับ ยันมาร์ ดีเซล , มัตสึชิตะ ( กัมบะ โอซาก้า ) รวมถึง ในลีกยุโรป  ลีกเยอรมัน กับ ทั้ง แฮธ่า เบอร์ลิน และ ซาร์บรู๊คเค่น มาแล้ว ในฐานะประธานเทคนิคของ “ฉลามชล” ที่ชมเกมนัดดังกล่าวที่สนาม ชลบุรีฯ ด้วยได้ออกมากล่าวถึง ฟอร์มการเล่นของขุนพล “กิเลนผยอง” ว่า เล่นได้ดีมีอนาคต 

    “โค้ชเฮง” กล่าวว่า “ผมขอชื่นชมนักเตะเอสซีจี เมืองทองฯ โดยเฉพาะบรรดานักเตะดาวรุ่งสายเลือดใหม่หลายๆรายทำหน้าที่ได้ยอดเยี่ยม เล่นฟุตบอลกันอย่างมีระบบ เด็กสายเลือดใหม่ที่ล้วนเป็นเด็กปั้นของ เอสซีจี เมืองทองฯ ชุดนี้ที่มาจากชุดเยาวชนนั้นเป็นนักเตะที่มีอนาคตสดใสในการเล่นฟุตบอลอาชีพแน่นอน”

    “ผมบอกเลยว่า เอสซีจี เมืองทองฯ นั้นเดินมาถูกทางแล้ว และนี่ล่ะคือวิถีทางของการทำทีมฟุตบอลอาชีพอย่างยั่งยืน ด้วยการใช้เด็กสร้างของตัวเองมาใช้งาน ไม่ต้องไปใช้วิธีเป็นเจ้าบุญทุ่ม ดึงนักเตะฝีเท้าดีที่ต้องจ่ายเงินเดือนมากๆมาร่วมทีม”

    “เด็กชุดนี้ของ เอสซีจี เมืองทองฯ ผมติดตามพวกเขามาตลอด ยอมรับว่าทุกคนพัฒนาขึ้นมาก ขอเวลาอีกไม่นานเมื่อนักเตะชุดนี้เก็บเกี่ยวประสบการณ์ได้มากพอ พวกเขาจะก้าวมาเป็นกำลังสำคัญให้กับทีมที่จะมีอายุใช้งานให้ เอสซีจี เมืองทองฯ ได้อีกหลายปี รวมไปถึงทีมชาติไทยอีกด้วย ผมมั่นใจ”

อีกหนึ่งช่องทางในการติดตามข่าวสาร
Add friend ที่ @Siamsport
Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.