Football Sponsored
Categories: ฟุตบอล

“ส.ฟุตบอล” แจงไม่เคยค้างชำระหนี้ ต่อการกีฬาแห่งประเทศไทย – สำนักข่าว บางกอก ทูเดย์

Football Sponsored
Football Sponsored

สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ชี้แจงได้จัดส่งเอกสารทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการจัดการแข่งขันฟุตบอล​ และฟุตซอล​ แก่การกีฬาแห่งประเทศไทย​ โดนบัดนี้ อยู่ระหว่างการตรวจสอบเอกสารของฝ่ายการคลัง ที่รับเอกสารไปตั้งแต่เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2563 และมิได้แจ้งขอเอกสารใดเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบันนี้

ตามที่ ปรากฏข่าวในรายการ สนามข่าว 7 สี – วาไรตี้กีฬาไทยของสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 https://news.ch7.com/detail/576519 ว่า สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ค้างชำระหนี้ การกีฬาแห่งประเทศไทย นั้น

ขอเรียนว่า สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ได้รับการอนุมัติสนับสนุนงบประมาณกองทุนพัฒนากีฬาแห่งชาติ ในการประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 5/2562 วันที่ 20 กันยายน 2562 และครั้งที่ 6/2562 วันที่ 25 พฤศจิกายน 2562 เพื่อการจัดการแข่งขันกีฬาฟุตบอลรายการ AFC U-23 Championship 2020 ระหว่างวันที่ 6 – 27 มกราคม 2563 เป็นเงิน 171,982,040 บาท

ในการนี้ สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ได้ขออนุมัติดำเนินการพร้อมยืมเงินทดรองค่าใช้จ่าย จำนวน 44,165,900 บาท เพื่อดำเนินการจัดการแข่งขัน โดยมี 16 ชาติเข้าร่วม ประกอบด้วย กลุ่ม A : ไทย, ออสเตรเลีย, อิรัก, บาห์เรน / กลุ่ม B : ซาอุดีอาระเบีย, ซีเรีย, กาตาร์, ญี่ปุ่น / กลุ่ม c : เกาหลีใต้,อุซเบกิสถาน,อิหร่าน,จีน และ กลุ่ม D : สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, จอร์แดน, เกาหลีเหนือ,เวียดนาม

เมื่อ สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ได้จัดการแข่งขันจนสำเร็จเรียบร้อย โดยมีค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 173,501,956.09 บาท สมาคมฯ ได้ส่งเอกสารเพื่อขอเบิกจ่ายเงินค่าใช้จ่ายจากการกีฬาแห่งประเทศไทย เต็มจำนวน 173,501,956.09 บาท แต่การกีฬาแห่งประเทศไทย อนุมัติค่าใช้จ่ายไม่เกินวงเงินงบประมาณ 171,982,040 บาท

โดยสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ได้รับเงินจากการกีฬาแห่งประเทศไทย จำนวน 127,816,140 บาท โดยการกีฬาแห่งประเทศไทยได้หักเงินยืมทดรองจ่ายไว้ จำนวน 44,165,900 บาท เป็นการหักกลบลบหนี้กันโดยการกีฬาแห่งประเทศไทย ยังมิได้หักทอนบัญชี จึงดูเหมือนว่า สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ เป็นหนี้การกีฬาแห่งประเทศไทย

ทั้งนี้ สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ได้จัดส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการจัดการแข่งขันให้แก่การกีฬาแห่งประเทศไทยไปตั้งแต่เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2563 บัดนี้ อยู่ระหว่างการตรวจสอบเอกสารของฝ่ายการคลัง โดยฝ่ายการคลังได้รับเอกสารไปตั้งแต่เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2563 แล้ว

สำหรับ การจัดการแข่งขันกีฬาฟุตซอลรายการ Continental Futsal Championship Thailand 2021 ซึ่งเป็นหรือฟุตซอลปรีซีซั่นของทีมชาติไทย ก่อนเดินทางไปเข้าร่วมแข่งขันศึกฟุตซอลชิงแชมป์โลก ที่ประเทศลิทัวเนีย

กองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ได้สนับสนุนเงินงบประมาณจำนวน 29,562,000 บาท ให้กับ สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ เพื่อดำเนินการจัดการแข่งขันกีฬาฟุตซอลรายการ Continental Futsal Championship Thailand 2021 ในระหว่างวันที่ 11-19 กรกฎาคม 2564 โดยมี 8 ชาติที่เข้าร่วมแข่งขัน ดังนี้ ฟุตซอลไทย , อุซเบกิสถาน , โคโซโว , โมซัมบิก, อิหร่าน , อียิปต์ , ทาจิกิสถาน , ลิทัวเนีย

ในการนี้ การกีฬาแห่งประเทศไทย ได้อนุมัติให้ดำเนินการพร้อมให้สมาคมฯดำเนินการตามขั้นตอนเพื่อยืมเงินทดรองค่าใช้จ่าย จำนวน 29,562,000 บาท

เมื่อ สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ได้จัดการแข่งขันจนสำเร็จเรียบร้อยด้วยดี โดยมีค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 29,562,000 บาท สมาคมฯ ได้ส่งเอกสารเพื่อขอหักล้างเงินทดรองจ่ายในการจัดการแข่งขัน (เคลียร์เงินทดรองจ่าย) ตั้งแต่เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2564

ซึ่งเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2564 ผู้อำนวยการกองพัฒนากีฬาเป็นเลิศ ปฏิบัติหน้าที่แทนผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนากีฬาเป็นเลิศ ได้ตรวจสอบเอกสารในส่วนที่เกี่ยวข้องเรียบร้อยแล้ว และได้ทำหนังสือขอให้ฝ่ายการคลัง ดำเนินการหักล้างเงินยืมทดรองจ่ายให้กับสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ เป็นเงิน 29,562,000 บาท เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ดังนั้น สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ จึงมิได้ค้างชำระหนี้ใดๆ ต่อไปแล้ว จึงขอชี้แจงให้สื่อมวลชนทั้งหลายทราบโดยทั่วกัน

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.