Football Sponsored
Categories: ฟุตบอล

11 นักเตะที่ไม่น่าเชื่อว่าครั้งหนึ่งเคยมีชื่อเข้าชิง “บัลลงดอร์”

Football Sponsored
Football Sponsored

รางวัล บัลลงดอร์ ที่ถูกจัดขึ้นโดยนิตยสาร ฟรองค์ฟุตบอล เพื่อมอบรางวัลแห่งเกียรติยศให้กับนักฟุตบอลที่ดีที่สุดในทุกๆ ปี นับตั้งแต่รางวัลนี้ได้ก่อตั้งเมื่อปี 1956 โดยมี สแตนลีย์ แมตต์ธิว นักฟุตบอลชาวอังกฤษ จากสโมสร แบล็กพูล เป็นคนแรกที่ได้ครองรางวัลนี้ แต่จนถึงปัจจุบันก็มีผู้เล่นบางคนที่เป็นข้อสงสัยว่าเขาดีพอที่คว้า บัลลงดอร์ ไปได้อย่างไร

นักเตะมากหน้าหลายตาทั่วยุโรปที่เคยถูกเสนอชื่อให้เข้ามาลุ้นรางวัลอันเกียรติยศนี้ บางคนในปัจจุบันถ้าแฟนฟุตบอลได้ยินชื่อแล้วจะต้องร้องเหวอ ว่าเขาเหล่านี้เคยเก่งกล้าจนมีชื่อเข้าทำเนียบลุ้นคว้า บัลลงดอร์ ได้อย่างไร

ไทยรัฐสปอร์ต จะพาไปชม 11 นักฟุตบอลที่เคยมีชื่อลุ้นเข้าชิงรางวัล บัลลงดอร์ ที่คุณได้ยินชื่อแล้วจะต้องประหลาดใจ

1. นิโกส์ มาคลาส – วิเทส อาร์เนม ปี 1998

อดีตกองหน้าทีมชาติกรีซ มีสถิติการยิงประตูตลอดอาชีพการค้าแข้งที่ยอดเยี่ยม แต่ด้วยทีมที่เขาลงเล่นส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นทีมใหญ่เลยไม่ได้รับการยกย่องเท่าที่ควร ทั้งๆ ที่ฤดูกาล 1997-1998 เขาสามารถพังตาข่ายคู่แข่งได้ 60 ประตูจากการลงสนามให้กับ วิเทส อาร์เน่ม 92 นัด จนคว้ารางวัลรองเท้าทองคำได้ในปี 1998 พร้อมมีชื่อเข้าชิง บัลลงดอร์ ในปีเดียวกัน


2. ปาป้า บูบ้า ดิยุป – กราสฮอปเปอร์ ซูริค / ทีมชาติเซเนกัล ปี 2002

อดีตดาวเตะทีมชาติเซเนกัลผู้ล่วงลับ ที่เคยมาสร้างชื่อบนเวที พรีเมียร์ลีก กับ ฟูแลม และปอร์ตสมัธ เขามีชื่อเสียงอย่างมากในการเป็นหนึ่งในขุนผลทีมชาติเซเนกัล ชุดสู้ศึกฟุตบอลโลกปี 2002 ที่ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ เป็นเจ้าภาพร่วม ซึ่งเขาเป็นผู้ทำประตูดับทีมชาติฝรั่งเศสในนัดเปิดสนามฟุตบอลโลกปีนั้นได้ แต่ในส่วนของรางวัล บัลลงดอร์ นั้น เขาได้รับคะแนนโหวตไปแค่ 2 เสียงเท่านั้น


Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.