Football Sponsored
Categories: ฟุตบอล

ฮาแลนด์รั้งเบอร์1ร่วมแข้งมูลค่าแพงสุดในโลกเฉือนสตาร์แมนยูไม่ลง

Football Sponsored
Football Sponsored

เปิด 10 อันดับนักเตะที่ถูกประเมินให้มีมูลค่ามากสุดในโลก และคิดเป็นเปอร์เซ็นต์อยู่ที่เท่าไหร่ภายในสโมสร โดยเบอร์ 1 ครองตำแหน่งร่วมกัน 2 คน

    มาร์คัส แรชฟอร์ด กองหน้า แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด และ เออร์ลิ่ง ฮาแลนด์ ดาวยิง โบรุสเซีย ดอร์ทมุนด์ เป็นนักเตะที่มีมูลค่าแพงสุดในโลก ตามข้อมูลจากหอสังเกตการณ์ฟุตบอลแห่งศูนย์นานาชาติเพื่อการศึกษาด้านกีฬา (ซีไออีเอส) เมื่อวันอังคารที่ 23 มีนาคม ที่ผ่านมา

    การวิเคราะห์มูลค่านักเตะพิจารณาจากทั้งเรื่องอายุ, ผลงาน และสัญญา เป็นต้น โดยทั้ง แรชฟอร์ด วัย 23 ปี และ ฮาแลนด์ วัย 20 ปี มีมูลค่าเท่ากันที่ระหว่าง 150-200 ล้านยูโร (ประมาณ 5,400-7,200 ล้านบาท)

    นอกจากนั้น แรชฟอร์ด ยังมีมูลค่าคิดเป็น 14.8 เปอร์เซ็นต์ของมูลค่ารวมนักเตะทั้งทีม “ปีศาจแดง” ขณะที่ ฮาแลนด์ มีมูลค่าคิดเป็น 21.5 เปอร์เซ็นต์ของมูลค่ารวมนักเตะทั้งทีม “เสือเหลือง” อีกด้วย

    10 อันดับนักเตะมูลค่าแพงสุดในโลก

นักเตะ            สโมสร        มูลค่า (ล้านยูโร)        มูลค่าในสโมสร (เปอร์เซ็นต์)

1. มาร์คัส แรชฟอร์ด        แมนฯ ยูไนเต็ด    150-200            14.8
2. เออร์ลิ่ง ฮาแลนด์        ดอร์ทมุนด์        150-200            21.5
3. ชูเอา เฟลิกซ์        แอต.มาดริด    120-150            17.9
3. ฟิล โฟเด้น         แมนฯ ซิตี้        120-150            10.3
3. คิลิยัน เอ็มบั๊ปเป้        เปแอสเช        120-150            22.3
3. บูกาโย ซาก้า        อาร์เซน่อล        120-150            20.0
7. ติโม แวร์เนอร์        เชลซี        90-120            11.1
7. เทรนต์ อเล็กซานเดอร์-อาร์โนลด์ ลิเวอร์พูล    90-120            12.0
7. อัลฟอนโซ่ เดวิส        บาเยิร์น        90-120            14.4
7. เฟรงกี้ เดอ ยองก์        บาร์เซโลน่า    90-120            11.8
7. เลาตาโร่ มาร์ติเนซ        อินเตอร์        90-120            14.6
7. มาต์ไตส์ เดอ ลิกต์        ยูเวนตุส        90-120            12.0
7. แฮร์รี่ เคน        สเปอร์ส        90-120        

อีกหนึ่งช่องทางในการติดตามข่าวสาร
Add friend ที่ @Siamsport
Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.