Football Sponsored
Categories: ฟุตบอล

รางวัลชิ้นโปรด”ซิโก้”หลังพิชิตลิเวอร์พูล 40 ปีก่อน

Football Sponsored
Football Sponsored

เรื่องราวชวนอมยิ้มของอดีตยอดดาวเตะทีมชาติ บราซิล ที่ยังคงใช้รถยนต์ที่ได้จากรางวัล แมน ออฟ เดอะ แมตช์ ในฟุตบอลสโมสรชิงแชมป์โลก หลังพาต้นสังกัดเอาชนะ ลิเวอร์พูล ได้เมื่อ 40 ปีก่อน

    ย้อนกลับไปเมื่อปี 1981 ณ ดินแดน ซามูไร ประเทศญี่ปุ่น ฟลาเมงโก้ ยอดสโมสรแห่งลีกแซมบ้า คว่ำ “หงส์แดง” ลิเวอร์พูล แชมป์ยุโรป 3-0 ในศึกอินเตอร์คอนติเนนทัล คัพ หรือที่รู้จักกันในนาม ฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก 

    3 ประตูของ ฟลาเมงโก้ ได้จากการเหมาสองประตูของ นูเนส และอีกหนึ่งลูกจาก อดิลิโอ แต่ผู้เล่นยอดเยี่ยมในเกมดังกล่าวคือ ซิโก้ กัปตันทีม ซึ่งทำให้เขาคว้ารถยนต์โตโยต้า รุ่นเซลิก้า มูลค่า 8,000 ปอนด์หรือประมาณ 340,000 บาทไปเป็นของรางวัล

    จากวันนั้นถึงวันนี้เวลาผ่านไป 40 ปี เชื่อหรือไม่ว่าอดีตดาวเตะเจ้าของฉายา “เปเล่ขาว” ยังคงขับรถคนนั้นใช้เดินทางในเมือง ริโอ เดอ จานเนโร และไม่คิดที่จะพรากจากเจ้ารถคันโปรดนี้ออกไปจากชีวิตนี้เลย

    “ผมได้รับหลายข้อเสนอขอเพื่อให้ขาย เซลิก้า แต่ผมไม่คิดจะเปลี่ยนใจ”

    “มันคือรางวัลที่ยิ่งใหญ่ เป็นความทรงจำแสนพิเศษ มันเป็นรายการสำคัญที่สุดที่ ฟลาเมงโก้ เคยได้จวบจนถึงปัจจุบัน”

    “รถคนนี้อยู่ที่บ้าน และยังใช้งานได้ดี ทุกอย่างปกติ และมันจะยังอยู่ตรงนั้นตราบเท่าที่ผมยังมีชีวิตอยู่” ซิโก้ วัย 66 ปีเผย

   ความเป็นมา

    ช่วงระหว่างปี 1980-2014 โตโยต้า ค่ายผลิตรถยนต์ของ ญี่ปุ่น คือผู้สนับสนุนหลักของศึกฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก

    ตามปกติแล้วผู้เล่นที่ได้รับรางวัล แมน ออฟ เดอะ แมตช์ จะได้รับรถยนต์ของ โตโยต้า ไปครอบครอง แต่บ่อยครั้งแข้งที่ได้รางวัลนี้มักจะขายทิ้งแล้วนำเงินไปแบ่งกับเพื่อนร่วมทีม

    อย่างไรก็ตาม ซิโก้ กลับต้องการที่จะเก็บมันไว้เพื่อเป็นที่ระลึกคุณค่าแก่ความทรงจำ

    “ตอนนั้น บราซิล มีกฎที่เข้มงวดเกี่ยวกับการนำสินค้าเข้าประเทศ แต่ไม่ว่ายังไงก็ตาม โตโยต้า อยากให้ผมนำรถกลับไปยัง บราซิล”

    “และผมก็อยากนำ เซลิก้า กลับไปในฐานะรางวัล”

   ปัญหาการนำเข้า

    กฎการนำเข้าที่เข้มงวดของ บราซิล เป็นเรื่องยากมากๆ จนถึงขั้นแทบเป็นไปไม่ได้เลยที่ ซิโก้ จะนำรางวัลชิ้นนี้กลับไปยังประเทศบ้านเกิด

    ช่วงระหว่างปี 1976-1990 มีแค่ผู้ที่ทำงานในสถานทูต และสถานกงสุลเท่านั้นที่จะได้รับอนุญาตนำยานพาหนะจากต่างประเทศเข้ามา แต่สุดท้าย ซิโก้ ก็ได้รับการช่วยเหลือจากคนใหญ่คนโตของ บราซิล 

    “การที่จะได้มาซึ่ง เซลิก้า นั้น ผมต้องขอความช่วยเหลือจากคนอื่นๆ อย่าง ฟรานซิสโก้ ดอร์เนลเยส รัฐมนตรีกระทรวงการคลัง, การ์ลอส ลานโยนี่ ผู้ว่าการธนาคารแห่งชาติ และ มาร์ซิโอ บราก้า ประธานรัฐ ฟลาเมนโก้ ตอนช่วงระหว่างปี 1977-1980” ซิโก้ เผย

    อย่างไรก็ตาม ซิโก้ ต้องรอเกือบ 2 ปีกว่าจะนำของรางวัลชิ้นนี้เข้าประเทศได้ หลังจาก บราซิล มีการแก้ไขกฎหมายในเดือนเมษายน ปี 1983 ซึ่งในเวลานั้น ตัวเขาเองกำลังมุ่งหน้าย้ายไปเล่นใน เซเรีย อา อิตาลี กับ อูดิเนเซ่

    และเรื่องน่าตลกคือ รถที่ ซิโก้ ได้รับในภายหลังนั้น ไม่ใช่คันที่เขายืนถ่ายรูปคู่หลังได้รับรางวัล แมน ออฟ เดอะ แมตช์ ที่สนามกีฬาแห่งชาติ โตเกียว(เซลิก้า ST) แต่คือ เซลิก้า รุ่นใหม่กว่า นั่นก็คือรุ่น เซลิก้า 2.0 GT ซึ่งเป็นเจนที่ 3 ด้วยเครื่องยนต์ 2.0 145 แรงม้า 

   อยู่ในมือที่ปลอดภัย

    ดาวเตะทีมชาติบราซิล ชุดฟุตบอลโลก 1982 ไม่ได้จับเจ้ารถคันนี้เลยจนกระทั่งปี 1985 โดยตอนนั้นเขาเดินทางกลับมาที่เมือง ริโอ เดอ จานเนโร และ เซลิก้า ของเขาก็ได้รับการดูแลจาก เอดู พี่ชายของตัวเอง

    “เขา(พี่ชาย) ใช้งานเจ้า เซลิก้า ได้เยี่ยมมาก” ซิโก้ กล่าวแบบติดตลก

    เป็นที่เชื่อว่ารถคันดังกล่าววิ่งไประยะทางรวมราว 70,000 ไมล์ และมีหลายครั้งที่ถูกเอาไปตั้งโชว์ตามพิพิธภัณฑ์ฟุตบอลที่ต่างๆ ในทวีปอเมริกาใต้ 

    ซึ่ง ซิโก้ ก็ยังคงรักที่จะขับรถอันทรงคุณค่าคันนี้ ทว่าเขามีเรื่องที่จะอยากฝากบอกเป็นข้อร้องเรียนเล็กๆ น้อยๆ

    “พวงมาลัยมันไม่ใช่ระบบไฮดรอลิก และมันก็ค่อนข้างหนักไปหน่อย ดังนั้น ยามที่ผมอยู่ บราซิล แล้วผมต้องการจะเล่นเวทออกกำลังกาย ผมก็แค่ขับเจ้า เซลิก้า คันนี้ออกไป” 

HOSSALONSO

   ข้อมูลและรูปจาก : THE SUN

อีกหนึ่งช่องทางในการติดตามข่าวสาร
Add friend ที่ @Siamsport
Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.