“โอเว่น”ชุมแพโชว์ฟอร์มเด่นยิง2พาทีมตัดเชือกลีซอคัพ19
“โอเว่น” พงศกร พรทวี เด็กน้อยดาวเตะทีมเมืองชุมแพ โชว์ฟอร์มลากเลื้อยส่อง 2 เม็ด พาทีมเชือดทีมเต็งเสนศิริ 2-1 เข้าตัดเชือกรุ่น 12 ปี ของลูกหนังยุวชนเทศบาลนาเชือก “ลีซอคัพ” ครั้งที่ 19 ประจำปี 2564 ที่สนามหน้าที่ว่าการอำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม เมื่อวันเสาร์ที่ 6 มี.ค. 64 ในรอบก่อนรองชนะเลิศ ของทั้งรุ่น 12 ปี และ 10 ปี
ทีม ร.ร. กีฬาฟุตบอลชุมแพ จากขอนแก่น กับทีม เสนศิริอนุสรณ์ อะคาเดมี จากบุรีรัมย์ เป็นการพบกันของ 2 ทีมเต็ง แต่ช่วงต้นของครึ่งแรก “โอเพ่น” แสดงให้เห็นทักษะการครองบอลที่ยอดเยี่ยม เลี้ยงหลบผู้เล่นของเสนศิริเข้าไปยิงให้ชุมแพขึ้นนำเร็ว 1-0 เสนศิริตามมายิงตีเสมอเป็น 1-1 จากการยิงจุดโทษของ เอื้ออังกูร จารุวัฒน์สวัสดิ์ เมื่อกองหลังชุมแพทำแลนด์บอลท้ายครึ่งแรก
เข้าครึ่งหลัง ทีมชุมแพครองเกมรุกบุกยิงได้ดีกว่า แต่ฝ่าแนวรับของเสนศิริไม่ได้ จนมาถึงท้ายเกม กองหลังเสนศิริมาสกัดบอลไปตกหน้าประตูให้ “โอเว่น” โฉบเอาบอลยิงประตูชัยให้ชุมแพชนะหวุดหวิด 2-1 เข้าไปตัดเชือกกับทีมปักธงชัย ศรีณรงค์ ที่ชนะ ไทยเจริญ อารีน่า 3-0 ขณะที่ ทีม ร.ร. เมืองวาปีปทุม ชนะ อนุบาลมหาสารคาม 1-0 เข้าไปตัดเชือกกับทีมสวาทแคทราชสีมาวิทยาลัย ที่ชนะผ่าน รวมมณีจันทบุรี
ส่วนในรุ่นอายุ 10 ปี ร.ร. บ้านหินลาด ชนะการเตะจุดโทษ วี อาร์ ชัวร์ บ้านไผ่ 4-2 หลังจากเสมอกันในเวลา 0-0, เมืองย่า อะคาเดมี ชนะการเตะจุดโทษ นาเชือก อะคาเดมี
3-1 หลังจากเสมอกันในเวลา 1-1, เสนศิริอนุสรณ์ อะคาเดมี ชนะ สวาทแคทีโคราช 2-1 และ ร.ร. กีฬาฟุตบอลชุมแพ ชนะผ่าน จงอาง จูเนียร์
รอบรองชนะเลิศ ร.ร. บ้านหินลาด พบ ร.ร. กีฬาฟุตบอลชุมแพ และเมืองย่า อะคาเดมี พบ เสนศิริอนุสรณ์ อะคาเดมี
โปรแกรมรอบรองชนะเลิศ จะมีขึ้นในช่วงเช้าของวันอาทิตย์ที่ 7 มี.ค. รอบชิงชนะเลิศจะมีขึ้นในช่วงบ่ายวันเดียวกัน.
อีกหนึ่งช่องทางในการติดตามข่าวสาร
Add friend ที่ @Siamsport
ฟุตบอลฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง
This website uses cookies.