Football Sponsored
Categories: ฟุตบอล

แข้งคนแรกของสิงคโปร์ที่สร้างประวัติศาสตร์ในไทยลีก

Football Sponsored
Football Sponsored

หลังจากประกาศคว้าแชมป์ไทยลีก 1 ฤดูกาล 2020-21 อย่างเป็นทางการสำหรับ บีจี ปทุม ยูไนเต็ด และกลายเป็นแชมป์แรกของสโมสรบนลีกสูงสุดของเมืองไทย พร้อมกับเปิดหน้าประวัติศาสตร์ใหม่มากมายขึ้นมาเป็นสถิติของสโมสรทั้งเรื่องของการคว้าแชมป์เร็วสุดก่อนปิดฤดูกาล 6 นัด แซงบุรีรัมย์ที่เคยทำไว้ 4 นัด เมื่อปี 2011 อีกทั้งยังเป็นสโมสรแรกของประเทศไทยที่ร่วงตกชั้นลงไปแล้วกลับมาคว้าแชมป์ลีกสูงสุดแบบรวดเร็ว

    อีกเรื่องราวที่น่าสนใจของ บีจี ปทุม ยูไนเต็ด ในส่วนขุมกำลังผู้เล่น อิรฟาน ฟานดี้ ลูกชายของ ฟานดี้ อาหมัด เทพบุตรลูกหนังตำนานฟุตบอลสิงคโปร์ วัย 22 ปี กลายเป็นนักเตะสิงคโปร์คนแรกที่ก้าวขึ้นมาคว้าแชมป์ฟุตบอลลีกสูงสุดของประเทศไทย และเป็นการคว้า 2 แชมป์ลีกกับบีจีในห้วงเวลา 2 ปี ต่อเนื่อง ทั้งระดับไทยลีก 2 ฤดูกาล 2019 และ ไทยลีก 1 ฤดูกาล 2020-21 แม้ว่าก่อนหน้านี้จะมีนักเตะสิงคโปร์เดินทางมาค้าแข้งในเมืองไทยมากมายแต่ก็ไม่สามารถสร้างสถิตินี้ได้

    ที่น่าสนใจไปกว่านั้นช่วงเริ่มต้นของสโมสรบีจี ปทุมยูไนเต็ด ในปี 2009 ที่เริ่มต้นใช้ชื่อเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลลีกสูงสุดในนาม บางกอกกล๊าส ได้ขนนักเตะไทย,โค้ชไทย รวมไปถึงแข้งต่างชาติที่ประสบความสำเร็จบนลีกสูงสุดสิงคโปร์กลับมาทำงานในประเทศไทยมากมายทั้ง “โค้ชง้วน”สุรชัย จตุภัทรพงศ์,สุธี สุขสมกิจ,วาเลรี เฮียก ฯ เพื่อหวังประสบความสำเร็จในเรื่องของผลงานสุดท้ายต้องรอจนถึงยุคของ อิรฟาน ฟานดี้ แข้งสิงคโปร์แท้จนประกาศศักดาคว้าแชมป์ลีกสูงสุดของเมืองไทย

    ในฤดูกาล 2020-21 ก่อนเปิดหน้าประวัติศาสตร์ใหม่ของแข้งทีมชาติสิงคโปร์รายนี้ ต้องประสบพบเจอเรื่องราวมากมายทั้งในและนอกสนาม เรื่องนอกสนามต้องเผชิญกับการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่เกิดขึ้น ส่วนเรื่องในสนามแข่งขันตลอดระยะเวลา 16 เกมบนลีกสูงสุด อิรฟาน ฟานดี้ ออกสตาร์ทเป็นตัวจริง 15 เกม สำรอง 1เกม เป็นกองหลังที่พังประตูให้ทีมไป 1 ประตู  พ่วง 2 แอสซิสต์ นอกจากนั้นนัดเปิดสนามยังสังเวยใบแดงตั้งแต่ช่วงครึ่งแรกของการแข่งขัน แต่สุดท้ายทีมยังสามารถเฉือนเอาชนะเมืองทองไป 2-1

อีกหนึ่งช่องทางในการติดตามข่าวสาร
Add friend ที่ @Siamsport
Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.