ไปไกลแล้ว ญี่ปุ่นสร้างศูนย์ฝึกที่เยอรมัน – สยามกีฬา
Nikkan Sports สื่อของญี่ปุ่นออกมารายงานว่า สมาพันธ์ฟุตบอลญี่ปุ่น(JFA) เตรียมเดินหน้าสร้างศูนย์ฝึกของสมาพันธ์ฯในภาคพื้นยุโรปอย่างเป็นทางการในประเทศเยอรมันเพื่อตอบสนองและลดปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นของบรรดานักเตะ อีกทั้งยังเป็นการยกระดับการพัฒนาฟุตบอลของญี่ปุ่นให้เกิดความสมบูรณ์มากขึ้น ที่สำคัญจะเป็นฐานบัญชาการข้อมูลนักเตะญี่ปุ่นในการต่อยอดไปค้าแข้งต่างแดนในยุโรปให้มากขึ้น โดยมีงบประมาณในเบื้องต้นในการก่อสร้างหลายร้อยล้านเยนแต่ยังได้สรุปเรื่องของตัวเลขที่ชัดเจน
โดยก่อนหน้านี้ สมาพันธ์ฟุตบอลญี่ปุ่น ได้เปิดสำนักงานมาพันธ์ฯในยุโรปที่ดุสเซนดอร์ฟ ประเทศเยอรมัน เมื่อปีที่ผ่านมา ล่าสุดเดินหน้าทำแผนงานจริงจังเกี่ยวกับการสร้างศูนย์ฝึกฟุตบอลของสมาพันธ์ฟุตบอลญี่ปุ่นในประเทศเยอรมันโดยได้รับความร่วมมือจากสมาพันธ์ฟุตบอลเยอรมัน โดยศูนย์ฝึกฟุตบอลดังกล่าวในยุโรปนอกจากสนามหญ้าจริง,หญ้าเทียมที่มาตรฐานแล้ว ภายในศูนย์ฝึกซ้อมยังมีสิ่งอำนวยความสะดวกทันสมัยครบครันในการยกระดับนักเตะญี่ปุ่น อีกทั้งยังมีศูนย์บำบัดอาการบาดเจ็บนักกีฬา
ผู้บริหารสมาคมญี่ปุ่นกล่าวว่า ตอนนี้จำนวนผู้เล่นญี่ปุ่นที่ก้าวเข้าสู่สโมสรยุโรปเพิ่มขึ้นอย่างมากจนสามารถสร้าง 2ทีม สมาพันธ์ฯจึงจำเป็นต้องดูแลสุขภาพนักกีฬาในทุกๆด้าน ทั้งการส่งแพทย์, ผู้ฝึกสอน, พนักงานนวด ฯลฯ จะง่ายกว่าและสะดวกกว่า โดยเฉพาะในช่วงของการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 การเดินทางกลับประเทศญี่ปุ่นค่อนข้างยาก ถูกจำกัด รวมไปถึงแมตซ์การแข่งขันในเอเชียบางประเทศถูกงดเว้นการแข่งขันจึงต้องเตรียมทีมกันในยุโรปที่เดินทางระหว่างประเทศง่ายกว่า
อีกหนึ่งช่องทางในการติดตามข่าวสาร
Add friend ที่ @Siamsport
ฟุตบอลฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง
This website uses cookies.