Football Sponsored
Categories: ฟุตบอล

อ็อกซ์ฟอร์ดไฟเขียวปล่อย”เบน เดวิส”สมทบทัพช้างศึกยู-23 – สยามกีฬา

Football Sponsored
Football Sponsored

อ็อกซ์ฟอร์ด ยูไนเต็ด ไฟเขียวปล่อย “เบน เดวิส” บินสมทบร่วมทัพช้างศึก ยู-23 ปี ลุยคัดเอเชีย 2022 ที่มองโกเลีย ด้าน “บิ๊กเสือ” สัมฤทธิ์ ธนะกาญจนสุต ประธานสโมสร ยืนยันหลัง “มาดามแป้ง” นวลพรรณ ล่ำซำ โทรมาขอตัวแข้งหนุ่มรายนี้ จึงไม่มีเหตุผลใดที่จะปฏิเสธ พร้อมตอบตกลงเรียบร้อย

    ความเคลื่อนไหวของทัพ “ช้างศึก” ทีมชาติไทย ชุด ยู-23 ปี ภายใต้การบริหารงานของ “มาดามแป้ง” นวลพรรณ ล่ำซำ ผจก.ทีม และมี “โค้ชโย่ง” วรวุธ ศรีมะฆะ รับหน้าที่กุนซือใหญ่ ซึ่งในตอนนี้ได้ทำการเรียกนักเตะชุดแรกมาเก็บตัวฝึกซ้อมอยู่ที่ศูนย์ฝึกยามาโอกะ ฮานาซากะ

 

    ล่าสุด สโมสรอ็อกซ์ฟอร์ด ยูไนเต็ด พร้อมที่จะปล่อยตัว เบนจามิน เดวิส ดาวเตะลูกครึ่งไทย-อังกฤษ ที่เพิ่งย้ายมาอยู่กับทีมให้บินมาร่วมทีมชาติไทย ชุด-23 ปี ทำศึกชิงแชมป์เอเชีย 2022 รอบคัดเลือก ที่ประเทศมองโกเลีย

    โดยเรื่องดังกล่าวได้รับการยืนยันมาจาก “บิ๊กเสือ” สัมฤทธิ์ ธนะกาญจนสุต ประธานสโมสรอ็อกซ์ฟอร์ด ยูไนเต็ด ซึ่งเปิดเผยว่า ได้รับการติดต่อจาก “มาดามแป้ง” นวลพรรณ ล่ำซำ ผู้จัดการทีมชาติไทย ที่โทรมาขอตัว เบน เดวิส ไปช่วยช้างศึกพลังหนุ่ม และได้ตอบตกลงเป็นที่เรียบร้อย พร้อมระบุว่าไม่มีเหตุผลใดที่จะปฏิเสธ เพราะผลประโยชน์ของชาติสำคัญที่สุด

    สำหรับทีมชาติไทยชุดนี้จะเก็บตัวฝึกซ้อมต่อเนื่อง ที่ ศูนย์ฝึก ยามาโอกะ ฮานาซากะ ตั้งแต่วันที่ 1-10 ก.ย.64 โดยจะเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์เอเชีย รอบคัดเลือก รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี ที่ประเทศมองโกเลีย ในช่วงปลายเดือนตุลาคมนี้ โดยทัพช้างศึกยู-23 อยู่ในกลุ่มเจ ร่วมกับ มาเลเซีย, สปป.ลาว และมองโกเลีย (เจ้าภาพ)

อีกหนึ่งช่องทางในการติดตามข่าวสาร
Add friend ที่ @Siamsport
Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.