Football Sponsored
Categories: ฟุตบอล

อู้ฟู่!ยอดเงินซื้อนักเตะ 10 ปี ทะลุ 1.55ล้านล้านบาท – SMMSPORT

Football Sponsored
Football Sponsored

“ฟีฟ่า” แถลงสถิติตลาดซื้อขายนักเตะของสโมสรฟุตบอลทั่วโลก ในรอบ 1 ทศวรรษ ที่วงการฟุตบอลทั่วโลก ใช้เงินในการซื้อนักเตะในช่วงปี 2011-2020 มีมูลค่าสูงถึง 48,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยอังกฤษเป็นชาติที่ใช้เงินมากที่สุดในโลก

สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (ฟีฟ่า) ได้แถลงผลการศึกษาถึงความเคลื่อนไหวของตลาดซื้อขายนักฟุตบอลของสโมสรฟุตบอลทั่วโลก เป็นสถิติที่บันทึกไว้ ในระยะเวลา 1 ทศวรรษ ระหว่างปี ค.ศ.2011-2020 ซึ่งปรากฏว่า วงการฟุตบอลทั่วโลก ใช้งบประมาณในการซื้อนักเตะในช่วงดังกล่าวถึง 48,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทยประมาณ 1.55 ล้านล้านบาท

ข้อมูลดังกล่าวระบุว่า จำนวนเงินดังกล่าว เกือบ 50 เปอร์เซ็นต์ เป็นยอดเงินค่าใช้จ่ายรวมของสโมสรที่ใช้จ่ายเงินซื้อนักฟุตบอลไปมากที่สุดติด 30 อันดับแรกของโลก โดยทั้ง 30 สโมสรที่ใช้งบประมาณในการซื้อนักเตะมากที่สุดเป็นทีมที่อยู่ในทวีปยุโรปทั้งหมด

30 สโมสรดังกล่าว แบ่งเป็นสโมสรฟุตบอลอังกฤษ 12 สโมสร, สเปน และอิตาลี ชาติละ 5 สโมสร, เยอรมนี 3 สโมสร, ฝรั่งเศส และโปรตุเกส 2 สโมสร และรัสเซีย 1 สโมสร เฉพาะกลุ่มนี้ 30 ทีม ใช้เงินรวม 22,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทยประมาณ 729,600 ล้านบาท คำนวนเป็นยอด 47 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนเงินทั้งหมดในตลาดซื้อขาย

ทั้งนี้ในช่วง 10 ปีดังกล่าว มีการซื้อขายย้ายทีมของนักเตะ ทั้งการซื้อขาด และสัญญายืมตัว รวมทั้งสิ้น 133,225 ครั้ง โดยปีที่มีการย้ายทีมมากที่สุดคือปี 2019 รวมทั้งสิ้น 18,079 ครั้ง ซึ่งอาจจะมาจากการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ทำให้การย้ายทีมทั่วโลกลดลง ขณะที่นักเตะเชื้อสายบราซิลย้ายทีมมากที่สุด 15,128 ครั้ง

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.