Football Sponsored
Categories: ฟุตบอล

เปิดฟอร์ม 3 แคนดิเดตชิงรางวัลแข้งชายยอดเยี่ยม ยูฟ่า – สยามกีฬา

Football Sponsored
Football Sponsored

หลังจากที่รอกันมาพักหนึ่ง ในที่สุดก็มีการประกาศแล้วว่า 3 คนสุดท้ายที่จะได้ลุ้นรางวัล นักเตะชายยอดเยี่ยมประจำฤดูกาล 2020-21 ของสหพันธ์ฟุตบอลยุโรป (ยูฟ่า) จะประกอบไปด้วย เควิน เดอ บรอยน์, จอร์จินโญ่ และ เอ็นโกโล่ ก็องเต้

   แม้ว่านักเตะชื่อดังอย่าง ลืโอเนล เมสซี่, คริสเตียโน่ โรนัลโด้, โรเบิร์ต เลวานดอฟสกี้ หรือ คีลิยัน เอ็มบั๊ปเป้ จะไม่ติดโผ 3 คนสุดท้าย แต่ลิสต์รายชื่อผู้เข้าชิงรางวัลในปีนี้ก็ถือว่าสมเหตุสมผลแล้ว เมื่อพิจารณาถึงผลงานและความสำเร็จที่พวกเขาทำได้ตลอดทั้งซีซั่นก่อน ซึ่งวันนี้เราจะมาลองย้อนดูกันสักหน่อยว่าในช่วง 1 ปีที่ผ่านมานั้นผลงานของทั้งหมดอยู่ในระดับไหน เผื่อว่ามันจะทำให้ท่านผู้อ่านเลือกได้ว่าใครที่คู่ควรกับการได้รางวัลอันทรงเกียรติไปครอง โดยจะเน้นเปรียบเทียบที่จุดเด่นของแต่ละคนตามตำแหน่งของพวกเขา นั่นคือกรณีของ เดอ บรอยน์ จะเจาะลึกตรงเกมรุกมากกว่า ส่วนของ จอร์จินโญ่ กับ ก็องเต้ จะดูตรงเกมรับมากเป็นพิเศษโดยจะสอดแทรกเรื่องการผ่านบอลเข้าไปนิดหน่อย

 – เดอ บรอยน์

  ในการลงเล่น พรีเมียร์ลีก ฤดูกาลก่อนนั้น เดอ บรอยน์ ยังตอกย้ำถึงการเป็นยอดกองกลางจอมปั้นได้อย่างดี เขามีค่าเฉลี่ยการผ่านบอลที่เป็นจังหวะสำคัญใน พรีเมียร์ลีก สูงถึง 3.2 ครั้งต่อเกม ขณะที่ใน ยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ ลีก เขาทำอย่างนั้นได้นัดละ 1.9 หน ส่วนในศึก ยูโร 2020 ถึงแม้เขาจะได้ลงเล่นไปแค่ 4 นัด แต่ตัวเลขด้านนี้ก็สูงถึงระดับ 3.3 หนต่อเกมด้วยกัน

  นอกจากนี้ เปอร์เซ็นต์การผ่านบอลโดยรวมเข้าเป้าของ เดอ บรอยน์ ในการลงเล่น พรีเมียร์ลีก ซีซั่นก่อนยังสูงถึง 81.7 เปอร์เซ็นต์ด้วย ส่วนใน แชมเปี้ยนส์ ลีก ยิ่งทำได้ดีกว่าอีกในระดับ 84.2 เปอร์เซ็นต์ ถึงแม้ใน ยูโร 2020 มันจะดร็อปลงไปอยู่ที่ 79.3 เปอร์เซ็นต์ แต่ก็ยังไม่ใช่ตัวเลขที่ย่ำแย่เกินไปมากนัก

  ขณะที่การเลี้ยงบอลนั้น เดอ บรอยน์ ก็ทำได้โดดเด่นเช่นกัน หลังจากเลี้ยงผ่านคู่แข่งในลีกได้เฉลี่ย 1.9 ครั้งต่อเกม, ทำได้ 1.4 หนต่อนัดในการเล่น แชมเปี้ยนส์ ลีก และทำได้ 2.5 ครั้งต่อเกมกับการเล่นให้ เบลเยียม ในศึก ยูโร 2020

 – จอร์จินโญ่

  2 ครั้งต่อเกม คือค่าเฉลี่ยการสกัดโดนบอลในลีกของ จอร์จินโญ่ ตลอดการเล่นเมื่อซีซั่นก่อน ขณะที่ใน แชมเปี้ยนส์ ลีก เขาทำอย่างนั้นได้ถึง 2.2 ครั้งต่อเกม และกับการเล่นให้ทีมชาติอิตาลีในศึก ยูโร 2020 เขามีตัวเลขด้านนี้สูงถึง 1.9 ครั้งต่อนัด

  ขณะที่การอ่านเกมที่เฉียบขาดจนตัดบอลได้แบบไม่ต้องพุ่งเสียบนั้น จอร์จินโญ่ ก็ทำผลงานด้านดังกล่าวกับการเล่นในลีกได้ถึงเฉลี่ย 1.4 หนต่อเกม ส่วนใน แชมเปี่ยนส์ ลีก เจ้าตัวสามารถทำได้ 2.2 ครั้งต่อนัดเลยทเดียว และในศึก ยูโร 2020 เขาก็มีผลงานด้านนี้สูงถึง 3.6 ครั้งต่อนัดด้วยกัน

  ในด้านการผ่านบอลนั้น ถึงแม้ค่าเฉลี่ยการผ่านบอลที่เป็นจังหวะสำคัญของเขาจะโดดเด่นเท่ากองกลางตัวรุกอย่าง เดอ บรอยน์ ไม่ได้ แต่เปอร์เซ็นต์การผ่านบอลเข้าเป้าของเขาก็ดูดีสุดๆ ด้วยการทำไป 89.2 เปอร์เซ็นต์ในลีก, 88.5 เปอร์เซ็นต์ใน แชมเปี้ยนส์ ลีก และ 93.4 เปอร์เซ็นต์ในศึก ยูโร 2020

 – ก็องเต้

  ดาวเตะชาวฝรั่งเศสทำหน้าที่ได้โดดเด่นกับการรับบทบาทมิดฟิลด์ตัวรับในลีกเมื่อซีซั่นที่แล้ว หลังจากสกัดโดนบอลได้ถึง 2.6 ครั้งต่อเกม โดยถึงแม้ใน แชมเปี้ยนส์ ลีก จะทำได้เพียง 0.8 ครั้งต่อนัด แต่ในศึก ยูโร 2020 กับทีมชาติฝรั่งเศสเขาสามารถทำอย่างนั้นได้ถึง 2.5 หนต่อเกมเลยทีเดียว

  สำหรับการตัดบอลแบบไม่ต้องพุ่งเสียบนั้น ก็องเต้ ก็มีตัวเลขด้านนั้นกับการเล่นใน พรีเมียร์ลีก เมื่อฤดูกาล 2020-21 สูงถึง 2 ครั้งต่อเกม ขณะที่ใน แชมเปี้ยนส์ ลีก อยู่ที่ 1.1 ครั้งต่อนัด ส่วนใน ยูโร 2020 เขาทำอย่างนั้นได้ 3.5 ครั้งต่อเกม

  ขณะที่การผ่านบอล ก็องเต้ ก็มีเปอร์เซ็นต์การผ่านบอลได้ไม่น้อยหน้า จอร์จินโญ่ มากนัก หลังจากผ่านบอลเข้าเป้าในลีกถึง 86.5 เปอร์เซ็นต์ ส่วนใน แชมเปี้ยนส์ ลีก เขาทำอย่างนั้นได้ 86.3 เปอร์เซ็นต์ และกับทีมชาติฝรั่งเศสใน ยูโร 2020 นั้น ตัวเลขด้านนี้ของเขาอยู่ในระดับ 91.5 เปอร์เซ็นต์

  – เด็กเกร็ดบอล –

อีกหนึ่งช่องทางในการติดตามข่าวสาร
Add friend ที่ @Siamsport
Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.