Football Sponsored
Categories: ฟุตบอล

เหตุผลส่วนตัว! 3 ผู้ช่วยโค้ช “แท ยง” ลาทีมชาติอินโดนีเซีย – Goal.com

Football Sponsored
Football Sponsored

สตาฟฟ์โค้ชทีมชาติอินโดนีเซีย 3 ราย ที่อยู่ในทีมของ ชิน แท ยง กุนซือชาวเกาหลีใต้ ขอลาออกจากทีมชาติทั้งหมดด้วยเหตุผลส่วนตัว

ทัพการูด้าภายใต้การคุมทีมของ ชิน แท ยง อดีตเฮดโค้ชทีมชาติเกาหลีใต้ ชุดลุยศึกฟุตบอลโลก 2018 เพิ่งจบภารกิจลุยศึกฟุตบอลโลก 2022 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย รอบสอง ที่ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา โดยจบอันดับสุดท้ายของกลุ่ม G เก็บได้คะแนนเดียวจากการเสมอทีมชาติไทย 2-2

โดยล่าสุดเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม ที่ผ่านมา สมาคมฟุตบอลอินโดนีเซีย แถลงยืนยันว่าทีมงานสตาฟฟ์โค้ชของ ชิน แท ยง 3 ราย ประกอบด้วย คิม แฮ วุน (โค้ชผู้รักษาประตู), ลี แจ ฮง (ผู้ฝึกสอนด้านกายภาพ) และ คิม วู ยอง (ผู้ช่วยโค้ช) ส่งจดหมายแจ้งขอลาออกด้วยเหตุผลส่วนตัว

Editor Picks

  • โปรแกรมถ่ายทอดสดฟุตบอล – ดูบอลสดคืนนี้ (พรีเมียร์ลีก, ไทยลีก, ลาลีกา, บุนเดสลีกา, แชมเปี้ยนส์ลีก, ฯลฯ)
  • IN NUMBERS : ลิโอเนล เมสซี ยิงได้กี่ประตูในชีวิตค้าแข้ง?
  • ใครคุ้มกว่า? ท็อป 18 ดีลสลับขั้วตลาดนักเตะยุโรป
  • ปีศาจชุดขาว! 9 แข้งเทพอยู่ทั้งแมนฯ ยูฯ – เรอัล มาดริด

“สตาฟฟ์ทั้ง 3 ราย แจ้งเหตุผลว่ามีปัญหาส่วนตัว ผมคิดว่า ชิน แท ยง คือคนที่รู้ดีที่สุดว่าทำไมพวกเขาถึงตัดสินใจลาออก”

“สมาคมฟุตบอลอินโดนีเซียจะไม่เลือกใครก็ได้เข้ามา แต่คนนั้นต้องมีคุณสมบัติและมีประสบการณ์ที่นำมาช่วยทีมได้” ยูนุส นูซี เลขาธิการสมาคมฟุตบอลอินโดนีเซีย แถลง

สำหรับ ทีมชาติอินโดนีเซีย มีโปรแกรมลงเล่นในศึกเอเอฟซี เอเชียน คัพ 2023 รอบคัดเลือก พบกับ ทีมชาติไต้หวัน ในวันที่ 7 กันยายนนี้

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.