Football Sponsored
Categories: ฟุตบอล

ยิงกันกระจุย-ทุบกันกระจาย รวมสถิติใหม่ที่เกิดขึ้นใน “ยูโร 2020” – ไทยรัฐ

Football Sponsored
Football Sponsored

ฟุตบอลยูโร 2020 ที่เพิ่งจบลงไป มีสถิติใหม่เกิดขึ้นมากมาย ทั้งเรื่องการทำประตู, คว้าชัยชนะต่อเนื่อง และผู้เล่นอายุมากที่สุด-น้อยที่สุด

วันที่ 14 ก.ค. 64 สหพันธ์ฟุตบอลยุโรป (ยูฟ่า) รวบรวมสถิติต่างๆ ที่เกิดขึ้นในการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป “ยูโร 2020” รอบสุดท้าย ระหว่างวันที่ 11 มิถถุนายน – 11 กรกฎาคม ที่เพิ่งผ่านพ้นไป โดยที่ ทีมชาติอิตาลี คว้าแชมป์ไปครองเป็นสมัยที่ 2 ต่อจากปี 1968

สำหรับสถิติใหม่ที่ถูกจารึกใน ยูโร 2020 หนนี้ มีดังต่อไปนี้

ทำประตูมากที่สุดในศึกยูโร รอบสุดท้าย : 142 ประตู

ทำประตูเฉลี่ยต่อ 1 เกมมากที่สุดในศึกยูโร รอบสุดท้าย : 2.78 ประตู

ทำประตูภายใน 1 วันมากที่สุดในศึกยูโร รอบสุดท้าย : 18 ประตู (วันที่ 23 มิถุนายน 2021)

– รอบแบ่งกลุ่ม นัดสุดท้าย กลุ่มอี : สโลวาเกีย 0-5 สเปน / สวีเดน 3-2 โปแลนด์

– รอบแบ่งกลุ่ม นัดสุดท้าย กลุ่มเอฟ : โปรตุเกส 2-2 ฝรั่งเศส / เยอรมนี 2-2 ฮังการี

ผู้เล่นทำประตูมากที่สุดในศึกยูโร รอบสุดท้าย : คริสเตียโน โรนัลโด (โปรตุเกส) 14 ประตู

ลงเล่นมากที่สุดในศึกยูโร รอบสุดท้าย : คริสเตียโน โรนัลโด (โปรตุเกส) 5 สมัย

ผู้เล่นคนแรกที่ทำประตูในศึกยูโร รอบสุดท้าย 5 สมัย : คริสเตียโน โรนัลโด (โปรตุเกส) ปี 2004, 2008, 2012, 2016, 2020

ชนะติดต่อกันมากที่สุดในศึกยูโร (รวม รอบคัดเลือก-รอบสุดท้าย) : อิตาลี 15 นัด

อายุน้อยที่สุด ลงเล่นในศึกยูโร รอบสุดท้าย : คาสเปอร์ คอซลอฟสกี (โปแลนด์) 17 ปี 246 วัน – รอบแบ่งกลุ่ม นัดที่ 2 กลุ่มอี เสมอ สเปน 1-1 (วันที่ 19 มิถุนายน 2021)

อายุน้อยที่สุด ลงเล่นในรอบน็อกเอาต์ ศึกยูโร รอบสุดท้าย : จูด เบลลิงแฮม (อังกฤษ) 18 ปี 4 วัน – รอบ 8 ทีม ชนะ ยูเครน 4-0 (วันที่ 19 มิถุนายน 2021)

ทำประตูเร็วที่สุดในศึกยูโร รอบชิงชนะเลิศ : ลุค ชอว์ (อังกฤษ) 1 นาที 56 วินาที เสมอ อิตาลี 1-1 ในเวลา 120 นาที ดวลจุดโทษแพ้ 2-3 (วันที่ 11 กรกฎาคม 2021)

อายุมากที่สุด ทำประตูในศึกยูโร รอบชิงชนะเลิศ : เลโอนาร์โด โบนุชชี (อิตาลี) 34 ปี 71 วัน เสมอ อังกฤษ 1-1 ในเวลา 120 นาที ดวลจุดโทษชนะ 3-2 (วันที่ 11 กรกฎาคม 2021)

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.