Football Sponsored
Categories: ฟุตบอล

“เซาธ์เกต” โดดป้องลูกทีมไม่ควรโดนตำหนิ แจงชัดลำดับยิงจุดโทษดูจากตอนซ้อม – ไทยรัฐ

Football Sponsored
Football Sponsored

“แกเร็ธ เซาธ์เกต” นายใหญ่ “ทีมชาติอังกฤษ” ออกมาปกป้องลูกทีมไม่สมควรโดนตำหนิ พร้อมแจงชัดถึงสาเหตุเลือกลดำดับแข้งยิงจุดโทษโดยอ้างอิงจากตอนซ้อม

วันที่ 12 ก.ค. 64 แกเร็ธ เซาธ์เกต ผู้จัดการทีม “สิงโตคำราม” ทีมชาติอังกฤษ ออกมาปกป้องลูกทีมไม่สมควรโดนตำหนิหลังดวลจุดโทษพ่าย “อัซซูรี” ทีมชาติอิตาลี ภายใต้การนำทีม โรแบร์โต มันชินี 2-3 (เสมอในเวลา 1-1) พร้อมแจงชัดถึงสาเหตุเลือกลำดับแข้งยิงจุดโทษโดยเพราะดูจากตอนซ้อมนั่นเอง

“พลพรรคสิงโตคำราม” ออกสตาร์ตได้อย่างยอดเยี่ยมหลังได้ประตูขึ้นนำไปก่อน 1-0 จากการยิงของ ลุค ชอว์ ตั้งแต่นาทีที่ 2 ของเกม แต่ทว่า เลโอนาร์โด โบนุชชี มาตามตีเสมอให้กับทัพ “อัซซูรี” เป็น 1-1 ในนาทีที่ 67 ก่อนที่ 90 นาทีจะจบลงด้วยสกอร์นี้รวมถึง 120 นาที จนต้องตัดสินใจหาผู้ชนะด้วยการยิงจุดโทษและเป็นทาง ทีมชาติ อิตาลี ที่ยิงแม่นกว่าเอาชนะไปได้ 3-2 คว้าแชมป์ ยูโร 2020 ไปครองได้อย่างยิ่งใหญ่

ล่าสุด แกเร็ธ เซาธ์เกต ออกมากล่าวว่า “แน่นอนว่าผลลัพธ์ในค่ำคืนนี้มันน่าผิดหวังเป็นอย่างมาก แต่อย่างแรกที่ผมคิดคือนักเตะของเราควรได้รับการยกย่องนะ เกมนี้พวกเขาก็มีช่วงที่ทำผลงานได้ดี โดยเฉพาะช่วงออกสตาร์ตครึ่งแรก แต่ต้องยอมรับว่าครึ่งหลังเราเก็บบอลได้ไม่ดีพอ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นผมคิดว่านักเตะไม่สมควรที่จะถูกตำหนิ กลุ่มนักเตะเหล่านี้เป็นกลุ่มนักเตะที่ทำงานด้วยแล้วมีแต่ในแง่บวก จริงๆ แล้วพวกเขามาไกลมากกว่าที่พวกเขาเคยทำได้ในอดีต”

นอกจากนี้เจ้าตัวยังออกบอกถึงประเด็นการเลือกลำดับการยิงจุดโทษในเกมนัดสำคัญนี้ว่า “มันเป็นเรื่องของกระบวนการที่เรายึดเป็นแนวทางมาตลอด เรามีการติดตามข้อมูลและสถิติของนักเตะรวมถึงการเห็นในสนามซ้อม มันเคยได้ผลมาแล้วในศึกฟุตบอลโลก 2018 ที่รัสเซีย รวมถึง ฟุตบอล เนชันส์ลีก แต่แค่ว่าคืนนี้มันไม่ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ”

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.