Football Sponsored
Categories: ฟุตบอล

ยูฟ่า ยกเลิกกฎประตูทีมเยือนในฟุตบอลสโมสรยุโรป – เริ่มซีซั่นหน้าทันที – ข่าวสด

Football Sponsored
Football Sponsored

สหพันธ์ฟุตบอลยุโรป (ยูฟ่า) ยืนยันว่า ได้ตัดสินใจยกเลิกกฎประตูทีมเยือน หรืออะเวย์โกล ในการแข่งขันระดับสโมสรของยุโรปทุกรายการตั้งแต่ฤดูกาลหน้าเป็นต้นไป

เกาะติดข่าว กดติดตาม ข่าวสด

ก่อนหน้านี้มีรายงานว่า ยูฟ่าเตรียมที่จะยกเลิกอะเวย์โกลในฟุตบอลสโมสรยุโรป อย่าง ยูฟ่า แชมเปียนส์ ลีก, ยูโรปา ลีก และยูโรปา คอนเฟอเรนซ์ ลีก เนื่องจากมองว่าล้าสมัยหลังใช้มาตั้งแต่ปี 1965

  • ยูฟ่า ส่อยกเลิกกฎประตูทีมเยือนในฟุตบอลถ้วยยุโรป
  • ยูฟ่า แถลงย้ายสังเวียนนัดชิงยูซีแอลไปโปรตุเกส – ไฟเขียวแฟนเข้าสนาม 12,000 คน
  • ยูฟ่า ลงดาบปรับเงิน 9 ทีมเอี่ยว ซูเปอร์ ลีก – อีก 3 ทีมจ่อโดนโทษหนัก

รวมไปถึงการที่ในช่วง 1-2 ซีซั่นหลังสุดต้องมีการเปลี่ยนไปแข่งขันกันในสนามกลางเนื่องจากการระบาดของโควิด-19 ทำให้การใช้กฎประตูทีมเยือนดูไม่สมเหตุสมผล ทว่าต้องผ่านการอนุมัติจากคณะกรรมการบริหารของ ยูฟ่า ก่อน

ล่าสุด อเล็กซานเดอร์ เชเฟริน ประธานยูฟ่า ยืนยันว่าได้ยกเลิกกฎประตูทีมเยือนในการแข่งขันฟุตบอลสโมสรยุโรปทุกรายการ โดยเริ่มตั้งแต่ซีซั่น 2020-21 เป็นต้นไป “กฎประตูทีมเยือนเป็นส่วนสำคัญของการแข่งขันของ ยูฟ่า นับตั้งแต่เปิดตัวในปี 1965 อย่างไรก็ตาม คำถามเกี่ยวกับการยกเลิกกฎนี้ได้รับการถกเถียงกันในการประชุมต่างๆ ของยูฟ่าช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา”

“แม้ว่าจะไม่มีความเห็นที่เป็นเอกฉันท์ ทว่าโค้ช แฟนบอล และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในวงการฟุตบอลหลายคนตั้งคำถามถึงความเป็นธรรม และได้แสดงความเห็นชอบให้กฎนี้ยกเลิก” เชเฟริน กล่าวเสริม

ทั้งนี้จากการยกเลิกกฎประตูทีมเยือนดังกล่าวส่งผลให้หากทั้ง 2 ทีมมีสกอร์เสมอกันในการแข่งขันแบบเหย้า-เยือน นัดที่ 2 ก็จะทำการหาผู้ชนะด้วยการต่อเวลา 30 นาที และหากยังไม่มีทีมใดคว้าชัยก็จะตัดสินด้วยการยิงจุดโทษ

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.